คนมีสุขภาพใจดีจะรู้จักยืดหยุ่น คือปล่อยวางเมื่อถึงคราวควร ปล่อยวาง หยุดเมื่อสมควรหยุด ดังที่หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง สอนว่า
ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย
ถ้าปล่อยวางได้ก็จะไม่เสียสุขภาพใจ คนเราจะทำอย่างนั้นได้และ มีสุขภาพใจดีเพราะมีกระบวนการพัฒนาสุขภาพใจตามลำดับดังต่อไปนี้
สติสัมปชัญญะ ----
สังวร ----
อวิปปฏิสาร ----
ปราโมทย์ ----
ปีติ ----
ปัสสัทธิ ----
สุข ----
การสร้างสุขภาพใจต้องเริ่มจากสติสัมปชัญญะ และสติสัมป ชัญญะทำให้เกิดสังวรคือสำรวมระวัง ทำอะไรไม่ผิดพลาด เมื่อทำอะไรไม่ผิดพลาดตามกำหนดเวลาก็จะมีอวิปปฏิสาร คือไม่ ขุ่นมัว ไม่กังวล ไม่รู้สึกผิดหรือ guilty ไม่ตำหนิตัวเอง อวิปปฏิสารทำให้เกิดความปราโมทย์คือ มีความบันเทิง ร่าเริง สนุกกับงาน
ความบันเทิงจะทำให้เกิดปีติ อิ่มใจ ทำอะไรแล้วอิ่มใจ ภูมิใจ พอใจ ความอิ่มใจจะทำให้เกิดปัสสัทธิแปลว่า สงบ คือไม่เครียดนั่นเอง สภาวะทั้งหมดที่ว่ามารวมกันเป็นความสุข หรือสุขภาพใจที่ดี พื้นฐานของสุขภาพใจอยู่ที่สติสัมปชัญญะ ผู้มีสุขภาพใจดีแสดง ว่ามีสติสัมปชัญญะมาก ส่วนผู้มีสุขภาพจิตไม่ดีเรียกว่าเสียสติ คนบ้าคือ คนเสียสติ เพราะสติสัมปชัญญะไม่มีเลย ใครมีสติสัมปชัญญะ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ได้ชื่อว่า ผู้มีสติไพบูลย์ คือ มีสติ 100 เปอร์เซ็นต์ ท่านไม่หลงสติเลย จึงทำอะไรไม่ผิดพลาด ไม่ต้องฝืนใจรักษาศีลเหมือนคนทั่วไป เพราะท่านมีศีลโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีสติไพบูลย
์
เมื่อจุดเริ่มต้นของสุขภาพใจอยู่ทีสติ เราะก็ควรตระหนักว่าสติคือ อะไรและพัฒนาได้อย่างไร
สติ แปลว่า ความระลึกได้ และความรู้ทันปัจจุบัน สติที่เราใช้ในความหมายทั่วไปก็คือความระลึกได้ (recollection) อย่างคนที่มีสตินั้นจะจำและนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เขาทำหรือเห็นมา แล้วไม่ดี แต่คนที่เสียสติจะระลึกและต่อเรื่องไม่ถูก ในทางปฏิบัติ เราใช้คำว่าสติในอีกความหมายที่ว่ารู้ทันปัจจุบัน (mindfulness) ใจอยู่กับปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ว่าท่านทำอะไรก็ตาม คุมใจตัวเองให้อยู่กับปัจจุบันนั่นคือสติ เช่น ท่านกำลังฟังบรรยายอยู่นี้ ถ้าฟังอย่างไม่มีสติ ใจจะลอยกลับไปอดีตบ้าง ไปเรื่องอื่นบ้าง ถ้ามีสติ ใจจะจดจ่ออยู่กับเรื่องเฉพาะหน้าในปัจจุบัน คือมองก็เห็น ฟังก็ได้ยิน คนที่มองแล้วไม่เห็นฟังแล้วไม่ได้ยินคือคนไม่มีสติ ใจไม่อยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันหมายถึง ขณะปัจจุบัน นาทีปัจจุบัน ถ้าจิตอยู่กับขณะ ปัจจุบันเฉพาะหน้ารับรู้อะไร ๆ ที่เข้ามากระทบ ตอนนี้คือ ตากำลังมอง หูกำลังฟัง ไม่ว่าอะไรก็ตาม ให้รับรู้ทันทีเรียกว่าสติ และบางครั้งเราคิด เรื่องอะไรก็ตาม ก็ให้ใจอยู่กับเรื่องนั้น นั่นเรียกว่าสติ แต่สตินั้นควรได้รับ การฝึก ถ้าหากว่าเราไม่ได้ฝึกสติ สติจะพร่าซัดส่าย แม้ท่านจะอยู่กับ ปัจจุบันเหมือนกัน เมื่อท่านนั่งฟังบรรยาย เสียงที่ท่านได้ยินแต่ละครั้ง เป็นสติ พอคนลุกออกไป ท่านหันไปดู นั่นก็เป็นสติ สติอย่างนี้เป็นสติ ฟุ้งซ่าน บางทีเป็นมิจฉาสติด้วยซ้ำไป สติที่ถูกต้องจะมีการกำหนดขอบ เขตของปัจจุบัน เช่น ท่านกำลังทำงานเฉพาะหน้าอยู่คือ อ่านรายงาน หนึ่งชิ้น สติช่วงนี้จะอยู่กับการอ่านรายงาน ใครจะมาเปิดทีวีรบกวน ท่านจะไม่ใส่ใจ ใครจะมาทำอะไร สติยังไม่ไปสนใจเขา แต่ยังอยู่กับงาน เราจะทำอย่างนั้นก็ต่อเมื่อได้ฝึกเจริญสติ
วิธีหนึ่งในการเจริญสติสำหรับชาวบ้านก็คือฝึกเรียกความคิด กลับมาอยู่กับตัวเรา ที่นี่ เดี๋ยวนี้ จิตเท่านั้นที่วิ่งกลับสู่อดีตหรือก้าวไปใน อนาคตได้ กายทำอย่างนั้นไม่ได้ กายจึงเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ถ้าเรา รักษาใจให้อยู่กับกายตลอดเวลา เรียกว่าเจริญกายคตาสติ สติที่กำหนดกายเป็นขอบเขตการรับรู้เฉพาะหน้าเช่นนั้นเป็นส่วน หนึ่งของการฝึกสมาธิ.
@ ----------------------@