กล่าวถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในรัฐยะไข่ ผมจะพูดเกี่ยวกับเรื่องสื่อในพม่าและสื่อในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า เป็นเรื่องอื้อฉาวมาก โดยเฉพาะสื่อที่นำเสนอข่าว การปฏิวัติที่เกิดขึ้น สื่อมีบทบาทดูสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้น และนำเสนอข่าวสารออกไป สถานการณ์ปัจจุบันในการนำเสนอข่าวในเว็บไซต์ ผมพยายามเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา
กรณีสื่อรายงานข่าวสถานการณ์ผู้หญิงชาวอาระกันถูกข่มขืนและถูกฆ่าตาย โดยผู้ชายมุสลิมสามคน หลังจากนั้นเป็นผลทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น คือคนมุสลิม 8 คน ถูกฆ่าตาย จากฝีมือชาวพุทธ นอกจากนี้คนประมาณอีก 9,000 คน ได้รับผลกระทบ บ้านเรือนถูกเผา และชาวอาระกันจำนวน 900 คน ถูกทำร้ายร่างกาย
สื่อหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลพม่าเสนอข่าวกรณีหญิงชาวอาระกันถูกชายมุสลิม 3 คน ข่มขืนและฆ่า โดยใช้คำว่า"มุสลิมกะลา" ซึ่งคำว่ากะลา เป็นคำที่เรียกชาวโรฮิงยาอย่างดูถูกดูหมิ่น ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลพม่า เริ่มนำเสนอโดยใช้คำ "กะลา" แทนคำว่า มุสลิมในรัฐยะไข่ หลังจากนั้นก็มีการนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืนและการถูกเฉือดคอ ปรากฏการณ์เหล่านี้เพิ่มความเลวร้ายต่อผู้อ่าน หลังจากนั้นก็มีข่าวสารเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เฟสบุค และทางโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ
มีกลุ่มมุสลิมประมาณหนึ่งพันคนที่เผาและทำลายบ้านของชาวพุทธในรัฐยะไข่ รัฐบาลกลางพม่าได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถยุติการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นได้ และมีคนถูกฆ่าตาย นั่นเป็นวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้น การนำเสนอข่าว การให้ข่าว การใช้คำในการนำเสนอข่าว ในสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น สามารถส่งผลกระทบในทางลบ เพิ่มความรุนแรง เกิดการเปลี่ยนแปลงจากคนเคยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในความหลากหลายทางศาสนา ชาติพันธุ์ แต่ตอนนี้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกในทางศาสนาและชาติพันธุ์ กระจายไปทั่ว เป็นสถานการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่ก็เกิดขึ้น กลุ่มคนในอาระกันเริ่มนำเสนอข้อมูลต่างๆออกมา เป็นผลทำให้เกิดกลุ่มคนที่มีอารมณ์ร่วมเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามกลุ่มสื่อของผมพยายามทำความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และแยกแยะในสิ่งที่จริงและไม่จริง
ผมมองว่ากลุ่มนักหนังสือพิมพ์ไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของสถานการณ์ได้ ข้อมูลในเฟสบุค หรือสิ่งตีพิมพ์ในพม่าไม่สามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงเพื่อจะนำเสนอต่อไปได้ ในฐานะที่ผมทำงานข่าวในอิระวดี ผมและกลุ่มนักข่าวที่เป็นนักข่าวมืออาชีพ จึงจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อตัดสินใจ กรั่นกรองในการนำเสนอข่าว อีกทั้งการนำเสนอข่าวจากสถานการณ์ต่างๆที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่ นักข่าวเองจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาของแหล่งข่าวในพื้นที่ต่างๆ ด้วย
อย่างไรก็ตามในฐานะที่ผม[ผู้แทนจากสำนักข่าวอิระวดี] เป็นผู้สื่อข่าว ผมก็จะนำเสนอตามข้อเท็จจริงและมีความระมัดระวังในการนำเสนอเรื่องที่จะส่งผล กระทบต่อความรู้สึก และจะทำงานให้มีความระมัดระวังเกี่ยวกับประเด็นที่อ่อนไหวผ่านสื่อต่างๆด้วย.
Credit@ นำมาจาก ประชาธรรม:สถานีประชาชน/วันที่ ๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๕