Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ภาษาคนภาษาธรรม ติดต่อทีมงาน

การอ่านหนังสือธรรมะ อันเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น มีคำศัพท์ที่ยาก ๆ อยู่มากมาย ที่ผู้เพิ่งศึกษาธรรมะอ่านเจอ
แล้ว มักจะงงหรือไม่เข้าใจ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือเข้าใจผิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เฉพาะบางคำที่มักเข้าใจผิด โดยนำไปปน
กับความหมายปัจจุบันของภาษาไทย

ทั่วไป- อารมณ์ หมายถึง ความรู้สึก เช่น อารมณ์ไม่ดี อารมณ์เสีย ไม่มีอารมณ์

ธรรมะ- อารมณ์ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบกับประสาทสัมผัสทั้งหกของเรา รูป แสง สี เสียง รส กลิ่น ความรู้สึกต่าง ๆ

เช่น

   ตาเห็นรูปอะไรก็ตาม รูปนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
   หูได้ยินเสียงอะไรก็ตาม เสียงนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
   จมูกได้กลิ่นอะไรก็ตาม กลิ่นนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
   ลิ้นได้ลิ้มรสอะไรก็ตาม รสนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
   กายของเรา(หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเช่นมือ) ถูกต้องสัมผัสกับสิ่งของอะไรก็ตาม สิ่งของนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
   ใจของเรารับรู้ถึงความรู้สึกอะไรก็ตาม (เช่น ดีใจ เสียใจ เบื่อ สนุก ฯลฯ) ความรับรู้นั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์

ทั่วไป- เวทนา (เวดทะนา) หมายถึง สลดใจ สงสาร เช่น น่าเวทนา

ธรรมะ- เวทนา (เวทะนา) หมายถึง ความรู้สึก เวทนาทางกาย เช่น รู้สึกร้อน หนาว เจ็บ
         คัน แสบ ฯลฯ เวทนาทางใจ เช่น สบายใจหรือสุขใจ ไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ และ เฉย ๆ ใจไม่สุข ไม่ทุกข์

ทั่วไป- สัญญา หมายถึง การนัดหมาย การตกลงกันระหว่างสองฝ่าย เช่น ไม่รักษาสัญญา ผิดสัญญา

ธรรมะ- สัญญา หมายถึง ความจำได้ เช่น เห็นโทรทัศน์ รู้ว่าคือโทรทัศน์ ..
          รู้ว่านี่เรียกว่าเค็ม นี่เรียกว่า ร้อน ฯลฯ


ทั่วไป- สังขาร หมายถึง ร่างกาย เช่น ละสังขาร ไม่เจียมสังขาร

ธรรมะ- สังขาร หมายถึง ความคิด ความนึกคิด ความตรึกตรอง การจินตนาการ
          คิดดีคือสังขารดี คิดชั่ว คือสังขารชั่ว คิดมากคือสังขารมาก คนมีความคิดสร้างสรรค์ คือคนเก่งทางสังขารนั่นเอง

ทั่วไป- วิญญาณ หมายถึง ร่างกายของผู้ที่ตายไปแล้วแต่ยังไม่ไปเกิดใหม่ ร่างกายผี

ธรรมะ-วิญญาณ หมายถึง ความรับรู้ ความรู้อารมณ์ เช่น

   ประสาทตาสัมผัสกับรูป เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า เห็น)
   ประสาทหูสัมผัสกับเสียง เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า ได้ยิน)
   ประสาทจมูกสัมผัสกับกลิ่น เกิดความรับรู้ (ที่เรียกว่า ได้กลิ่น)
   ประสาทลิ้นสัมผัสกับรส เกิดความรับรู้ (ที่เรียกว่า รู้รส)
   ประสาทกายสัมผัสกับวัตถุสิ่งของ เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า ถูกต้องสัมผัส)
   ประสาทใจสัมผัสกับอารมณ์ละเอียด (ธรรมารมณ์) เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า รู้สึก) เช่น รัก เกลียด
เบื่อ เศร้า ขำ รังเกียจ อาย โกรธ อยาก...ฯลฯ

ความรู้ทั้งหมดนี้แล เป็นวิญญาณ


แสงเทียน

แก้ไขเมื่อ 16 ก.ค. 55 11:44:53

จากคุณ : Faraday
เขียนเมื่อ : 16 ก.ค. 55 11:38:23




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com