 |
ผู้มีพลังอำนาจมากกว่า พระเจ้า พระพุทธเจ้า ซาตาน เทพหรือปิศาจใดๆ คือใคร
------------------ ไม่มีผู้มีพลังแบบนั้นครับ
ความเห็นส่วนตัว เห็นว่า มีสิ่งที่มีอยู่ ตลอดกาลนาน แต่ไม่ใช่บุคคล คือ
1.สิ่งที่มีเหตุปัจจัยทำให้เกิด และ กฏที่ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยนั้น 1.1 สังสารวัฏ ************************************************************************ ....สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4730&Z=5111 ************************************************************************ 1.2 ธัมมนิยาม คือ กฏธรรมชาติ ได้แก่ 1.2.1 กฏปฏิจจสมุปบาท http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=590&Z=641&pagebreak=0
1.2.2 กฏไตรลักษณ์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?book=1&bookZ=45&name=อุปปาทสูตร&book=20&bookZ=20
2. สภาวะนิพพาน คือ สภาวะสงบสันติที่มีอยู่แล้ว ไม่มีปัจจัยทำให้เกิด แต่มีวิธีปฎิบัติเพื่อให้บรรลุถึง
--------------------------------------------------------------------------------------- http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=27 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) [27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana) 1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining) 2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)
หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า 1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements) 2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates) หรือ 1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่ 2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.
อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า 1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ 2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ --------------------------------------------------------------------------------------- *************************************************************************
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ได้ชอบโดยพระองค์เอง พระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พระองค์นั้น
*************************************************************************
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=3977&Z=3992
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ ๑. นิพพานสูตรที่ ๑
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้- *มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ จบสูตรที่ ๑
************************************************************************
************************************************************************ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5219&Z=5241&pagebreak=0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๖. อชาตสูตร
[๒๒๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้ มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น แล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ ในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น แล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่ ฉะนั้นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติ ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัย ทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและ มรณะ เป็นรังแห่งโรค ผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็น แดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาตินั้น การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ความดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับ เป็นสุข ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๖
**********************************************************************
แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 55 13:45:38
จากคุณ |
:
วงกลม
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ก.ค. 55 13:43:21
|
|
|
|
 |