 |
จขกท มีความคิดอย่างนี้
ก. ทำทานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี = ดาวดึงส์ ข. มฆมาณพและสหายได้อยู่ชั้นดาวดึง์
ก. กับ ข. รวมกันเท่ากับ "มฆมาณพและสหาย ทำทานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี"
พอได้ความคิดอย่างนี้ เอาไปเทียบกับทานสูตร ก็เลยรู้สึกว่าไม่เข้ากันสนิท ----------------
ความคิดข้างบนของจขกท อาจจะถูกก็ได้ ผมก็ไม่มีความรู้พอจะฟันธงเด็ดขาด แต่ว่า ถ้าลองคิดแหวกไปในทางว่า มฆมาณพและพวก อาจจะไม่ได้ทำทานด้วยเหตุว่าเห็นเป็นสิ่งที่ดี (เพียงอย่างเดียว) ก็ได้ อย่างนี้ล่ะ
ในตำราอรรถกถาที่เล่าประวัติของมฆมาณพ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=7
มีข้อความที่แสดงถึงความคิดของมฆมาณพที่น่าสนใจ เช่น
- “ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ได้รับสุขแล้ว, กรรมนี้พึงเป็นกรรมให้ความสุขแก่เรา”
- “ชื่อรัมณียสถาน เป็นที่รักของคนทั้งปวง, ชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใครๆ ไม่มี, จำเดิมแต่นี้ไป เราควรเที่ยวทำหนทางให้ราบเรียบ”
- ภายหลัง บุรุษอีกคนหนึ่งเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า “ทำอะไรเล่า? เพื่อน.” มฆะ. ฉันทำหนทางเป็นที่ไปสวรรค์ของฉันละซิ, เพื่อน. บุรุษ. ถ้ากระนั้น แม้ฉันก็จะเป็นเพื่อนของท่าน. มฆะ. จงเป็นเถอะเพื่อน ธรรมดาสวรรค์ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก.
- มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่ชนที่เหลือทั้งหลายว่า “สหายทั้งหลาย เว้นเมตตาเสีย ที่พึ่งอย่างอื่นของพวกเรา ไม่มี, ท่านทั้งหลายไม่ต้องทำความโกรธในใครๆ จงเป็นผู้มีจิตเสมอเทียวด้วยเมตตาจิต ในพระราชา ในนายบ้าน ในช้างที่จะเหยียบ และในคน”
ผมอ่านแล้วเข้าใจอย่างนี้ว่า เจตนาในการทำทานของมฆมาณพ ดูเหมือนจะไม่ได้มีเจตนาแบบเดียว คือ ความคิดหวังผลจากทานก็มี ความคิดหวังดีกะคนก็มี แม้แต่เมตตาที่อาจพาเป็นพรหมก็มี
พอรวมๆ กันเสร็จ (เหมือนเฉลี่ยผลคะแนน?) ผลลัพธ์เลยออกมาที่ ดาวดึงส์
จากคุณ |
:
ปล่อย
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.ค. 55 14:21:06
|
|
|
|
 |