หลงใหลรูปร่างกายของตนเองหรือคนอื่น จะต้องกลับมาเกิดในกามภพใหม่
|
 |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย เถรคาถา ๕. กัปปเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระกัปปเถระ
[๓๗๔] ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูลและของอันเป็นมลทินต่างๆ มี หลุมคูถ(อุจจาระ)ใหญ่เป็นที่เกิด เป็นเหมือนบ่อน้ำครำอันมีมานมนาน เป็น ดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วยหนองและเลือด เต็มไปด้วย หลุมคูถ มีน้ำไหลออกอยู่เสมอ มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ
ร่างกายอัน เปื่อยเน่านี้รัดรึงด้วยเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา คือ เนื้อ หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือ หนัง เป็นของหาประโยชน์ไม่ได้เลย เป็นของสืบต่อเนื่องกันด้วยร่างกระดูก เกี่ยวร้อยด้วยด้าย คือเส้น เอ็น เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบพร้อม
นรชน ผู้ยังคลุกคลีอยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียมไปสู่ความตายเสมอ เป็น ผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช จะต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง
กายนี้ เองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก ๔ ประการ จมอยู่ ในห้วงน้ำ คือ กิเลส ปกคลุมไว้ด้วยข่าย คือ กิเลสอันนอน เนื่องอยู่ในสันดาน
ประกอบแล้วในนีวรณ์ ๕ เพียบพร้อม ด้วยวิตก ประกอบด้วยรากเหง้าแห่งภพ คือ ตัณหา
ปก ปิดด้วยเครื่องปกปิด คือ โมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน คือ กรรม
ร่างกายนี้ย่อมมีสมบัติกับวิบัติเป็นคู่กัน มีความเป็นต่างๆ กัน เป็นธรรมดา
ปุถุชนคนอันธพาลเหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ว่าเป็น ของเรา ย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอา ภพใหม่อีก
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายอันฉาบทาแล้ว ด้วยคูถ(อุจจาระ) ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นอสรพิษแล้ว หลีกหนีไปฉะนั้น กุลบุตรเหล่านั้นละอวิชชาอันเป็นรากเหง้าแห่งภพแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จะปรินิพพาน.
- บทว่า สมฺปตฺติ จ วิปตฺยนฺตา ได้แก่ สมบัติ(ความงาม,ความสมบูรณ์) ที่มีอยู่ในร่างกายนี้ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด.
จริงอยู่ ความหนุ่มและความสาวทั้งหมดมีความแก่เป็นที่สุด, ความไม่มีโรคทั้งหมดมีความเจ็บไข้เป็นที่สุด, ชีวิตทั้งหมดมีความตายเป็นที่สุด, ความประชุมแห่งสังขารทั้งหมดมีความแตกแยกจากกันเป็นที่สุด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานาภาโว วิปชฺชติ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า นานาภาโว ได้แก่ ความเป็นต่างๆ กัน คือความพลัดพรากจากกัน. อธิบายว่า ร่างกายนั้นย่อมถึงคือย่อมบรรลุถึงความเป็นต่างๆ กัน คือบางคราวด้วยอำนาจแห่งคนที่พลัดพรากจากไป บางคราวด้วยอำนาจแห่งสิ่งของที่จะต้องพลัดพรากจากไป.
บทว่า เยมํ กายํ วิวชฺเชนฺติ คูถลิตฺตํว ปนฺนคํ ความว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นคูถแล้วหลีกหนีคือหลบไปเสีย เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเห็นอสรพิษแล้วหลีกหนีคือเลี่ยงไปเสีย เพราะความกลัวเฉพาะหน้า ชื่อฉันใด กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลีกร่างกายนี้อันน่ารังเกียจ เพราะเป็นสิ่งไม่สะอาดและอันมีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น คือละด้วยการประหารฉันทราคะเสีย การทิ้งซึ่งอวิชชาอันเป็นมูลรากแห่งภพ และตัณหาในภพ ละได้เด็ดขาด ต่อแต่นั้นก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยประการทั้งปวง จักปรินิพพาน ด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แล. ***************************
- กัปปเถรคาถา - คาถาสุภาษิตของพระกัปปเถระ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7015&Z=7038&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=374
จากคุณ |
:
Serene_Angelic
|
เขียนเมื่อ |
:
2 มิ.ย. 55 23:06:26
|
|
|
|