____________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 146 ๑๐. มาตาสูตร
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
จาริกไปในทักษิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัย
นั้นแล นันทมารดา อุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ ลุกขึ้นในเวลา
มหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ
ได้ทรงสดับนันทมารดาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรทำนองสรภัญญะ
ประทับรอฟังจนจบ ขณะนั้น นันทมารดาอุบาสิกา สวดปารายนสูตร
ทำนองสรภัญญะจบแล้วนิ่งอยู่ ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงทราบว่า
กถาของนันทมารดาอุบาสิกาจบแล้ว จึงทรงอนุโมทนาว่า สาธุ
น้องหญิง สาธุ น้องหญิง นันทมารดาอุบาสิกาถามว่า ก่อนท่าน
ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่านนี้คือใครเล่า.
เว. ดูก่อนน้องหญิง เราคือท้าวเวสสวัณมหาราช ภาดาของเธอ.
น. ดูก่อนท่านผู้มีพักตร์อันเจริญ ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรม
บรรยายที่ดิฉันสวดแล้วนี้เป็นเครื่องต้อนรับแด่ท่าน.
เว. ดูก่อนน้องหญิง ดีแล้ว นั่นจงเป็นเครื่องต้อนรับแก่ฉัน
พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
เป็นประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า จักมาถึงเวฬุกัณฏกนคร เธอพึง
อังคาสภิกษุสงฆ์หมู่นั้น แล้วพึงอุทิศทักษิณาทานให้ฉันด้วย ก็การ
ทำอย่างนี้ จักเป็นเครื่องต้อนรับฉัน.
_______________________________________________________________
_______________________________________________________________
ถ้าอ่านเรื่อง
"อุทิศทักษิณา" หรือ การให้บุญ ไม่ว่ากี่เรื่องๆ จะไม่มีการกรวดน้ำ อยากให้ ก็กล่าวให้ไปเลย หรือ อีกฝ่ายก็ต้องอนุโมทนา ยินดี
.....ส่วนการแผ่เมตตามักจะเป็นการทำให้อีกฝ่ายมีจิตใจลดความโกรธแค้น ลดการอาฆาต ไม่ให้กลั่นแกล้งหรือทำร้าย_______________________________________________________________
_______________________________________________________________ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 314 [พระเถระให้โอวาทพวกยักษ์และรากษสเป็นต้น]
ลำดับนั้น ท่านพระมัชฌันติกเถระ เรียกพวกนาคและรากษสแม้
ทั้งหมดมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่าน
อย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเหมือนในกาลก่อน
เลย และอย่าทำลายข้าวกล้า ( ให้เสียหาย )
เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย ใครต่อความสุข
จงแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอมวล
มนุษย์ จงอยู่เป็นสุขเถิด.
______________________________________________________________
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 11 เรื่องภิกษุถูกงูกัด
[๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้
แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้น แผ่เมตตาจิต
ไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ตระกูลพญางู
ทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ
๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ
๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ.
ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะ
ถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึง
มรณภาพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง
๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่
อย่างนี้:-
คถาแผ่เมตตากันงูกัด
[๒๗] เรากับพญางูระกูลวิรูปักขะ
จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูล
เอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางู
ตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับ
พญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อ
กัน เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อ
กัน เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์
กับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์
ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้า
อย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้
เบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียด-
เบียนเรา และสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวล
ทุกหมู่เหล่า จงประสบความเจริญ อย่าได้
พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย.