|
. ๕. ธรรม ๕ คือ ๕. ๑ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5 ๕. ๒ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ (รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์) ๕. ๓ กามคุณ ((ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา) ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย (รูปะ สัททะ คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ) ๕. ๔ คติ (ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕ คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดา (นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย มนุสสะ เทวะ) ๕. ๕ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม (อาวาสมัจฉริยะ กุลมัจฉริยะ ลาภมัจฉริยะ วัณณมัจฉริยะ ธัมมมัจฉริยะ) http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มัจฉริยะ ๕. ๖ นีวรณ์ (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์ ๕. ๗ โอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอรัมภาคิยสังโยชน์&detail=on ๕. ๘ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุทธัมภาคิยสังโยชน์&detail=on ๕. ๙ สิกขาบท ๕ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา (ปาณาติปาตา เวรมณี, อทินนาทานา เวรมณี, กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี, มุสาวาทา เวรมณี, สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี) ๕.๑๐ อภัพพฐาน (ฐานะที่เป็นไปไม่ได้) ๕ คือ - พระภิกษุขีณาสพ (พระอรหันต์) จะไม่จงใจฆ่าสัตว์ - ... ไม่ลักทรัพย์ - ... ไม่เสพเมถุนธรรม - ... ไม่พูดเท็จทั้งรู้อยู่ - ... ไม่สะสมบริโภคกามเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ๕.๑๑ พยสนะ (วิบัติ) ๕ คือ ความวิบัติแห่งญาติ .. แห่งโภคะ ... เพราะโรค ... แห่งศีล ... แห่งทิฐิ ถ้าญาติเสื่อม โภคะเสื่อม เสื่อมด้วยโรค เมื่อตายแล้วไม่ต้องเข้าถึงทุคติ แต่ถ้าศีลเสื่อม ทิฐิเสื่อม เมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ ๕.๑๒ สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๕ คือ ความถึงพร้อมด้วยญาติ ... โภคะ ... ความไม่มีโรค ... ศีล ... ทิฐิ ความถึงพร้อมด้วยญาติ โภคะ ความไม่มีโรค เมื่อตายไปไม่ได้เป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติ ความถึงพร้อมศีล ทิฐิื เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ สัมปทาสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=3439
๕.๑๓ โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง คือ - ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะเป็นอันมาก - เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป - ไม่กล้า มีความเก้อเขินในการเข้าบริษัทใดๆ (ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท) - ตายอย่างหลงลืมสติ - เมื่อตาย ย่อมเข้าสู่ทุคติ ๕.๑๔ อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง คือ (ตรงข้ามกับข้อ ๕.๑๓) เวสารัชชกรณสูตร http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2923&Z=2941 ๙. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๔๑] http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=9#w
๕.๑๕ ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ (ผู้ฟ้องร้อง) ที่ประสงค์จะโจท (ฟ้องร้อง) ผู้อื่น พึงปฏิบัติดังนี้ - กล่าวในเวลาที่เหมาะสม - กล่าวด้วยถ้อยคำจริง - กล่าวด้วยถ้อยคำอ่านหวาน ไม่หยาบคาย - กล่าวด้วยถ้อยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ - กล่าวด้วยเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน ๕.๑๖ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง - เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง ฯลฯ - เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอันมีวิบากพอดี แก่ความเพียร - เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชน ทั้งหลาย - เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม - เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๕.๑๗ สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือพระอนาคามีและพระอรหันต์) ๕ ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุทธาวาส_5_(&detail=on
๕.๑๘ พระอนาคามี (ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก) ๕ คือ - อันตราปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง] - อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด] - อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก] - สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร] - อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ] http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนาคามี_5 ๕.๑๙ ความกระด้างแห่งจิต (กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู) ๕ อย่าง - ผู้ที่เคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร ฯลฯ คือ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบันได้ - ... พระธรรม ... คือสงสัยในในปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรมเช่น สงสัยว่า พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระพุทธพจน์นั้นมีอยู่หรือไม่ นิพพานมีอยู่หรือไม่ - ... พระสงฆ์ ... คือสงสัยว่า พระผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ พระผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ มีอยู่หรือไม่ - ... สิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา) ... คือสงสัยสัยว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา มีอยู่หรือไม่ - ผู้ที่มีจิตโกรธเคือง ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร ฯลฯ ๕.๒๐ ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง - ผู้ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร ฯลฯ - ... กาย ... - ... รูป ... - ผู้ที่บริโภคอาหารอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน ... - ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นเทพเจ้า ด้วยศีล พรต ตบะ พรหมจรรย์ ... ๕.๒๑ อินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์) ๕.๒๒ อินทรีย์อีก ๕ อย่าง คือ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา (สุขุนทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์) ๕.๒๓ อินทรีย์อีก ๕ อย่าง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์) http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5 ๕.๒๔ นิสสารณียธาตุ (ธาตุที่สลัด) ๕ คือ - หากมนสิการถึงกาม จิตย่อมไม่แล่นไป ฯลฯ แต่หากมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป ฯลฯ พ้นจากอาสวะอันมีกามเป็นปัจจัย ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น - ... ความพยาบาท ... ความไม่พยาบาท ... - ... ความเบียดเบียน ... ความไม่เบียดเบียน ... - ... รูป ... อรูป ... - ... กายของตน ... ความดับแห่งกายของตน ... ๕.๒๕ วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ คือ - พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม (อริยสัจ ๔) แก่ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นแล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์ ใจปีติ กายสงบ ได้รับสุข จิตย่อมตั้งมั่น - ... ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ - ... ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม ฯลฯ แต่ภิกษุสาธยายธรรม ตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ - ... ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม ฯลฯ ไม่ได้สาธยายธรรม ฯลฯ แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ฯลฯ - ... ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม ฯลฯ ไม่ได้สาธยายธรรม ฯลฯ และไม่ได้ตรึกตาม ฯลฯ แต่เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง มาดี ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ วิมุตติสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=461
๕.๒๖ สัญญาอบรมวิมุตติ (สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ) ๕ อย่าง - อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) - อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) - ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) - ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) - วิราคสัญญา (กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด)
๖. ธรรม ๖ คือ ๖. ๑ อายตนะภายใน ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖. ๒ อายตนะภายนอก ๖ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม ๖. ๓ วิญญาณ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ๖. ๔ ผัสสะ ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ๖. ๕ เวทนา ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ๖. ๖ สัญญา ๖ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ๖. ๗ สัญเจตนา ๖ คือ ความจงใจที่ยึดรูปเป็นอารมณ์ ... เสียง ... กลิ่น ... โผฏฐัพพะ ... ธรรม (รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา) ๖. ๘ ตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ๖. ๙ อคารวะ (ความไม่เคารพ) ๖ อย่าง คือ ไม่เคารพในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา ความไม่ประมาท การปฏิสันถาร ๖.๑๐ คารวะ ๖ คือ (ตรงข้ามกับข้อ ๖.๙) ๖.๑๑ โสมนัสสุปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๒. ได้ยินเสียงด้วยหู ... ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ... ๖.๑๒ โทมนัสสุปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส) ๖ อย่าง ๖.๑๓ อุเปกขูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา) ๖ อย่าง ๖.๑๔ สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) ๖ อย่าง ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ... ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ... ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ... ๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ที่ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ... ๖. มีอริยทิฏฐิ (สัมมาทิฏฐิในอริยมรรค) อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ (มรรค ๔) โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ... http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาราณียธรรม
๖.๑๕ มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง ๑. เป็นผู้มักโกรธ ฯลฯ ย่อมอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุเช่นนี้ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก ฯลฯ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุ แห่งวิวาทอันเลวทรามนั้นเสีย ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็น ฯลฯ พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งวิวาทอันเลวทรามอีกต่อไป ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ฯลฯ ๖.๑๖ ธาตุ ๖ อย่าง ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน] อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ] เตโชธาตุ [ธาตุไฟ] วาโยธาตุ [ธาตุลม] อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย] วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ๖.๑๗ นิสสารณียธาตุ (ธาตุที่สลัด) ๖ อย่าง ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาจกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา เราอบรมแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นพยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราอยู่ การกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะคำกล่าวเช่นนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ๒. ... เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณา ... วิเหสา (วิหิงสา ความเบียดเบียน) ก็ยังครอบงำจิต ... ๓. ... เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา ... อรติ (ความไม่ยินดี) ก็ยังครอบงำจิต .. ๔. ... เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา ... ราคะก็ยังครอบงำจิต ... ๕. ... เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิต ... วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ... ๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ (อัสมิมานะ) ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ (ไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นนี้) แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ... เมตตาสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6886&Z=6940
๖.๑๘ อนุตตริยะ ๖ อย่าง คือ การเห็น การฟัง การได้ (อริยทรัพย์ ๗ อย่าง) การศึกษา การช่วยรับใช้ การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม (ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ) http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุตตริยะ_6
๖.๑๙ อนุสสติฐาน (ที่ตั้งแห่งความระลึกถึง) ๖ อย่าง คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ศีล ทานที่ตนบริจาค เทวดา (พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ) http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุสติ มหานามสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6756&Z=6837
๖.๒๐ สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ)] ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้วย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๒. ฟังเสียงด้วยหู ... ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจ ... ๖.๒๑ อภิชาติ ๖ อย่าง ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ (ตระกูลต่ำ) ประสพธรรมฝ่ายดำ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว (ตระกูลสูง) ประสพธรรมฝ่ายขาว ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ๖.๒๒ นิพเพธภาคิยสัญญา (กำหนดหมายในญาณอันเป็นส่วนชำแรกกิเลส) ๖ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร] ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยงแห่งสังขาร] ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์] ๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๕. วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด] ๖. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]
(มีต่อ)
แก้ไขตาม #181, #184, #215
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 55 19:22:50
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 55 13:06:34
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 55 09:45:59
จากคุณ |
:
GravityOfLove
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ส.ค. 55 22:22:40
|
|
|
|
|