 |
3. P.U.L.O: องค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือ องค์การสหปัตตานีเสรี
โจรก่อการร้ายองค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานี หรือ Pattani United Liberation Opqanization : P.U.L.O. หรือ Pertubohan Persatuan Pembebasan : P.P.P.P. เมื่อประมาณ พ.ศ.2505 มีชาวมุสลิมประมาณ 2,000 คน ซึ่งเดินทาง จากประเทศไทย และมาเลเซียไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะประเทศซาอุดิอารเบีย ได้ประชุมจัดตั้งสมาคมขึ้น 2 สมาคม คือ สมาคมนักศึกษาหนุ่ม (อาดู) มีชาวไทยมุสลิมเป็นประธาน และเลขาธิการ และสมาคมปัตตานีรวมซาอุดิอารเบีย มีชาว
ซาอุดิอารเบีย เป็นประธาน และชาวมาเลเซียเป็นเลขาธิการ ได้กำหนดนโยบายเพื่อแบ่งแยกดินแดน 4 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ของไทยทั้งโดยสันติวิธี และใช้กำลังอาวุธ จนกระทั่ง พ.ศ.2511 จึงมีการรวมตัวกันระหว่าง 2 สมาคมข้างต้นเป็นผล สำเร็จ และตั้งชื่อใหม่ว่า Pattani United Liberation Organization: P.U.L.O. หรือ Pertu Bohan Persatuan Pembebasan Pattani : P.P.P.P. มีตวนกูบีรอ กอตอนีรอ หรือกูบีรอ ณ วังคราม เป็นประธาน สมาชิกส่วนใหญ่เมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศไทย
ได้ทำการเคลื่อนไหวในรูปกลุ่มพลังมวลชน มีการเดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง โดยเฉพาะระหว่าง 18 ธ.ค.2518 - 14 ธ.ค.2519 ที่ จังหวัดปัตตานี ประธานของขบวนการคือ หะยียูโซ๊ะ บินสุหลง หรือหะยี่ยูโซ๊ะ ปากีสถาน ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวทางด้านการ เมืองการทหารทั้งในประเทศไทย และมาเลเซีย
4.GMIP: กลุ่มโจรมิจฉาชีพมูจาฮีดินอิสลาม ปัตตานี
GERAKAN MUJAHIDIN ISLAM PATANI มีความเป็นมาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคพวกโจรก่อการร้ายหลายกลุ่มหลายขบวนการ ที่เคยปฏิบัติการเคลื่อนไหวมาในอดีต แต่ภายหลังได้ยุติการเคลื่อนไหวหรือลดบทบาทลง ซึ่งแกนนำหลักของกลุ่มเชื่อว่าประกอบ ด้วย แนวร่วมมูจาฮีดินปัตตานี ( BARISAN BERSATU MUJAHIDIN PATANI – BBMP ) และขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี ( GERAKAN MUJAHIDIN PATANI – GMP) โดยแนวร่วมมูจาฮีดินถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งมีบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีแนวความ
คิดที่จะร่วมขบวนการต่างๆ ที่ปฏิบัติการล้มเหลวและขาดเอกภาพให้สามารถรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวและมีความเข้มแข็ง ตลอดจนมีวัตถุ ประสงค์ที่เด่นชัดเหมือนกันในการปลดแอก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชากรส่วนใหญ่มีศรัทธานับถือศาสนาอิสลาม และสถาปนา อาณาบริเวณนี้เป็นรัฐอิสระ เรียกว่า “ รัฐปัตตานี ” ดารุลมุอารีพ ยึดถือหลักการต่อสู้เพื่อพิทักษ์และดำรงความเป็นธรรมตามแนว ทางศาสนาอิสลาม หรือนัยหนึ่งคือหลักจีฮัด ( JIHAAD ) มีศูนย์การปฏิบัติการอยู่ในเมืองโกตามารู รัฐกลันตัน
5. BERSATU: แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี
BARISAN BERSATU KEMERDEKAAN PATANIเป็นกลุ่มโจรก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินการต่อสู้เพื่อปลดปล่อย 5 จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ในห้วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลว และมีสภาพที่อ่อนแอลง ดังนั้นโจรก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ จึงมีแนว คิดในการรวมตัวให้เป็นเอกภาพในการเคลื่อนไหว แต่ไม่เคยบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือจาก กลุ่มอนุรักษนิยมมาเลเซียตะวันออก เพื่อให้เป็นเพียงต้นแบบในการปฏิวัติแยกดินแดน แต่ยังขาดความเชื่อมโยงให้เป็นระดับสากลกับ
การก่อการร้ายมุสลิม เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียเองก็ตระหนักถึงภัยของการแยกดินแดนของกลุ่มอนุรักษนิยมมุสลิมในมาเลเซียตะวันออก ซึ่งอาจจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มก่อการร้ายสากล การรวมตัวขององค์กรและขบวนการ 4 กลุ่มประกอบด้วย BIPP, BRN-CONGRESS, GMP และ NEW PULO ซึ่งเกิดจากมติของการประชุมที่เรียกว่า “ การประชุมบรรดานักต่อสู้เพื่อปัตตานี ” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 ให้จัดตั้งองค์การร่วมหรือองค์การปายง (UMBRELLA ORGANIZATION) อันมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างเอกภาพและดำเนินการให้เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน
กล่าวได้ว่าการก่อตัวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนและการก่อการร้ายของขบวนการต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสาเหตุมาจากพื้นฐาน ทางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองมลายูในอดีต นโยบายของรัฐที่นำมาใช้ในพื้นที่มีส่วนสร้างความรุนแรง ประกอบ กับข้าราชการในพื้นที่ที่มีความหวาดระแวงต่อชาวมุสลิมและไม่มีความเข้าใจในวิถีชีวิตของประชาชน ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ขบวนการแบ่ง แยกดินแดนและขบวนการต่างๆ เติบโต และได้รับการสนับสนุนจากมวลชนในระดับที่กว้างขวางมากขึ้น --------------------------------------------------------------------------------------------- ที่มา
ชัยวัฒน์ สถาอนันท์. ความรุนแรงกับการจัดการความจริง: ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
ชัยวัฒน์ สถาอนันท์ (บรรณาธิการ), แผ่นดินจินตนาการ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
นิธิ เอียวศรีวงศ์, (บรรณาธิการ). มลายูศึกษา: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550. (ความรู้เที่ยงคืนชุดที่ 4).
พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และอัจฉราพร กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชื่อพระศรีอาริย์” และกบฏผู้มีบุญ” ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์ จำกัด, 2527.
เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร.หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์. กบฏหรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ: มติชน. 2547.
ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลไทยต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2475-2516). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
วรมัย กบิลสิงห์. ดุซงญอ 2491 ถึงตากใบวิปโยค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน, 2548.
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. สันติภาพในเปลวเพลิง. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุกส์. 2547.
อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง. ดูซงญอ ฤๅคือกบฏ. ทางนำ. ตุลาคม 2543. หน้า 7.
อิบรอฮิม ชุกรี. ประวัติราชอาณาจักรมลายูปัตตานี แปลและเรียบเรียงโดย หะสัน หมัดหมาน มะหามะซากี เจ๊ะหะ และ ดลมนรรจ์ บากา. ปัตตานี: โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี. 2541 หน้า 53-54.
อิมรอน มะลูลีม. วิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับมุสลิมในประเทศ: กรณีศึกษากลุ่มมุสลิมในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ. อิสลามิคอะคาเดมี. 2538. หน้า 161.
ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ และชัยวัฒน์ สถาอนันท์. ภูมิหลังชาวมุสลิมในประเทศไทย /ปัญหาอิสลามในสี่จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ : สถาบัน ไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ และชัยวัฒน์ สถาอานันท์. สี่จังหวัดภาคใต้กับปัญหาสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ, สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2527.
สุพจน์ แจ้งเร็ว, ผู้แปล. บทเรียนจากประวัติศาสตร์: ฮัจญีสุหลงกับจังหวัดมุสลิมภาคใต้, แปลจาก Lesson from History: Hajji Sulong and the Muslim Provinces of the South. ผู้เขียน Dr. James Ockey, Senior Lecturer, Department of Political Science University of Canterbury, New Zealand. ใน เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร.หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์. กบฏหรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547.
จากคุณ |
:
Faraday
|
เขียนเมื่อ |
:
วันอาสาฬหบูชา 55 16:38:28
|
|
|
|
 |