 |
หลังไมค์ เสนอว่า ********************************************************** กระทู้ เจตสิก (ประกอบจิต) สำคัญกว่า จิต(ประกอบเจตสิก)
ฯลฯ .... “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า,
ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌาคอยชำระจิต จากอภิชฌา ;
ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
ละถีนะมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะมีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ;
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายในคอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ ;
ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้อง กล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.
อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔.
สรุป ตามความเข้าใจ ...
ทรงตรัสสอนภิกษุให้ “ ละ = กำจัด ” อุปกิเลส คือ เจตสิก คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ …. เมื่อ “จิต” ไม่ถูกปรุงแต่ง หรือถูกห่อหุ้ม ด้วยอุปกิเลส คือ เจตสิก >> ก็ย่อมเป็นธรรมชาติประภัสสร ผ่องใส ....
คุณภาพ “จิต” จะ ... ดี เลว หยาบ ประณีต ก็เนื่องด้วยหรือเป็นเพราะ “เจตสิก” ธรรมที่ประกอบ “จิต” .... ดังนั้น การปฏิบัติอบรมจิต ก็คือ การอบรมเจตสิกธรรม นั่นเอง ...
สติเจตสิก + สมาธิเจตสิก (สติในสมาธิ) >>> ปัญญาเจตสิก (วิปัสสนา)
^^^^
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง
***********************************************
จากคุณ |
:
เซนเถรวาทปฐมสังคายนานิยม (F=9b)
|
เขียนเมื่อ |
:
31 พ.ค. 55 08:08:04
|
|
|
|
 |