ต้องขออนุโมทนากับคุณ ตาลโตน น่ะครับที่เอื้อเฟื้อเข้ามาเขียน อธิบาย ความ คำที่ผม คัดลอกมากจากหนังสือลิขิตท่านพุทธทาส
โดยส่วนตัวผมเองนั้น แม้ว่าผมจะเป็นเพียงเศษกระพี้
หรือธุลี ที่ยังมองไม่เห็นธรรม
แต่ก็คงไม่ใช่คนที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะถามไถ่ ข้อความ ข้อเขียน
ของนักเขียนท่านใดๆที่กล่าวพาดพิงถึงพระพุทธเจ้าหรือพระไตรปิฏก
เมื่อเขียนถามถึงแล้ว ใครใคร่อธิบาย ก็อธิบายไป
เมื่ออธิบายแล้ว ใครจะเชื่อถือ หรือไม่เชื่อถือ
คำที่สื่อความหมายออกมามากน้อยเพียงใดนั้น
ก็สุดแต่ละคน มันบังคับบัญชากันไม่ได้
ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยความรู้ ข้อมูลที่สนับสนุนเป็นทุนเดิม ของแต่ละคน
เหตุที่เขียนถึงเช่นนี้ ก็เพราะว่า อ่านพบ คำ ความหมาย
ที่มีความขัดแย้งของ คำ ข้อความ บางประการ
พิจารณา ตามคำที่คุณ ตาลโตน ได้ กรุณาอธิบายมา นั้น
.....อืม แล้วการที่ พระราหุล ทัพพมัลบุตร และสามเณร อีกจำนวนมาก ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อน อายุ 35 ปี
ตามความหมายที่ท่านตาลโตนอธิบายนี้ บุญ หรือ บาป กว่าพระพุทธเจ้าไหม..?.
..............
ในมุมที่ผมมอง นั้น พระพุทธศาสดา ทรงเป็นผู้นำทาง
เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้ที่ตัด ตัณหา ได้ก่อนคนอื่นๆ
ส่วนคนที่เดินตามมาภายหลัง ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในภายหลัง
ไม่ว่าจะอายุน้อย หรือมากกว่า พระพุทธเจ้า
ก็ล้วน เป็นผู้เดินตาม เป็นผู้ตัดตัณหาได้ในภายหลัง
ผมเองก็ยังรู้สึกละอาย ที่ปัจจุบันนี้
แม้เรียนรู้พระพุทธศาสนา แล้วก็ยังตัดตัณหาไม่ได้ ทั้งที่ทางเดินนั้นก็มีอยู่.
............
เราผู้เดินตามมาภายหลังก็มุ่งหวังที่จะนำคำสอนของท่านเพื่อปฏิบัติตามท่าน
............
เรื่องการใช้ คำ ใช้ ภาษา ที่เขียนหนังสือ นี้ก็เป็นประเด็นแห่งความน่าเชื่อถือ
นี่ก็เป็นเหตุที่ทำให้ถามถึง จากหนังสือหน้าเดียวกันในความเห็นที่ 25
เกี่ยวกับเรื่องการละอายผี
เมื่อหลายเดือนก่อน มีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องผี หลายกระทู้ ที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนของท่านพุทธทาส
ความว่า ท่านไม่เชื่อเรื่องผี ไม่เชื่อว่าผีมีจริง
แล้วไฉน จึงใช้คำว่า ผี มาเป็นคำเปรียบเทียบซ้ำๆ
อ้าว ก็ไหนว่าไม่เชื่อเรื่องผีเหล่านี้ แล้ว นำมาเขียน มาเปรียบเทียบทำไม ?
ที่ถูกต้อง ก็ควรเปรียบเทียบเป็นสิ่งสมมติอย่างอื่นสิ
การใช้ภาษาเช่นนี้ หมายถึง ?
คือประเด็นนี้ จะเอื้อเฟื้อเขียนตอบหรือไม่ก็ไม่เป็นไร
..........
"ธรรมและวินัยจักเป็นศาสดาของพวกเธอ"