ความคิดเห็นที่ 15
จาก คห.13
มีข้อสังเกต เรื่องความเชื่อที่แปลกๆ ของเถรวาท เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ว่า พระโพธิสัตว์ คือ
ผู้ที่ตั้งจิตจะบำเพ็ญตนเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แต่ไม่ว่าจะบำเพ็ญบารมี ฟังธรรมคำสั่งสอนมามากมาย
เท่าไหร่ ก็ไม่สามารถบรรลุเป็นพระอริยะได้เลย พระโพธิสัตว์จะฟังธรรมไม่เข้าใจเลยหรือ
พระโพธิสัตว์จะต้องกดข่มปัญญาไว้หรืออย่างไร
นั่นซิครับตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านได้พบพระพุทธเจ้า นับเป็นแสนๆพระ
องค์ได้ฟังธรรมบำเพ็ญบารมีมาเป็นล้านล้านชาตินับไม่ถ้วน ก็ไม่บรรลุธรรม
แต่พระ สมัยนี้ฟังธรรม(ศึกษาจากกลองอานกะ)ไม่กี่ปีก็บรรลุธรรม?มากมาย
น่าสงสาร ความเชื่อที่แปลกๆ ของเถรวาท เมื่อไรจะตื่นรู้สักที
-------------- ลองพิจารณาดูนะครับ ว่า ตอบข้อสงสัยได้หรือไม่
http://www.thepalicanon.com/91book/book79/201_250.htm
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 217
...
...
[๓๘] สัมมาสัมพุทธบุคคล บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม
ทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน
ธรรมนั้น และถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียก
ว่า พระสัมมาสัมพุทธะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 218
อรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัมมาสัมพุทธบุคคล. คำว่า "ปุพฺเพ
อนนุสฺสุเตสุ" ได้แก่ ในธรรมอันไม่เคยสดับมาก่อนในสำนักแห่งบุคคลอื่น
ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้สัจธรรมในปัจฉิมภพ. ก็ในภพก่อน ๆ แต่ภพนั้น
พระสัพพัญญโพธิสัตว์ ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เรียนพระไตรปิฎกทั้ง
๓ แล้วยกขึ้นสู่คตปัจจาคตวัตรคือ วัตรที่นำกรรมฐานไปและนำกลับมา เริ่ม
ตั้งกรรมฐานจนจดอนุโลมและโคตรภูญาณ. เพราะฉะนั้น คำว่า "สัมมาสัม-
พุทโธ" นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีใคร ๆ เป็นอาจารย์ในปัจฉิมภพ
คือภพสุดท้ายเท่านั้น.
จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้า ทรงตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ ด้วยพระองค์
เอง ด้วยญาณอันประจักษ์แก่พระองค์ว่า "อิท ทุกฺข ฯลฯ อท ทุกฺข-
นิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ ในสังขตธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้สดับมาในสำนัก
แห่งบุคคลอื่น เพราะความที่พระองค์เป็นผู้มีบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว. คำว่า
"ตตฺถ" ได้แก่ อรหัตมรรค กล่าวคือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔
นั้น. คำว่า "พเลสุ วสีภาว" ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในการ
ประพฤติพระสัพพัญญุตญาณ และทศพลญาณทั้งหลาย. ก็กิจอื่น ชื่อว่าควร
กระทำย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
และพระทศพลญาณ. เหมือนอย่างว่า. อิสริยยศทั้งหมดใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า
ชื่อว่า อิสริยยศนี้ ไม่มาถึงแก่ขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาติ จำเดิมแต่การได้อภิเษก
อิสริยยศนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติมาแล้วทั้งสิ้น ฉันใด ชื่อว่า คุณนี้อันใคร ๆ
ไม่ควรกล่าวว่า ไม่มาถึงแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่แทงตลอดแล้ว, และไม่ประจักษ์แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 219
อรหัตมรรค คุณคือพระสัพพัญญุตญาณแม้ทั้งปวง ชื่อว่ามาแล้ว พระพุทธเจ้า
ได้แทงตลอดแล้ว กระทำให้ประจักษ์แล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน.
คำว่า "อย วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ได้แก่ บุคคลผู้มีสัพพัญญูคุณ
อันแทงตลอดแล้วด้วยอริยมรรค โดยอานุภาพแห่งความสำเร็จแล้ว ด้วยบารมี
อันบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงเรียกว่า "สัมมาสัมพุทโธ".
จบอรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
[๓๙] ปัจเจกสัมพุทธบุคคล บุคคลผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ
เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรม
ทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู
ในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคล
นี้เรียกว่า พระปัจเจกสัมพุทธะ.
อรรถกถาปัจเจกสัมพุทธบุคคล
วินิจฉัย ในนิเทศแห่ง ปัจเจกสัมพุทธบุคคล. บัณฑิต พึงทราบเนื้อ
ความแห่งบทว่า "ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ" โดยนัยที่กล่าวไว้ในกาลก่อนนั่น
แหละ. แท้จริงพระปัจเจกพุทธเจ้า ในปัจฉิมภพ ก็ไม่มีใคร ๆ เป็นอาจารย์
ท่านแทงตลอดสัจธรรมทั้ง ๔ ด้วยอัตตุกกังสิกญาณ คือ ญาณที่รู้เฉพาะตน
เองนั่นแหละ แต่หาได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และ ทศพลญาณไม่.
จบอรรถกถาปัจเจกสัมพุทธบุคคล