|
ความคิดเห็นที่ 139 ลักขณสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=3182&Z=3922
กรุณาอธิบายค่ะ ๑. [๑๓๓] พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความ ฝึกตน ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัย อุโบสถกรรม ความไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่ สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรงประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบ
พระมหาบุรุษยินดีในการกล่าวคำจริง ในกุศลกรรมบถ ในการฝึกฝนตน ในความสำรวม ในความสะอาด ศีลที่เป็นอาลัย คือ ในการมีศีลที่เป็นอาศัย ในความไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และในกรรมอันไม่สาหัส คือ ในกรรมอันไม่มีโทษ สมาทานแล้วมั่นคง คือ สมาทานแล้วก็ไม่ถอยกลับ ทรงประพฤติมาแล้วอย่างครบถ้วนดี
คำว่า สัจจะ http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัจจะ#find4 คำว่า ความสะอาด ในพระสูตรชื่อว่า โสเจยยสูตรที่ ๑ และ ๒ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7142&Z=7186
คำค้น คือ สาหส คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : สาหสํ คำอ่าน (ภาษาบาลี) : สา-หะ-สัง คำแปลที่พบ : ทำตามกำลัง, รุนแรง
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 2) : สาหสิโก คำอ่าน (ภาษาบาลี) : สา-หะ-สิ-โก คำแปลที่พบ : เป็นไปเพื่อโทษอันสาหัส http://www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp
๒. [๑๓๖] ... เมื่อเป็นพระราชาได้ผลข้อนี้ คือ มีพระชนมายุยืนดำรงอยู่นาน ทรงอภิบาลพระชนมายุยืนยาว ไม่มีใครๆ ที่เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นข้าศึกศัตรู สามารถปลงพระชนม์ชีพในระหว่างได้
อธิบายว่า ไม่กระทำกาลด้วยความพยายามของผู้อื่น คือ ใครๆ จะฆ่าไม่ได้.
๓. [๑๓๙] ...ถ้าออกผนวช จะได้ขัชชโภชนาทิวัตถุนั้นเหมือนกัน --> แปลว่า ของที่ควรเคี้ยวและของที่ควรบริโภค ถูกต้องหรือไม่คะ
ขัชชโภชนาทิวัตถุ = ขัชช + โภชนะ + อาทิ + วัตถุ ขัชช = ของเคี้ยว http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ขัชช&detail=on โภชนะ = ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โภชน&detail=on อาทิ = ต้น หรือเป็นต้น วัตถุ = เรื่อง, สิ่ง, ข้อความ, ที่ดิน; แปลว่า วัตถุสิ่งของมีของเคี้ยวและโภชนะเป็นต้น.
๔. [๑๔๕] ... เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้เฉพาะซึ่งหัตถาทิวาหนะ อันคู่ควรแก่พระราชา ซึ่งเป็นองค์แห่งเสนาของพระราชา --> เดาว่าคือ ช้างและม้า, เสนามีองค์ ๔ ตามลำดับ ถูกต้องหรือไม่คะ หัตถาทิวาหนะ = หัตถี + อาทิ + วาหนะ หัตถี = ช้าง , อาทิ = ต้น หรือเป็นต้น , วาหนะ = พาหนะ แปลว่า พาหนะมีช้างเป็นต้น.
เสนามีองค์ ๔ ตามลำดับ ถูกต้องหรือไม่คะ น่าจะถูกต้องแล้ว คำว่า เสนา http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เสนา
คำค้น คือ หตฺถี คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : ทารุหตฺถี คำอ่าน (ภาษาบาลี) : ทา-รุ-หัด-ถี คำแปลที่พบ : ช้างเป็นวิการแห่งไม้ คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 2) : หตฺถี คำอ่าน (ภาษาบาลี) : หัด-ถี คำแปลที่พบ : ช้าง, ช้างพลาย, สัตว์มีงวง http://www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp
ถ้าออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงได้เฉพาะซึ่งจีวราทิปัจจัยอันสมควรแก่สมณะ --> เดาว่า แปลว่า จีวรอันเป็นปัจจัย จีวราทิปัจจัย = จีวร + อาทิ + ปัจจัย แปลว่า ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น.
และทรงได้บริขารเป็นสมณูปโภคอันสมควรแก่สมณะโดยพลัน --> เดาว่า แปลว่า ของใช้ของสมณะ ถูกต้องครับ.
๕. [๑๓๐] ...๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน [๑๔๕] ... มีโลมชาติมีปลายช้อยขึ้นข้างบน [๑๔๒] ... มีพระโลมชาติล้วนมีปลายช้อนขึ้นข้างบนทุกๆ เส้น [๑๔๒] ...มีพระโลมชาติมีปลายช้อนขึ้นข้างบน --> คำว่า ช้อยขึ้น และ ช้อนขึ้น มีความหมายเหมือนกันหรือคะ น่าจะมีการพิมพ์ผิด เพราะ น และ ย แป้นพิมพ์ใกล้กันหนอ. ฝากให้ค้นในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ ว่า ใช้คำใด.
ช้อย ว. งอนงาม. ช้อน น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูปคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งใหญ่กว่าสวิง ถักเป็น ร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือวงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่ อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา. http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp
๖. [๑๔๖] ... เมื่อเป็นพระราชาจะมีปัญญามาก ไม่มีบรรดากามโภคีชน ผู้ใดผู้หนึ่งมีปัญญาเสมอ --> เดาว่า ชนผู้บริโภคกาม ถูกต้องครับ. ๗. [๑๕๐] ... เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า จะได้รับผลข้อนี้ คือ มีพระโอรสมาก พระโอรสของพระองค์มีจำนวนหลายพัน ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า มีความเพียรเป็นองค์สมบัติ กำจัดปรเสนาเสียได้ พระผู้มี- *พระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ --> ไม่เข้าใจเนื้อความค่ะว่า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจะมีพระโอรสได้อย่างไร พระโอรส ในที่นี้คือ พระอริยสาวกนั่นเอง.
ข้อ 55 ในอัคคัญญสูตร เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=1703&Z=2129#55
๘. [๑๕๑] ... เมื่อพระมหาบุรุษทรงผนวชบำเพ็ญพรต มีพระโอรสมากกว่านั้น ล้วนแต่ดำเนินตามพระพุทธพจน์ --> มีพระโอรสมากกว่านั้น หมายความว่าอย่างไรคะ พระอริยสาวก มีจำนวนมากเกินจะนับ สนังกุมารพรหมได้กล่าวว่า ... ข้าพเจ้ากลัวการพูดเท็จ จึงไม่อาจคำนวณได้ว่าในชนเหล่านี้ มีพระสกทาคามีเท่าไร และหมู่สัตว์นอกนี้บังเกิดด้วยส่วนบุญ ฯ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=4465&Z=4870#206
--> ดำเนินตามพระพุทธพจน์ หมายถึง บวชตาม หรือคะ ดำเนินตามพระธรรมวินัย. คำว่า ปาพจน์ 2 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาพจน์
๙. [๑๕๑] ... มีพระทนต์ที่เกิดสองหนเสมอ [๑๗๑] ... มีพระทนต์ที่เกิดสองหนเสมอ อาจหมายถึง พระทนต์ 2 ชุด เหมือนคนทั่วไปที่มีฟัน 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม และฟันแท้.
ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต ๓- ฯ ๓ ยุ. ทิชา ... http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=11&item=171&Roman=0
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา :- พระกุมารนี้ จะมีหมู่ชนที่สะอาดเป็นบริวาร สม่ำเสมอ ขาว สะอาด งดงาม เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระราชาปกครองแผ่นดินใหญ่ จะทรงมีคนหมู่มากเป็นบริวารที่สะอาด และไม่มีการข่มขี่ให้เดือดร้อนในราชอาณาจักร คนทั้งหลายต่างประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นความสุขแก่คนหมู่มาก
บทว่า ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต ความว่า ชื่อว่า ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต เพราะมีฟันขาวสะอาดงาม. ชื่อทิช เพราะเกิดสองหน.
๑๐. [๑๕๖] ... มีความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยพระเตโชธาตุ อันยังอาหารให้ย่อยดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก อันควรแก่พระปธานเป็นปานกลาง
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา :- เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะมีพระโรคาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว - - - - - - - - - - อธิบายว่า ธาตุไฟเหมาะสมดี ไม่ร้อนนัก ไม่เย็นนัก ปานกลาง เหมาะแก่การทำความเพียร. คำว่า ปธาน http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปธาน ---------------------------------------------------------------
อรรถกถา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=130&p=1
๑. จริงอยู่ พระมหาบุรุษแม้เป็นช้าง ม้า โค กระบือ วานรเป็นต้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี ได้เหมือนกัน แต่เพราะพระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเห็นปานนั้นไม่สามารถแสดงกรรมที่ ทรงกระทำแล้วโดยง่าย แต่พระองค์ดำรงอยู่ในความเป็นมนุษย์จึงสามารถแสดงกรรมที่ พระองค์ทรงกระทำแล้วโดยง่าย ฉะนั้น จึงตรัสว่า ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ ดังนี้. ข้อนี้สงสัยว่า ให้อธิบายอะไร เพราะเนื้อความสำนวนก็ไม่ยาก ใจความก็ไม่ยาก ลองอธิบายมาว่า เข้าใจอย่างไร?
๒. ในบทว่า อธิกุสเลสุ นี้ อธิบายว่า กุศลมีอยู่ อธิกุศลมีอยู่ กามาวจรกุศลแม้ทั้งหมด ก็ชื่อว่าเป็นกุศล รูปาวจรเป็นอธิกุศล. แม้ทั้งสองนั้นก็ชื่อว่าเป็นกุศล อรูปาวจรเป็นอธิกุศล. แม้ทั้งหมดเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นกุศล กุศลอันเป็นปัจจัยแห่งการได้สาวกบารมี เป็นอธิกุศล. อธิกุศลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นกุศล กุศลอันเป็นปัจจัยแห่งการได้ปัจเจกโพธิ เป็นอธิกุศล. อธิกุศลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นกุศล แต่กุศลอันเป็นปัจจัย แห่งการได้สัพพัญญุตญาณ. ท่านประสงค์ว่าเป็นอธิกุศลในที่นี้ พระตถาคตได้เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ยึดมั่นไม่ถอยหลัง ในธรรมเป็นอธิกุศลเหล่านั้น. อธิบายว่า คำเหล่านี้เป็นคำอธิบายคำว่า อธิกุศล ในข้อ 131 [๑๓๑] ... ในความเป็นผู้เคารพต่อผู้ใหญ่ในสกุลและในธรรมเป็นอธิกุศลอื่นๆ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ... ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ ฯ
อธิกุศล แปลว่า กุศลธรรมอันยิ่ง. ความก็คือ 1. กุศลระดับปกติทั่วไปเป็นกุศล กุศลที่ประณีตกว่าเป็นอธิกุศล 2. กุศลที่เป็นปัจจัยแก่วิบากอันเป็นสุขเป็นกุศล ส่วนกุศลที่มีกำลังมาก กุศลที่เป็นปัจจัยแก่การบรรลุโลกุตตรธรรม เป็นอธิกุศล.
๓. ในบทว่า เป็นผู้มีปัญญามากเป็นต้น ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยมหาปัญญา เป็นต้น. -มหาปัญญา -ปุถุปัญญา -หาสปัญญา -ชวนปัญญา -ติกขปัญญา -นิพเพธิกปัญญา อธิบายว่า คำเหล่านี้เป็นคำอธิบายลักษณะของปัญญาต่างๆ เช่น มหาปัญญา ปัญญาใหญ่, ปุถุปัญญา ปัญญาหนักแน่น, หาสปัญญา ปัญญาร่าเริง, ชวนปัญญา ปัญญาแล่นไป, ติกขปัญญา ปัญญาคมกล้า, นิพเพธิกปัญญา ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๖๖๕ - ๖๗๘ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=9819&w=ปัญญา_
๔. คล้ายกรรม คำว่า คล้ายกรรม นี้เป็นอาการแสดงปรากฎให้เห็น ประหนึ่งว่า จะบอกให้รู้ว่า กรรมที่เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ก็คล้ายๆ สิ่งนี้ ดังนั้น สิ่งนี้จึงคล้ายกรรม ที่ได้กระทำมาแล้ว. ขอยกตัวอย่างในฝ่ายอกุศล เช่น นางขุชชุตตราเป็นหญิงค่อม อาการปรากฏว่าค่อม ก็เป็นประหนึ่งว่า จะบอกให้รู้ว่า ได้กระทำกรรมที่ไม่ดี เพราะเป็นทุกข์ ทำกรรมเกี่ยวกับความค่อมนั้น ซึ่งก็คือ การล้อเลียนพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง โดยทำอาการค่อม สาธิตประกอบล้อเลียนนั้นๆ. อรรถกถา :- บุรพกรรมของนางขุชชุตตรา เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางขุชชุตตราเล่า เพราะกรรมอะไร? จึงเป็นหญิงค่อม, เพราะกรรมอะไร? จึงเป็นผู้มีปัญญามาก, เพราะกรรมอะไร? จึงบรรลุโสดาปัตติผล, เพราะกรรมอะไร? จึงเป็นคนรับใช้ของคนเหล่าอื่น. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในกาลที่พระราชาองค์นั้นแลครองราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นเหมือนกัน ได้เป็นผู้มีธาตุแห่งคนค่อมหน่อยหนึ่ง. ลำดับนั้น หญิงผู้อุปัฏฐายิกาคนหนึ่งห่มผ้ากัมพล ถือขันทองคำ ทำเป็นคนค่อม แสดงอาการเที่ยวไปแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยพูดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าของพวกเรา ย่อมเที่ยวไปอย่างนี้และอย่างนี้. เพราะผลอันไหลออกแห่งกรรมนั้น นางจึงเป็นหญิงค่อม. http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1#บุรพกรรมของนางขุชชุตตรา
จากคุณ |
:
ฐานาฐานะ
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ส.ค. 55 12:34:58
|
|
|
|
|