คำว่า ประภัสสร ที่มาจากบาลีว่า ปภสฺสรํ แปลว่า บริสุทธิ์ หรือ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึกก็ได้
(การแปลว่าเลื่อมพราย จะใช้ในบางกรณีเช่นการกล่าวถึง
รัศมีที่ซ่านออกจากกาย หรือ การเปล่งพระฉัพพรรณรังสี เป็นต้น)
ส่วนในบทว่า จิตนั้นประภัสสร(ผุดผ่องหรือขาวบริสุทธิ์)
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา
มุ่งหมายถึง ภวังคจิต อันเป็น มหากุศลวิบาก เป็นจิตบริสุทธิ์
แต่ก็เศร้าหมองไปด้วย เพราะความเป็นไป "ทั้งวิถีจิต"
เนื่องจาก ชวนะจิตที่เป็น อกุศลนั้นเอง
---------------------------------------------------------
(จากอรรถกถา พระบาลี และอรรถกถาแปลไทย)
นวเม ปภสฺสรนฺติ ปณฺฑรํ ปริสุทฺธํ ฯ จิตฺตนฺติ ภวงฺคจิตฺตํ ฯ
บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.
กึ ปน จิตฺตสฺส วณฺโณ นาม อตฺถีติ นตฺถิ ฯ
ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ? แก้ว่าไม่มี.
นีลาทีนญฺหิ อญฺตรวณฺณํ โหตุ สุวณฺณวณฺณํ วา ยงฺกิญฺจิ
ปริสุทฺธตาย ปภสฺสรนฺติ วุจฺจติ ฯ
จริงอยู่ จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์.
อิทมฺปิ นิรุปกฺกิเลสตาย ปริสุทฺธนฺติ ปภสฺสรํ ฯ
แม้จิตนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่าปภัสสร.
ตญฺจ โขติ ตํ ภวงฺคจิตฺตํ ฯ
บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิตนั้น.
อาคนฺตุเก หิ่ ติ อสหชาเตหิ ปจฺฉา ชวนกฺขเณ อุปฺปชฺชนเกหิ ฯ
บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลสที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
อุปกฺกิเลเส หิ่ ติ ราคาทีหิ อุปกฺกิลิฏฺฐตฺตา อุปกฺกิลิฏฺฐญํ นามาติ วุจฺจติ ฯ
บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่าเศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.
เศร้าหมองอย่างไร?
เหมือนอย่างว่า บิดามารดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์มีศีลสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา ไม่สอน ไม่พร่ำสอนบุตร หรืออันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของตน เพราะเหตุที่บุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกเป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียนเสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.
พึงเห็นภวังคจิตเหมือนบิดามารดาและอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ. ภวังคจิตแม้จะบริสุทธิ์ตามปกติก็ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะโทสะและโมหะซึ่งมีความกำหนัดขัด เคืองและความหลงเป็นสภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้นได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.
(อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต)
----------------------------------------------------------------------
(สรุปสั้นๆพร้อมแสดงวิถีจิต)
ภ ภ ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต ภ ภ ภ ภ ภ ภ
ตี น ท นี้เป็น ภวังคจิต เป็น มหากุศลวิบาก คือจิตที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส
แต่เมื่ออ ชวนะ คือ (ช ช ช ช ช ช ช) เป็นกิเลสแล้ว
ทั้งวิถีจิตก็เลยได้ชื่อว่าเศร้าหมองไปหมด รวมทั้ง ตี น ท
อันเป็นภวังคจิตด้วย
(เปรียบดัง บิดามารดาที่ได้รับการติเตียนเนื่องจากความประพฤติที่ไม่ดีของบุตร)
แก้ไขเมื่อ 25 มิ.ย. 55 19:48:29
แก้ไขเมื่อ 25 มิ.ย. 55 19:41:55
แก้ไขเมื่อ 25 มิ.ย. 55 19:27:18