เข้ามาคั่นรายการ คล้ายๆ 228 แต่เนื้อหาที่คั่นรายการอาจแตกต่างกัน
ในโอกาสนี้ ก็ขอ อนุโมทนากับหลายๆท่าน
ที่แสดงตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน เป็นพุทธมามกะ
ช่วยกันทำหน้าที่ปกป้อง(ทำหน้าที่เหมือนผ้าขี้ริ้ว ที่คอยเช็ดกวาด ปัด ถู)
สิ่งปลอมปนในพระธรรมคำสอนออกไป
ให้ความบริสุทธิ์ของธรรม ของพระพุทธศาสดา ให้คงอยู่ดังเดิม
ท่านรู้ไหมว่า พุทธศาสนิกชน(ผู้นับถือพระพุทธศาสนา)
และ บางท่านที่เป็นพุทธมากมกะ(ผู้มีพระพุทธศาสนาเป็นที่รัก) นั้น
มีหน้าที่อะไรบ้าง
พุทธมามกะมีอะไรเป็นที่พึ่ง ใช่ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้หรือไม่
พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ประกาศตนเป็นชาวพุทธ นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึง
แล้วปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
รัตนตรัย หมายถึงอะไร ผมคงไม่ต้องเขียนให้เฟ้อในที่นี้
1 ในพระรัตนตรัย คือ พระธรรม
เราผู้เป็น พุทธศาสนิก และหรือ พุทธมามกะ เล่าเรียนธรรมของใคร
เรียนธรรมของพระพุทธศาสดา ผ่านการสืบทอดมาจากพระไตรปิฏกเถรวาท
หรือว่า มุ่งเรียนธรรม จากพระเถระ
ที่อ้างว่า อ่านพระไตรปิฏกมามาก บวชมานาน(บวชเพื่อขโมยธรรม)
เขียนหนังสือไม่อิงอรรถไม่อิงธรรม
(เพราะถ้าอิงธรรมอิงวินัยตามพระไตรปิฏกแล้ว ก็จะเข้ากันไม่ได้กับทิฏฐิของตน)
การบวชเพื่อขโมยธรรม เป็นไฉน
เรื่องเคยมีมาแล้วในครั้งพุทธกาล ยกตัวอย่างดังนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. สุสิมสูตร
...ฯ
[๓๐๒] พ. ดูกรสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้มีอยู่
ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่ ฯ
ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึงข้าพระองค์
เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่ไม่ฉลาด
ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้วอย่างนี้
ขอพระผู้มีพระภาคจงรับโทษไว้โดยความเป็นโทษ
เพื่อความสำรวมต่อไป ของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ฯ
...ฯ
.....
ศึกษาอรรถกถาเพิ่มเติม เรื่องขโมยธรรม ดังนี้
บทว่า เอหิ ตฺวํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
พระสมณโคดมอาศัยชาติและโคตรเป็นต้น
ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภก็หาไม่
ที่แท้ทรงเป็นยอดกวี ผูกคัมภีร์คำร้อยกรองประทานแก่พระสาวก
เพราะทรงเป็นยอดกวี
พระสาวกเหล่านั้นเรียกคัมภีร์นั้นหน่อยหนึ่งแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า
อุปนิสินนกกถาบ้าง อนุโมทนาบ้าง สรภัญญะบ้างแก่อุปัฏฐากทั้งหลาย
อุปัฏฐากเหล่านั้นก็น้อมนำลาภเข้าไป.
ถ้าพวกเราพึงรู้อย่างละหน่อยๆ จากสิ่งที่พระสมณโคดมรู้
เราพึงใส่ลัทธิของตนในคัมภีร์นั้น กล่าวแก่อุปัฏฐากทั้งหลาย
ต่อแต่นั้นเราพึงเป็นผู้มีลาภมากกว่าสาวกเหล่านั้น
ใครเล่าจักบวชในสำนักพระสมณโคดมแล้ว สามารถเรียนได้ฉับพลันทีเดียว.
ปริพาชกเหล่านั้นคิดอย่างนี้แล้ว เห็นว่าสุสิมะเป็นผู้ฉลาด
จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวอย่างนั้น.
.........
จากคำว่า
เราพึงใส่ลัทธิของตนในคัมภีร์นั้น
ผมแปลความหมายของพระนักเขียนในยุคสมัยนี้
ที่เขียนเรียบเรียงหนังสือ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย
หรือิงก็น้อยมาก ตรงไหน ที่ตนไม่เห็นด้วย ก็ไม่นำพุทธพจน์มาอ้างอิง
แต่จะกล่าวเพียงลอยๆว่า พระพุทธองค์สอนว่า.....เป็นต้น
นี้ก็เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์
แล้ว ยัดไส้ ความคิดเห็นของตนเข้าไป ให้ขัดแย้งกับพุทธพจน์
จะด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม (ผู้ไม่ทราบ ก็ย่อมเห็นคล้อยตาม)
(ตามเนื้อความที่อ้างอิงพระไตรปิฏก เรื่อง นักบวช สุสิมะนั้น เพื่อ หวัง ลาภ )
จะด้วยหวังลาภ หรือไม่ก็ตาม
จะด้วย ให้เห็นว่า ความเห็นตนนั้น ถูกต้องยิ่งกว่า พุทธพจน์ !! ?? ก็ตาม
จะด้วยเห็นว่า ความเห็นของตนถูกต้องกว่า พระไตรปิฏกเถรวาท ก็ตาม
จะด้วยเห็นว่า บางเรื่องนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเอออวย ผู้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ก็ตาม
การกระทำเช่นนี้ ผมเห็นว่า
เป็นการกระทำที่ไม่ใช่ นักบวช ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
คงคล้ายกับ นักบวช พุทธศาสนา ลัทธิ อื่นๆ
ดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ในภาคพื้นเอเซีย
...........
สำหรับผู้ที่มีประสงค์เรียนธรรม และ อ้างว่า มีเวลาน้อย จึงเลือกอ่านจาก
งานเขียนของพระรูปนี้ๆ ..เป็นต้นนั้น
นี้ เป็นสิทธิของท่านที่พึงกระทำได้ ผมไม่อาจเปลี่ยนท่านได้
แต่ก็ด้วยใจหวังว่า อาจมีผู้อื่น ที่พอจะเข้าใจสิ่งที่ผมสื่ออยู่นี้
จะได้เดินทางเข้าคบหา กัลยณมิตร
พบพระธรรมของสัตบุรุษ เพื่อความก้าวล่วงแห่งทุกข์ได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ของผมเอง กับการเสียเวลา ในการอ่านธรรมจากสำนักต่างๆ
กว่าจะรู้ตัวว่า เราหลงทาง เล่าเรียนธรรม จากสำนักที่ผิด ก็ใช้เวลาหลายปี
ต่อเมื่อพบพระผู้ไม่อวดตัวตนหลายรูป
ได้แนะนำผมว่า อย่าอ่านแต่งานเขียนของอาตมา
ขอให้อ่านเพิ่มจากพระไตรปิฏก
นอกจาก ดังที่เคยยกตัวอย่าง ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต
ก็มีพระรูปอื่น แนะนำผมเช่นนี้อีกเช่น
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์
พระอาจารย์มาณพ อุปสโม สำนักปฏิบัติธรรมเขาดินหนองแสง
..ฯลฯ เป็นต้น
หลงทาง(อ่านธรรมผิด)ก็เสียเวลา อาจทำให้เนิ่นช้า
เข้าใจธรรมอย่างถ่องแท้แม้เพียงบทเดียว ก็ยังเป็นผลดี
........
ผมยังมีปรกติกราบไหว้ รูปปั้น(ตัวแทน) ท่านพระพุทธทาสได้อย่างปกติ
แต่ก็เพื่อสื่ิอไปถึงว่า ท่านเคยเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา เท่านั้น
แต่ไม่อาจเล่าเรียนธรรม ที่ท่านเขียน ได้อย่างสนิทใจ
เต็มไปด้วยความระแวงสงสัย ว่า
ตรงไหนหนอ พุทธพจน์
ตรงไหนหนอ ความเห็นยัดไส้ของท่าน
แนะนำว่า ..ใช้เวลาไม่มาก เพื่อการศึกษา จากพระไตรปิฏก ในเรื่องเหล่านี้ คือ
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร
อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท อานาปานสติ
สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ สัมมัปธานสูตร ๔ อินทรีย์ ๕ พละ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค ๘
เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ เพื่อการดับทุกข์
ผู้ที่ศึกษาเพียงเรื่องเหล่นี้ แล้วก้าวล่วงจากทุกข์ไปได้นั้น
ก็ต้องสะสม ปัญญาบารมีไว้มากพอ
ส่วนผมเอง แรกๆ ก็ศึกษาเพียงเรื่อง ที่ยก มาข้างบน
แต่ก็ไม่อาจเข้าใจลึกซึ้งได้
จึงต้องใช้เวลา อ่านศึกษา เรื่องราวต่างๆมากยิ่งขึ้น เท่าที่เวลาอำนวย
พร้อมคู่กับการปฏิบัติ
ผลที่เห็นชัดเจน ความโกรธ หายไป ความพยาบาท หายไป
เมื่อศึกษาเรื่องเหล่านี้ ผู้ที่ศึกษาที่เข้าใจตามนี้
ผมเชื่อว่า ท่านจะไม่ก้าวล่วง พุทธพจน์บทอื่นๆที่มีในพระไตรปิฏก
(ที่ท่านยังไม่ได้อ่าน)
............
ส่งท้ายด้วยให้กำลังใจ คุณเอิงเอย
แม้จะถูกเรียก ด้วย บัญญัติสมมติต่างๆ
จะสุภาพ หรือไม่สุภาพ จากใครก็ตาม
เราก็คงเป็น นามสมมติ เอิงเอย อยู่เช่นเดิม
วันนี้ แม้ความจริง คุณเอิงเอย ยังไม่ใช่หญิงแก่(ทางรูปกาย)
แต่ก็ แก่ด้วย ภูมิ "ค้นคว้าธรรม" ไม่ใช่ อ่อน หรือ ละอ่อน ในธรรม
ครั้งพุทธกาล ก็ด้วยหญิงวิสาขา (ตอนนั้นไม่ทราบว่าเป็นหญิงแก่หรือไม่)
ได้เป็นพุทธบริษัท อุบาสิกา คนสำคัญ ที่ช่วยปกป้องพระพุทธศาสนา
ช่วยรักษาพระวินัย (มีสิกขาบทเพราะการทูลเรื่องราวของนางวิสาขาหลายข้อ)
..........
ผู้มืดบอด
แม้สนทนาภาษาธรรม ที่ดี แล้ว เขาก็ไม่เข้าใจ
แม้สนทนา ภาษา ทั่วไป แล้วก็ยังไม่เข้าใจ
แม้สนทนา ภาษา แบบคนคุมสถานบริการ แล้วเขาก็ยังไม่เข้าใจ
แม้สนทนาด้วยภาษาใดๆ เขาก็ไม่เข้าใจ
เพราะเขามืดบอดเสียแล้ว
....................
การรักษาคำพูด เป็นธรรมข้อหนึ่งในการก้าวสู่ สัตบุรุษ
ขอให้ชาวพุทธ มีจิตใจที่ดีงามต่อกัน
ช่วยกันรักษา พระพุทธศาสนา ช่วยกันรักษาพุทธพจน์
ช่วยกันรักษาคำสอนของพระองค์ให้สืบทอดยาวนานสืบไป.
...........
ธรรมสวัสดี