 |
นิพพานที่เห็นได้เอง บุคคลผู้กำหนัดแล้ว อันราคะครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง
เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้
นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้อาการอย่างนี้แล.
บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบ้าง, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง.
เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้
นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้อาการอย่างนี้แล.
บุคคลผู้มีโมหะแล้ว อันโมหะครอบงำแล้ว, มีจิตอันโมหะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบ้าง, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง.
เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไปทางจิตโดยแท้
นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้อาการอย่างนี้แล
เมื่อใดแล ผู้นี้ ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งความสิ้นไปแห่งราคะ อันหาเศษเหลือมิได้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโทสะ อันหาเศษเหลือมิได้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโมหะ อันหาเศษเหลือมิได้
เมื่อนั้น นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล ไตร. ติกฺก. อํ. ๒๐ / ๒๐๒ / ๔๙๕. อริย. ๔๘๐. กระเบื้องที่เขาเผาอยู่ในเตาเผา เมื่อนำออกจากเตาเผา มาวางไว้ที่พื้นดิน ความร้อนย่อมคลายออก ความเย็นย่อมเข้าไปแทนที่ ความเย็นที่เย็นอยู่ๆนั่นแหละคือนิพพานธาตุ
หรือว่า จิตเพ่งเล็งใคร่จะไดจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอารมณ์ อารมณที่มีต่อสิ่งนั้น เรียก ว่าราคะคือเรียกว่าความกำหนัด
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง คือเห็นโดยชัดแจ้ง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ความคลายกำหนัด คือ นิพพานธาตุ.
อาจารย์พุทธทาสแปลคำว่า นิพพาน ตรงตัวไว้ว่า เย็น ยกตัวอย่าง เช่น ยกหม้อข้าวออกจากเตา ความเย็นของหม้อข้าวนั้น ย่อมเย็นลงๆๆ http://www.facebook.com/luangtaf
สาธุ !
จากคุณ |
:
หลวงตาเฟื่อง ปัญญาวโร (หลวงตาเฟื่อง)
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มิ.ย. 55 12:22:53
|
|
|
|
 |