ขณะนี้่ความสัมพันธ์ของพม่า ต่อประชาคมอาเซียน กำลังไปด้วยดี
ผมไม่ทราบว่าคนที่กำลังบ้าโพสเรื่องนี้ มีจุดประสงค์ ที่กำลังบ่อนทำลายศาสนาคนอื่นด้วยการยืมปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ มาใช้โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เบื้องลึก ตื้นหนาบางเหล่านี้ เป้นจุดเปราะบางของประเทศเพื่อนบ้าน
ดังนั้น การประพฤติตนเช่นนี้ ผมอยากเรียนถามท่านว่า ท่านโง่ หรือบ้า
ที่กำลังทำให้สิ่งที่ ประชาคมอาเซียนกระทำให้เกิดสันติภายในภุมิภาคนี้ สงบ แต่ท่านกำลังเป็นส่วนนึงด้วย ความเมามัน อย่างขาดสติในการโพสโดยไร้ความรับผิดชอบทางความคิดและการทำ เพิ่มปัญหาให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมา อีก
ผมขอนำเสนอบางส่วนของ รากเหง้าปัญหา มาพุดคุยกัน ว่าข้อเท้จจริงคืออะไร เพื่อตั้งใจ เปิดเผยความจริง ในตัวเนื้อหากระทู้ ของกลุ่ม อคตินิยม โดยเฉพาะ ว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จงใจ บิดเบือนข้อมูล โดยตัดบางส่วนมา สื่อสาร ออกไป โดยหวังเพื่อเอาข้อความบางส่วน มาดิสเครดิจต ศาสนาของคนอื่น ผมถือว่าการกระทำดั่งกล่าว ว่า "เลวมาก"
โรฮิงยาคือใคร ?
โรฮิงยาเป็นชนกลุ่มหนึ่งอยู่ในรัฐยะไข่ [Rakhine] ของสหภาพพม่าที่เรารูจักกันว่าชาว ยะไข่
รัฐยะไข่อยู่ด้านทิศตะวันตกของสหภาพพม่า ติดกับชายแดนบังกลาเทศและอ่าวเบงกอล
ถิ่นที่อยู่ของชาวยะไข่ หรือรัฐยะไข่อยู่ในภูมิประเทศที่ถูกปิดล้อมไว้ด้วยเทือกเขาอารากัน ซึ่งอยู่ทางด้าน
ทิศตะวันออก มีความสูงระหว่าง ๙๑๕ เมตร (๓,๐๐๐ฟุต) ถึง ๑,๕๒๕ เมตร (๕,๐๐๐ฟุต)
ด้วยเหตุที่ภูมิประเทศที่มีความซับซ้อน ยากต่อการคมนาคมติดต่อกับเมืองหลวงของประเทศ เพราะมี
เทือกเขาอารากัน เป็นเสมือนกำแพงขวางกั้นจากโลกภายนอก ทำให้ชาวยะไข่มีวิถีชีวิต และ วิธีคิด
เป็นอิสระจากชนส่วนใหญ่ในพม่า
รัฐยะไข่มีประชากรประมาณ ๒ ล้านคน ในสมัยอังกฤษเข้าปกครองเรียกรัฐยะไข่เป็นสำเนียง
ของชาวอังกฤษว่า อารากัน [AraKan] มีเมืองหลวงชื่อ สต่วย [Sittwe]
ประชากรชาวยะไข่ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ อยู่ทางด้านใต้ ของรัฐ มีชาวมุสลิมประมาณ ๕ แสนคน
อยู่ทางด้านเหนืออีกสวนหนึ่งเป็นมุสลิมเข้ามาจากจิตตะกองอย่างผิดกฎหมายพวกนี้แหละคือ โรอิงยา
ปัญหาเริ่มต้นจาก พม่า...ฉีก สัญญาปางโหลง
ในยุคที่กระแสเรียกร้องเอกราชจากประเทศมหาอำนาจในประเทศพม่า ชนพม่าเอง และ ชนกลุ่มน้อย
ที่อยู่ในป่าในเขา ก็เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษด้วยเช่นกัน โดยมีผู้พันอู อ่องซาน (บิดาของนางอ่องซาน ซูจี)
เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
ในที่สุดวันที่ ๒๗ ม.ค. ๒๔๙๐ อังกฤษได้ลงนามในสัญญาให้เอกราชพม่า
วันที่ ๗ ก.พ. ๒๔๙๐ จัดการประชุมตัวแทนชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ เวียงปางโหลง ในรัฐฉาน โดยมี ผู้พันอ่องซาน เป็นประธานในที่ประชุม
ในที่ประชุมได้มีมติ ให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่า รวมตัวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อนเพื่อแสดงพลังสามัคคีให้อังกฤษเห็น เมื่อได้เอกราชจากอังกฤษแล้วจะอยู่ร่วมกันต่ออีก ๑๐ ปี เพื่อผนึกกำลังกันสร้างชาติ
ของทุก ๆ ชนให้เข้มแข็ง ก่อนแยกย้ายกันไปเป็นชาติอิสระของตนเองต่อไป
ข้อตกลงนี้ได้มีการเซ็นสัญญาร่วมกันที่เรียกกันว่า สัญญาปางโหลงเมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ. พ.ศ.๒๔๙๐
วันที่ ๑๙ ก.ค. ๒๔๙๐ ผู้พันอ่องซาน แกนนำการเจรจากับชนกลุ่มน้อยฝ่ายพม่าที่ได้สัญญากับชนกลุ่มน้อยจะให้เอกราชหลังรวมชาติแล้ว ๑๐ ปี ถูกลอบสังหาร...
วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๑ อูนุ นายกรัฐมนตรีแห่งพม่า ได้เชิญชนกลุ่มน้อยไทยใหญ่ ฉิ่น คะฉิ่นมอญ กะเหรี่ยง ยะไข่ ที่จะให้อิสระมาประชุมพร้อมหน้ากันพร้อมกับเลี้ยงต้อนรับอย่างเต็มที่
ย่างเข้าวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๑ เวลา ตีสาม (๐๓.๐๐น.) วิทยุทางการพม่าประกาศแถลงการณ์คณะปฏิวัติของ นายพลเนวินฯ
ผู้แทนชนกลุ่มน้อยที่มาประชุมถูกจับทั้งหมด
เจ้าเหยียบฟ้า (ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) ผู้หาญกล้าประคารมและประณาม อูนุ ว่า เป็นผู้ตระบัดสัตย์ในที่ประชุมถูกยิงตาย
ตามข่าวโดยวิทยุพม่าประกาศว่า เจ้าเหยียบฟ้าได้ทำการต่อสู้และขัดขืนการจับกุม... การที่พม่า
หลอกเสือออกจากถ้ำมาฆ่าได้สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับชนกลุ่มน้อยอย่างสุด ๆ
ตั้งแต่นั้นมาประเทศพม่าไม่เคยได้อยู่สงบมีปัญหากับชนกลุ่มน้อยมาตลอด แม้กระทั่งยะไข่ ซึ่งเป็นชนหลังเขาก็ไม่เว้น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
แหล่งที่มา จาก นายภูวดล แดนไทย
http://www.surasiha.com/Rohingya01.asp
แก้ไขเมื่อ 10 มิ.ย. 55 10:15:38
แก้ไขเมื่อ 10 มิ.ย. 55 08:23:37
แก้ไขเมื่อ 10 มิ.ย. 55 08:19:23