Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
@@@@@@@@@@@ ความหมายของ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม @@@@@@@@@@@@@@@@@@@ ติดต่อทีมงาน

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

            คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
                เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม

                   เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
        มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน

http://www.buddhism-online.org/pdf/section1.pdf  

                         ความหมายของ บัญญัติธรรม

บัญญัติธรรม

คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน
เช่น
ชื่อ นายมี นางมา
สีเขียว สีแดง
ทิศเหนือ ทิศใต้
วันจันทร์ วันอังคาร
เดือน ๘ เดือน ๑๐
ปีชวด ปีฉลู
เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น.
พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี
เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท
ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้าหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่

ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม

แม้แต่
ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้า ช้อน ชาม พัดลม วิทยุ เกวียน เรือ รถยนต์ คน และสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ก็จัดเป็นบัญญัติธรรม เช่นกัน



                  ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ

หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน

แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า พื้นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ คือเป็นแต่เพียงสภาวะที่เกิดจากการประชุมกันของมหาภูตรูปทั้ง ๔๔ อันเป็นรูปธรรม(รูป) ที่ปราศจากนามธรรม(จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์(ปรมัตถธรรม) ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติโดยสิ้นเชิง

ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น

                         ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้นคือ

๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ

เราก็มี จิต เจตสิก รูป
เขาก็มี จิต เจตสิก รูป
สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป
จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจาแนกให้ แตกต่างกันด้วยอานาจของกรรมที่กระทาไว้ในอดีต

                 จิต+เจตสิก และรูป มีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการคือ
๑. อนิจจลักษณะ คือมีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
๓. อนัตตลักษณะ คือมีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

                สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า ไตรลักษณ์

                โดยสรุปแล้ว จิต+เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็น สัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย
                 เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบที่
มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับแสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง)
เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่นเป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา

แต่เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธองค์เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนามาเปิดเผยให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น
(หากต้องการทราบเนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรมทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษา พระอภิธรรมโดยละเอียดต่อไป)

...
...
...
...
...
--------------------------------------------------------------------------------------

จากคุณ : วงกลม
เขียนเมื่อ : 18 ก.ค. 55 15:28:20




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com