เอาเป็นว่า เรามาอ่านดูว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำไว้อย่างไร
_____________________________________________________________
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
[เรื่องสวดพระปริตร]
ก็ในพระปริตร มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า
โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ ! ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนา
ว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้น มีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ.
ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดัง
นี้ ควรเอามือ (ของตน) กวนน้า ลูบคลำเส้นด้าย ของมนุษย์เหล่านั้นแล
ให้ไป. ถ้าภิกษุให้น้ำจากวิหาร หรือเส้นด้ายซึ่งเป็นของ ๆ ตน เป็นทุกกฏ.
พวกชาวบ้านนั่งถือน้ำและเส้นด้าย กล่าวอยู่ว่า ขอนิมนต์สวดพระปริตร ดัง
นี้ควรทำ, ถ้าเขาไม่รู้ ควรบอกให้. พวกชาวบ้านตรวจน้ำทักษิโณทก* ลง
และวางเส้นด้ายไว้ใกล้เท้าทั้งหลายของพวกภิกษุผู้นั่งอยู่แล้ว ก็ไป ด้วยเรียน
ว่า ขอนิมนต์ทำพระปริตรสวดพระปริตรเถิด ดังนี้, ภิกษุไม่พึงชักเท้าออก
เพราะว่า พวกชาวบ้านจะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. พวกชาวบ้านส่งคนไปยัง
วิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลาย โปรด
สวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความ[^_^] เกิดขึ้นใน
พระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสระชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้
อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระ
สูตรทั้งหลาย มีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์
ว่า ขอภิกษุทั้งหลาย จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมแก่คนไข้เถิด หรือว่า
จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมที่พระราชวังหลวง หรือที่เรือนของอำมาตย์เถิด
ดังนี้ ภิกษุควรไปให้สิกขาบท ควรกล่าวธรรม. พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอ
ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ
จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน
ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
________________________________________________
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
[เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ]
ในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิง มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิ่งนั้น ) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้
หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้ คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ ไม่สามารถจะทำพิรุธได้,
เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่อง
แรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีความประสงค์
จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควร
ให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้
ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลาย มีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถา
ว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้.
เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่พึง
กล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล.
_____________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334 พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา
เหตุไร พวกเธอจึงยังจาริกกันอยู่เล่า. ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึก ก็ไม่ทรงเห็นเสนาสนะที่
เป็นสัปปายะอื่นสำหรับภิกษุเหล่านั้น ทั่วชมพูทวีป โดยที่สุด แม้แต่เพียงตั่งมี
๔ เท้า ดังนั้น จึงตรัสบอกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่
เป็นสัปปายะอื่นสำหรับพวกเธอไม่มีดอก พวกเธออยู่ในที่นั้นนั่นแหละจักบรรลุ
ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้น
นั่นแหละอยู่กันเถิด แต่ถ้าว่าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย
ก็จงพากัน เรียนพระปริตรนี้ . ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจัก
เป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ ดังนี้ แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.
______________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 461 พระศาสดาตรัสบอกอุบายป้องกัน
พราหมณ์ทูลถามพระศาสดาว่า "ก็อุบายเครื่องป้องกันมีอยู่หรือ ?
พระเจ้าข้า."
พระศาสดา พึงมี พราหมณ์.
พราหมณ์. พึงมีอย่างไร ?
พระศาสดา. ถ้าท่านพึงอาจเพื่อทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน
ให้ทำตั่งไว้ตรงกลางมณฑปนั้น แล้วปูอาสนะไว้ ๘ หรือ ๖ ที่ ล้อม
รอบตั่งนั้น ให้สาวกของเรานั่งบนอาสนะเหล่านั้น ให้ทำพระปริตร ๗
วันไม่มีระหว่าง. อันตรายของเด็กนั้นพึงเสื่อมไป ด้วยอุบายอย่างนี้.
พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจทำมณฑปเป็นต้นได้.
แต่จักได้สาวกของพระองค์อย่างไร ?
พระศาสดา. เมื่อท่านทำกิจเท่านี้แล้ว เราจักส่งสาวกของเราไป
พราหมณ์ทูลรับว่า "ดีละ พระโคดมผู้เจริญ" แล้วทำกิจนั้น
ทั้งหมดใกล้ประตูเรือนของตนแล้ว ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.
________________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 462 เด็กพ้นอันตรายกลับมีอายุยืน
แม้พระศาสดาได้ทรงทำพระปริตรตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อ ๗ วัน
ล่วงแล้ว, อวรุทธกยักษ์ไม่ได้เด็ก. ก็ในวันที่ ๘ เนื้ออรุณพอขึ้นเท่านั้น,
สองสามีภรรยานำเด็กมาให้ถวายบังคมพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า
" ขอเจ้าจงมีอายุยืนเถิด."
พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ก็เด็กจะดำรงอยู่นานเท่าไร ?
พระศาสดา. ๑๒๐ ปี พราหมณ์.
ลำดับนั้น ๒ สามีภรรยาขนานนามเด็กนั้นว่า "อายุวัฒนกุมาร."
อายุวัฒนกุมารนั้น เติบโตแล้ว อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป.
_______________________________________________________________
* สวดพระปริตรเองก็ได้ครับ หา "บทสวดแปลไทยมา" จะได้ศึกษาธรรมตามหัวข้อสวด หมดปัญหาเรื่องสวด"บาลี" แบบมั่วๆ ออกเสียงผิดๆ ถูกๆ
ส่วนบทสวดแปลพระปริตร ลองหาใน Google ก็ได้ครับ
(...ผมจะหาบทแปลไทยให้ เดี๋ยวจะหาว่าผมสังกัดสำนักนั้นสำนักนี้ แตกประเด็นกันยาวอีกอีก...น่าเบื่อ)