อยากให้ทำความเข้าใจอย่างนี้นะครับ
๑. การสร้างกรรมและการให้ผลของกรรมนั้น ไม่ได้วัดจากการสั่นสะเทือนต่อโลกมนุษย์
แต่อยู่ที่เจตนาที่เกิดขึ้นระหว่างทำกรรมที่เป็นบาปบุญต่าง ๆ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของการทำกรรมนั้น ๆ เช่น กรรมที่มีองค์ประกอบครบสำเร็จลงเป็น อกุศลกรรมบท ๑๐ ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงประเวณี กล่าวเท็จ ดื่มสุรา ด่าทอผู้อื่น พูดยุยงให้คนแตกกัน มีจิตพยาบาทอาฆาต ฯลฯ
กรรมเหล่านี้ล้วนเกิดด้วยชวนะจิตที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอกุศลเจตนาอันหยาบและแรงกล้า หากกรรมต่างๆสำเร็จลงเป็นอกุศลกรรมบท เช่นนี้แล้ว เมื่อมีโอกาสให้ผลในปฏิสนธิกาล กรรมนั้นก็เป็นปัจจัย ให้ไปเกิดในทุคติภูมิ มี นรก หรือ เปรต เป็นต้นได้
๒. การล่วง อกุศลกรรมบท ๑๐ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น แต่สัตว์ในภูมิอื่น อย่างเช่น สัตว์เดรัจฉาน ก็อาจจะสร้างบาปเหล่านี้ได้เช่นกัน
๓. กำหนดอายุ ของสัตว์ในนรก นั้น มีอายุยาวนานก็จริง เช่น นรกขุมแรกสุด ที่ชื่อว่า สัญชีวมหานรก มีอายุถึง ๑ แสน ๖ หมื่น ๒ พันโกฏิปีของมนุษย์ แต่สัตว์นั้นอาจจะไม่ได้ตกอยู่นานถึงขนาดนั้นก็ได้ กำหนดอายุนี้เป็นเพียงค่า maximum
มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า มีอุบาสกคนหนึ่งได้เคยถวายจีวรห่มพระพุทธเจดีย์ ต่อมาตายลงอกุศลกรรมบางอย่างนำให้ไปตกนรก เมื่อไปถึงนรกก็ได้เห็นเปลวไฟ ซึ่งมีสีเปลวไฟคล้ายสีจีวรที่เคยถวายทำบุญไว้ในชาติก่อนนั้น พอระลึกได้เช่นนั้น ก็พ้นจากนรกทันที ไปบังเกิดในเทวโลก ซึ่งรวมเวลาแล้ว ก็ตกนรกเพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น
(ส่วน ผู้ที่ทำอกุศลอย่างหนักไว้ จึงจะอยู่เต็มกำหนดอายุmaximum ของขุมนั้นๆ เช่น กรณีเทวทัต ซึ่งจะอยู่นานถึงกำหนดอายุของนรกขุมที่ ๘ ที่ชื่ออเวจี ซึ่งจะยาว นานเท่ากับ ๑ อันตรกัปป์ คือนานยิ่งกว่า สิบยกกำลัง 140 ไปหลายๆเท่าๆ)
๔. คนที่อยู่ในชมพูทวีปเป็นผู้มีจิตใจกล้าแข็งกว่าในภูมิอื่นๆ และคนในทวีปอื่นๆ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
ฝ่ายดีนั้นทำให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจปพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ ฌานลาภี อภิญญาลาภีได้
ฝ่ายที่ไม่ดีนั้น อาทิเช่น ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ และทำโลหิตุปบาท คือทำให้พระโลหิตห้อ และทำสังฆเภท
ส่วนในใจของคนที่อยู่ในทวีปสามทวีปที่เหลือนั้น ไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีและไม่ดี
๕. กำหนดอายุของมนุษย์ในชมพูทวีป มีความไม่แน่นนอน สูงบ้าง ต่ำบ้าง บางกาลมนุษย์ก็มีอายุสูงถึงอสงไขยปี (สิบยกกำลัง140)ก็มี ตำที่สุดถึง ๑๐ ปีก็มี (ในปัจจุบันมีอายุอยู่ประมาณ ๗๕ ปี) ในสมัยต้นกัปนั้น มนุษย์จะมีอายุถึงอสงไขยปีเสมอ เพราะว่าจิตใจของคนสมัยนั้น มีกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ น้อย มีกุศลเจตนาเกิดขึ้นโดยมาก อุตุและอาหาร ก็ย่อมดีไม่ขาดตกบกพร่อง ต่อมาเมื่อมนุษย์มีอกุศลในขันธสันดานมากขึ้น อุตุ คือ ดิน ฟ้า อากาศ และอาหารต่างๆ จึงเปลี่ยนไป และมีความหยาบขึ้น ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ และอายุขัยของมนุษย์ให้มีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเช่นกัน
ดังนั้น ในบางกาลที่ กุศลธรรมเจริญขึ้นมากๆ อายุขัยของมนุษย์ก็อาจะกลับเพิ่มขึ้นอีก จนมีอายุยาวนานกว่า เทวดา หรือ สัตว์ในนรg ก็ได้
แก้ไขเมื่อ 24 มิ.ย. 55 03:48:31
จากคุณ |
:
ชาวมหาวิหาร
|
เขียนเมื่อ |
:
24 มิ.ย. 55 03:28:59
|
|
|
|