ผ้าป่า คือผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง โดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป ในสมัยพุทธกาลผ้าหายาก ภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง ตามทางเดินในป่าบ้างมาทำจีวรนุ่งห่ม คนใจบุญสมัยนั้นจึงนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางที่พระเดินผ่าน ทำนองว่าทิ้งแล้วพระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวร โดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของ ผ้าชนิดนั้นเลยเรียกว่า ผ้าป่า
กฐิน เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้
บังสุกุล เป็นผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาดหรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนาเพราะสกปรก เพราะในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส
ปัจจุบัน... ทำถูกต้องน้อยมาก ทำไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่..
ทำเป็นพุทธพาณิชย์ก็มีเยอะ... เช่นพวกแจกซองกฐิน-ผ้าป่า เรี่ยรายหาเงินหาทอง..
ในสมัยพุทธกาลเน้นเรื่องการถวายผ้าแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มีจีวรเก่าชำรุด เพื่อจะได้นำมาใช้ทดแทนของเก่า แต่ปัจจุบันกลายเป็นการแสวงหาเงินหาทอง แต่ละวัดที่ทอดกฐินจะหาเงินเข้าวัดครั้งละเป็นล้าน หรือหลายๆ ล้านบาท.. ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของพระพุทธองค์ในการอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้
ส่วนผ้าป่า ในสำนักสงฆ์ หรือวัด สายพระป่า จะมีญาติโยมนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นผ้าป่า...เพื่อให้พระท่านมาชักไปทำประโยชน์เองก็ยังพอมีให้เห็น
ผ้าป่า ที่จัดกันเป็นเรื่องใหญ่โตก็มีไม่น้อย มีการเรี่ยรายทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งการทอดผ้าป่าทอดได้ทั้งปี บางวัดก็จัดทอดผ้าป่ากันแทบจะทุกเดือน หรือเดือนละหลายๆ ครั้ง
ส่วนผ้าบังสุกุลนั้น ก็จะใช้กันเฉพาะในงานศพเป็นหลัก... โดยเฉพาะตอนจะเผาศพ ก็มีการถวายผ้าบังสุกุล นิมนต์พระไปชักมาจากหน้าศพ... ดูแล้วก็เพี้ยนๆ ไปจากการที่พระต้องไปนำผ้าห่อศพที่เปื้อนน้ำเลือดน้ำหนองของศพมาใช้ เพราะผ้าบังสุกุลที่ถวาย ไม่ใช่ผ้าห่อศพ... แต่เป็นผ้าใหม่ ที่เย็บ ย้อมมาอย่างงดงามปราณีต.. ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผิดหรือถูก...
................._/|\_.........._/|\_..........._/|\_..............