(สีลวีมังสชาดก)
[๗๕๘] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐ หรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละ
ประเสริฐกว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.
[๗๕๙] ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับมาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด
บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
(อรรถกถา สีลวีมังสชาดก)
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สีลเมว สุตา เสยฺโย ความว่า ศีลเท่านั้นยิ่งกว่าปริยัติคือสุตะ โดยร้อยเท่า พันเท่า.
ก็แหละครั้น กล่าวอย่างนี้แล้วจึงตั้งหัวข้อว่า ชื่อว่าศีลนี้มีอย่างเดียวด้วยอำนาจสังวรศีล, มีสองอย่าง ด้วยอำนาจจารีตศีลและวารีตศีล,
มีสามอย่างด้วยอำนาจศีลที่เป็นไปทางกาย วาจาและใจ, มีสี่อย่างด้วยอำนาจปาติโมกข์สังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล
และปัจจยสันนิสิตศีล แล้วได้กล่าวคุณของศีลให้พิสดาร.
บทว่า โมฆา ได้แก่ ไร้ผล คือเป็นของเปล่า.
บทว่า ชาติ ได้แก่ การเกิดในขัตติยสกุลเป็นต้น.
บทว่า วณฺโณ ได้แก่ ผิวพรรณแห่งร่างกาย คือ ความเป็นผู้มีรูปงาม. ก็เพราะเหตุที่ความถึงพร้อมด้วยชาติก็ดี ความถึงพร้อมด้วยวรรณะก็ดี
ย่อมไม่สามารถจะให้ความสุขในสวรรค์แก่คนผู้เว้นจากศีล ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวความถึงพร้อมด้วยชาติและวรรณะทั้งสองนั้นว่าเป็นโมฆะ.
ด้วยบทว่า สีลเมว กิร นี้ท่านกล่าวตามที่ได้ยินได้ฟังมา แต่ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง.
บทว่า อนฺเปตสฺส แปลว่า ผู้ไม่ประกอบแล้ว.
บทว่า สุเตนตฺโถ น วิชฺชติ ความว่า บุคคลผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีความเจริญอะไรในโลกนี้หรือโลกหน้า เพราะเหตุสักว่าปริยัติคือสุตะ.
จากนั้นได้กล่าวคาถา ๒ คาถาข้างหน้าต่อไป เพื่อจะแสดงถึงความที่ชาติเป็นของเปล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก ความว่า คนไม่มีศีลเหล่านั้นละโลกทั้งสอง คือเทวโลกและมนุษยโลก ย่อมเข้าถึงทุคติ.
----------------------------------------------------------------
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียนเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง
ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา
ผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
(อัปปสุตสูตร)
แก้ไขเมื่อ 27 มิ.ย. 55 16:13:00