ความหมายของคำว่า อวด
http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp
อวด
ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น
อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง
ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมี
คุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
+++++++++
พระวินัยที่ใช้คำว่า อวดอุตตริมนุสสธรรมเช่น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=2512&Z=2540
[๒๔๗] ถามว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติเท่าไร?
ตอบว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓ คือ
ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาลามกครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๑
ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์เมื่อผู้ฟังเข้าใจความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑
เมื่อไม่เข้าใจความ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติเหล่านี้.
+++++++++++++
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=2658&Z=2891
[๒๙๑] ถามว่า ภิกษุกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่าภิกษุกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ต้องอาบัติ ๕ คือ
ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาลามกครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๑
+++++++++++++
พระวินัยที่ใช้คำว่า บอก อุตตริมนุสสธรรม เช่น
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=7468&Z=8399
๕๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง
คำว่า อวด หรือ บอก ในที่นี้ คือ การบอกให้ผู้อื่นได้ทราบ ด้วยการเอ่ยวาจา หรือแสดงให้เห็น ถ้าไม่อวด หรือบอก ผู้อื่นก็จะไม่ทราบว่า ตนมีคุณวิเศษ
ดังนั้น ในกรณี พระอรหันต์ในพุทธกาล ที่ผู้อื่นทราบจากได้ฟังพระพุทธเจ้าท่านรับรอง กรณีนี้ไม่เรียกว่า อวด หรือ บอก อุตตริมนุสสธรรม
แม้ภิกษุบอกคุณวิเศษแก่ภิกษุ ภิกษุณี ด้วยกัน ก็ไม่เรียกว่า อวด หรือ บอก
เพราะสิกขาบท ปรับอาบัติเมื่อเป็นโทษ ถ้าท่านบอกแก่อนุปสัมบัน
ว่าโดยเจตนา ภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษนั้น ท่านก็บอกแก่อุปสัมบันด้วยกัน ไม่ได้ประสงค์จะให้ภิกษุไปบอกต่อ เพื่อชมเชยกันเอง
ต่อมาคฤหัสถ์จะได้รู้ ก็รู้จากการชำระสังคายนาธรรม เป็นต้น ไม่ใช่รู้จากการบอกเล่าในลักษณะภิกษุกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมกันเอง อวยกันเอง อย่างเจาะจง
แต่ถ้าอวด หรือ บอกต่ออุปสัมบัน แต่หวัง ให้มีการบอกต่อไปยังอนุปสัมบัน
ก็ถูกปรับอาบัติเช่นกัน
มีกรณีพระพุทธเจ้า รับสั่งให้พระสาวกแสดงธรรมอันยิ่ง กรณีนี้มีหลายท่าน (พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระสาคตะ เป็นต้น) ก็ไม่ผิดเช่นกัน
(สังเกตว่า สองลิงค์แรก ท่านใช้คำว่า อวด ในการกล่าวถึงการแสดงคุณวิเศษให้ผู้อื่นทราบโดยไม่มีคุณวิเศษ นั้นจริงๆ
แต่ถ้าแสดงให้ผู้อื่นทราบโดยมีคุณวิเศษนั้นจริง (ลิงค์ที่3) ท่านใช้คำว่า บอก :ตั้งข้อสังเกตุโดยผู้โพส)
----------------------------------------