 |
ไม่ได้เห็นแย้ง แต่ขอมี คห. เพิ่ม
การพิจารณา “นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ต้องมีปัญญาแจ้งชัดในไตรลักษณ์ ก่อน จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องไปตามลำดับ.
คำว่า พิจารณา ส่วนมากเข้าใจในทางภาษาว่า คิด พิเคราะห์ ตรึก ตรอง
ในทางปฏิบัติ ถ้าถึงจุดที่ไตรลักษณ์ปรากฏ จะเข้าใจคำว่าพิจารณาไปคนละอย่างกับ การคิด พิเคราะห์ ตรึก ตรอง เพราะถ้าเป็นดังว่าแล้ว ปัญญาชั้นนี้ไม่ต่างกับปัญญาที่ ได้มาจากการ ฟังและคิด แม้จะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติ หรือหลังจากปฏิบัติก็ตาม ปัญญาชนิดนี้ บางท่านเรียก สุตาญาณ (รู้เพราะฟัง-เรียน) จินตาญาณ (รู้เพราะคิด)
ปัญญา ๒ อย่างนี้ ไม่ทำให้ละหรือวาง หรือเข้าใจว่า “นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ได้ แม้จะนั่งคิด พิเคราะห์ ตรึก ตรอง บ่อยๆ มากเท่าไรก็ตาม
แต่อนุเคราะห์หรือช่วยภาวนามยปัญญาให้เกิดได้ง่ายได้
คำว่าพิจารณาในภาษาปฏิบัติ น่าจะหมายถึง การเห็น
เห็นในที่นี้ หมายถึง การเห็นไตรลักษณ์ปรากฏในขณะปฏิบัติ ได้แก่การเห็นสภาวะ ของรูปนามตามความจริงนั่นเอง
มีบาลีให้พิจารณาอยู่ที่หนึ่งว่า
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ, เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา,
ในประโยคนี้ ใช้คำว่า ปัสสะติ ซึ่งแปลว่า เห็น ไม่ใช่แปลว่า พิจารณา
แสดงว่า ต้องเป็นการเห็น โดยไม่ใช้การ คิด พิเคราะห์ ตรึก ตรอง
และการเห็นนั้น ท่านตรัสว่า เห็นด้วยปัญญา คำว่าปัญญาในที่นี้ น่าจะหมายถึงภาวนามยปัญญา มากกว่า
ไม่รุ้ว่าเรื่องเดียวกับ กท. หรือเปล่า
จากคุณ |
:
นายพยายาม
|
เขียนเมื่อ |
:
29 พ.ค. 55 13:04:42
|
|
|
|
 |