 |
กรณี สภาวธรรมแห่งรูปฌาน ๔ แบบองค์รวม เป็นอย่างไร ?
เมื่อเจริญอานาปานสติสมาธิ สติย่อมระลึกรู้อยู่ และสัมปชัญญะคือความรู้ตัว ย่อมตื่นอยู่ เมื่อเจริญกระทำให้มาก ย่อมเบิกบาน จึงชื่อว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งแปลว่า พุทธะ และทำให้เป็นผู้มีสุขภาพดีในเบื้องต้น
เมื่ออานาปานสติสมาธิบริบูณ์แล้ว ถ้าปรารถนาจะเข้าถึงรูปฌานทั้ง ๔ ก็ย่อมได้ตามปรารถนา ดังเจ้าของกระทู้ได้กล่าวถึงแล้ว
เสนอว่า เมื่อเจริญอานาปานสติสมาธิ เข้าใจได้ดีทั้ง ๑๖ ขั้น พอประมาณแล้ว ให้เจริญกระทำให้มากในหมวดที่ ๑ คือ หมวดกายานุปัสสนาให้แคล่วคล่องชำนาญ หรือว่า เจริญกระทำให้มากในหมวดใดหมวดหนึ่งให้ชำนาญ แล้ววิปัสสนาด้วยอาการของขันธ์ ๕ ทั้ง ๑๑ อาการ ย่อมบรรลุได้ โดยไม่จำเป็นเจริญกระทำให้มากทั้ง ๑๖ ขั้น ก็ย่อมได้
องค์รวมของรูปฌาน ๔ คือโพชฌงค์ทั้ง ๗ องค์ นั่นเอง คำตอบ จึงมีว่า เมื่ออานาปานสติสมาธิ บริบูรณ์แล้ว แม้ในหมวดที่ ๑ คือกายานุปัสสนา เป็นต้นนั้น, สติคือระลึกรู้ ก็เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สติ ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ การเลือกเฟ้นใคร่ครวญซึ่งธรรมด้วยปัญญา ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า ธรรมะวิจยะสัมโพชฌงค์
เมื่อธรรมะวิจยะสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
เมื่อวิริยะสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ปีติ ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์
เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ ความสงบรำงับ ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า ปัสสัสธิสัมโพชฌงค์
เมื่อปัสสัสธิสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ สมาธิ ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จิตก็เป็นจิตตั้งมั่นแล้วเป็นอย่างดี อุเบกขา ก็เป็นอันว่า ปรารภแล้ว เจริญแล้ว และถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ จึงชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
เมื่ออานาปานสติสมาธิบริบูรณ์ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมบริบูรณ์ เมื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ก็ย่อมบริบูรณ์
เมื่อเจริญด้วยอาศัยวิเวก อาศัยคลายความกำหนัด อาศัยความดับไม่เหลือ น้อมไปเพื่อความสลัดลง วิชชาคือความรู้จริง และวิมุตติคือความหลุดพ้น ย่อมบริบูรณ์. โพชฌงค์ทั้ง ๗ องค์นี้ เป็นองค์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
สรุปกรณีนี้ ว่า นี้คือการตอบตามหลักอรยสัจสี่ และกล่าวโดยปริยาย ยังไม่กล่าวโดยนิปปริยาย ซึ่งต้องใช้เวลาและพื้นที่อีกมาก
สาธุ ! ก็หวังว่า คงตอบตรงกับคำถาม เพราะไม่ถนัดหลักปรัชญา หรือวิชาการ
จากคุณ |
:
หลวงตาเฟื่อง ปัญญาวโร (หลวงตาเฟื่อง)
|
เขียนเมื่อ |
:
17 มิ.ย. 55 13:02:41
|
|
|
|
 |