#13
ขอบคุณครับ คุณมีดกรีดใจ (ผม 55)
ผมเข้าใจข้อความของคุณเช่นกันครับ
และผมอยากให้เราเข้าใจตรงกันในสิ่งที่ผมพูดไป
โดยรวมแล้วผมพูดถึงระบบ ซึ่งหากพระเณรน้อย
(ย้ำว่าเณรน้อย กับพระที่ยังบวชเมื่อเด็ก)
มีจุดมุ่งหมายบวชเพื่ออุดมคติเพื่อบรรลุธรรม
นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาใดๆ เพราะไม่จำต้องเรียน
แต่ผมให้ความสำคัญถึงระบบที่เปิดโอกาส
ให้พระเณรน้อยเข้ามาเพื่อให้ศาสนามีพื้นที่
รับใช้ให้การศึกษาทั้งทางธรรม
และทางโลกจำพวก สายสามัญหรือปริญญาตรีสาขาอื่นๆ
ซึ่งหากมองว่า ไม่ควรมีระบบการเรียนเช่นนี้เลย
ก็ไม่ต้องมีตั้งแต่แรก แต่หากคิดว่าจะมี
ก็ควรปรับระบบให้เหมาะสม
สามารถให้พระเณรน้อย ยินดีที่จะรักษาธรรมวินัย
ไว้ให้สอดคล้องกับการศึกษาด้วยเช่นกัน
//////////
อีกทั้งการหากิจกรรมสังเคราะห์พลังหนุ่ม
เช่น ออกกำลังจำพวกมวยอ่อน ที่เหมาะสม
โยคะ ไทเก็ก รำกระบอง ฯลฯ ที่ไม่ขัดต่อธรรมวินัย
หาที่เหมาะๆ จัดเป็นกิจจะลักษณะ อธิบายให้ฆราวาสเข้าใจ
ฝึกดีๆ พระเณรจะรู้สึกสนุกกับการเจริญสติ
ด้วยการออกกำลังที่เหมาะและตนเองชอบ
//////////
ตรงนี้ผมย้ำว่า กิจกรรมออกกำลังที่ไม่ขัดต่อธรรมวินัย
(นอกจากกวาดลานวัด เดินจงกรม หรือบิณฑบาต
จะมีอะไรที่ทำให้เหมาะสมอีกไหม ลองช่วยกันคิดดู)
ซึ่งหากเราได้ทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับพระในวัดบ้าง
จะเห็นเลยว่า พระผู้ใหญ่นั้นอ้วนท้วน แพละ เสียสูญ
กินแล้วก็ไม่ค่อยมีโอกาสออกกำลังกาย
ไม่แน่ใจว่า เราติดกับความเป็นคำว่า "เถรวาท" หรือไม่
จนละเลยดูแลร่างกายเราให้ใช้งาน เพื่อการปฏิบัติธรรมได้
//////////
ไม่ใช่เอะอะ จะเอาแต่ธรรมวินัยๆ จนยึดแต่รูปแบบเดิมๆ
แบบเมื่อ 2600 ปีที่ผ่านมา ...
แต่ขาดการนำพุทธธรรม มาปรับใช้ให้สมสมัยกับโลกและคน
//////////
ที่ผมบอกว่า ยึดติดแต่รูปแบบ นั้นผมพูดเช่นนั้น
และคิดว่า ก็ไม่ได้ขัดแย้งอะไรกับธรรมวินัยด้วยครับ
คำว่า รูปแบบนั้น ขยายความก็คือ วิธีการเพื่อไปสู่เป้าหมาย
แต่ความจริงแล้ว เราควรจะพูดถึง "ความต้องการ"
คือ การไปสู่เป้าหมายคืออิสรภาพทางใจ
ดังนี้แล้ว หากเข้าใจถึงความต้องการร่วมแล้ว
"วิธีการ" จะปรับให้เหมาะสมโดยไม่ขัดต่อธรรมวินัยก็ยังได้
มีกิจกรรมมากมายจำพวกศาสตร์ใหม่ที่สอดคล้องกับพุทธะ
เรารู้จักไหม "deep listening" อันนี้นี่มันหลักพุทธะ
ที่ผสมผสานทักษะหลายอย่างทางใจอย่างแท้เลยนะ
แต่เราดันไปเข้าใจว่า พระบวชแล้วต้องเทศน์สอนอย่างเดียว
แต่ไม่รู้จัก "ฟังให้เป็น" จริงไม่เห็นหรือเข้าใจปัญญหาของคนที่มาปรึกษา
หรือ การสานเสวนา คือ การพูดจากกันเป็นวง โดยไม่ยกอำนาจ
การเทศน์สอน ตัดสินใจ ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง
เพื่อให้รับฟังอย่างลึกซึ้งเสียก่อน และค่อยทำหน้าที่ตัดสินใจทีหลัง
หรือเช่น การปวารณา ที่ต้องรอออกพรรษาจึงจะได้ยินได้ฟัง
แต่ไม่มีการนำมาปฏิบัติใช้เลย
เรื่องเช่นนี้ เราก็ออกแบบกิจกรรม ทำการปวารณามันกันทุกเดือนก็ยังได้
ออกแบบวิธีการเองเลย หากเข้าใจสาระหรือจุดมุ่งหมายเช่นนี้
และอีกอย่างว่า แม้สายพระป่า หรือ ธรรมยุต ที่ว่าเคร่งๆ นั้น
ก็รักษารูปแบ ไว้ดีแล้ว แต่มองความเป็นจริงสิครับว่า
หากท่านเหล่านั้น นำธรรมวินัยที่รักษาไว้ดีแล้ว
มาปรับให้เข้ากับสังฆะของท่าน แล้วสังฆะท่านจะดีขึ้นได้แค่ไหน
ผมจึงได้บอกว่า การยึดติดในรูปแบบ จนขาดการปรับประยุกต์
เป็นการขาดการทำให้พุทธธรรมสอดคล้องกับโลกและคนนั่นเอง