 |
เทศกาลกินเจนี่ มีเป็นล่ำเป็นสันก็แต่ในเมืองไทยนี้แลครับ แทบไม่พบในชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลอื่นๆ
ลองย้อนจากตำนานการกินเจของจังหวัดทางภาคใต้ดู จะพบว่าอย่างตำนานของภูเก็ตนี่ มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูเก็ตโดยแท้เลยครับ ที่เล่ากันว่า " มีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้นานเป็นแรมปี แล้วบังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจและสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็หายสิ้น ชาวกะทู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงปฏิบัติตาม และหลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์ตามแบบประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) ในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน"
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่า การกินเจอาจจะเป็นประเพณีย่อยๆ ที่ชาวจีนทางใต้อย่างคนฮกเกี้ยนบางกลุ่ม และชาวแต้จิ๋วถือปฏิบัติกันมาครับ (นั่นทำให้ตำนานการกินเจแตกแขนงออกไปสารพัดสารเพ ตามแต่ละท้องถิ่นจะเชื่อถือกัน) มันอาจจะจำกัดอยู่ในวงแคบมาก และน่าจะเป็นพวกธรรมเนียมของสมาคมลับหรืออั้งยี่สารพัดกลุ่มเสียมากกว่า
พอพวกเขาอพยพมาอาศัยในเมืองไทย ก็พัฒนาระบบความเชื่อนี้จนกลายเป็นประเพณีขึ้นมา นั่นทำให้เราแทบไม่พบหลักฐานประเพณีการกินเจในคนจีนถิ่นอื่นๆ
เดิมคนจีนส่วนใหญ่ในไทยก็กินเนื้อกันทั้งนั้น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย เกาเหลาเนื้อเปื่อย ก็เป็นอาหารจีนทั้งสิ้น เมื่อก่อนถ้าเป็นลูกชิ้นแล้วก็ต้องเป็นเนื้อวัว ลูกชิ้นเนื้อหมูไม่มีใครทำ ก๋วยเตี๋ยวเืรือสมัยก่อนก็ต้องเป็นเนื้อวัว ถ้าใช้เนื้อหมูผมจะไม่กินเลย
เริ่มมาระยะหลังคนที่ไหว้เจ้าแม่กวนอิมมีมากขึ้น เลยไม่กินเนื้อกันมากขึ้น จนบางคนแม้ไม่ได้ไหว้เจ้าแม่กวนอิมอย่างจริงจังก็ไม่กินตามไปด้วย บางคนไม่เคยกินหรือไม่ได้กินนาน ๆ ก็จะไม่ชอบเนื้อ เพราะเนื้อมีกลิ่นสาบเฉพาะตัว
ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าห้ามการกินเนื้อวัว แต่เจ้าแม่กวนอิมเป็นพุทธมหายาน ไม่กินเนื้อเพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ที่บ้านผมแม่เคยจะเชิญมาตั้งบูชาที่บ้าน ทุกคนต่อต้านด้วยเหตุผลที่ห้ามกินเนื้อนี่แหละ อาม่าผมเคยบอกผมว่าเจ้าแม่กวนอิมเป็นคนอินเดียไม่ใช่คนจีน จึงไม่กินเนื้อ แต่บางคนว่าเจ้าแม่กวนอิมกินเจ ถ้าเช่นนั้นไม่ว่าเนื้ออะไรก็คงไม่กิน ก็แล้วแต่จะว่ากันไป
วันนี้มาแก้ไขข้อความจากเดิมที่บอกว่า "พระพุทธเจ้าก็ฉันเนื้อ" นั้น (ข้อความเดิมใช้คำว่า "รับประทาน" ซึ่งไม่ถูกจึงข้อเปลี่ยนเป็น "ฉัน") เป็นข้อความที่หมิ่นเหม่ต่อการทำให้ศาสนาพุทธผิดเพี้ยนไปได้ จึงเปลี่ยนใหม่และขยายความเพิ่มในความคิดเห็นข้างล่าง
เคยโดนคนจีนถามว่า ทำไมคนไทยไม่กินเนื้อวัวเเละเนื้อแพะ เลยเล่าเรื่องตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมให้ฟัง คนจีนฟังถึงกับอึ้ง ถามต่อว่า "มีงี้ด้วยหรอ"
แต่เพื่อนชาวจีนอีกคนที่เคยบวชเรียน เคยเล่าให้ฟัง (แต่เราจำได้คร่าวๆ ว่า) ในสมัยหนึ่งของจีน ตอนนั้นกำลังเกิดสงคราม ข้าวปลาอาหารขัดสน ฮ่องเต้ในสมัยนั้นเห็นพระวันๆไม่ทำอะไร ก็ได้กินได้ใช้ แถมได้กินเนื้อซะด้วย ว่ะ! มันน่าหมั่นไส้นัก ฮ่องเต่เลยคิดหาทางกำจัดพระ เหล่าพระสงห์เห็นภัยมาถึงตัว จึงคิดกุศโลบายออกมาว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราอย่ากินเนื้อกันเลย ฝูงสัตว์รอดตาย และแน่นอนพวกอาตมาก็รอดตายด้วย ไม่แน่ใจว่าใช่ตำนานเกี่ยวกับเรื่องนี้รึเปล่า แต่ทะ:-)ๆ ว่าประมาณนี้ ยังไงรอท่านผู้รู้มาไขข้อกระจ่างอีกที
แต่ที่แน่ๆ เพื่อนคนจีนเคยพูดว่า เนื้อคนคนจีนยังเคยกินมาเเล้ว นับประสาอะไรกับเนื้อวัว
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/06/K10672730/K10672730.html
หนังสือจาก สนพ.ซ่างไห่ฉือซู เขายอมรับเป็นที่อ้างอิงกันในแวดวงการศึกษาจีน
หนังสือที่อ้างกล่าวว่า คำว่า กินเจ นี้ตรงกับคำว่ากินซู่ (กินอาหารบริสุทธิ์)
“ ในอดีต ” นิยมกินกันแพร่หลายทั่วเมืองจีน
ในอดีต (ราวช่วงราชวงศ์ ชิง) ประเพณีกินเจในเดือนเก้าทางจันทรคติจีน เป็นที่นิยมถือปฏิบัติในหมู่ชาว “ ฮั่น ”
ทางหังโจว และ ซื่อชวน เรียกประเพณีนี้ว่า จิ่วหวงซู่
ทางไต้หวันเรียกต่างออกไปว่า “ จิ่วหวงไจ ”
จิ่วหวงไจนี้ออกเป็นเสียงทางแต้จิ๋วว่า กิวอ่วงแจ
เมื่อประมาณสามปีที่แล้วผมได้รับหนังสือชื่อ “ 千秋教化 ”จากผู้ใหญ่จึงได้ทราบว่า
“ แท้จริงแล้วคนจีนไม่ทานเนื้อวัว,ควายกันมากว่าสองพันปี ”
โดยเป็นอิทธิพลจากคำสอนในลัทธิหยู ว่า “ 敬牛报本 ”หรือผมแปลว่า สำนึกคุณวัว,ควาย
โดยเหตุที่ในอดีตสัตว์นั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหาร อันมีผลต่อความมั่นคงของชาติ รัฐจึงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ วัว ควาย
ตั้งแต่ยุคชุนชิวก็มีคำสั่งจากรัฐ ไม่ให้ล้มวัวควาย
ในยุคถัง ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดโทษจำคุกสำหรับการที่ฆ่าวัวควายไว้ หนึ่งปีหกเดือน
โทษจำคุกนี้ยังให้ลงโทษกับผู้ซื้อ และ กินเนื้อนั้นโดยทราบว่าเป็นเนื้อวัวควาย
โทษนี้หนักเท่ากับการวางเพลิงเลยทีเดียว
ดังนั้นในวรรณคดีจีน จึงมักนำการ “ รับประทานเนื้อวัว,ควาย ” มากล่าวในเชิงสัญญลักษณ์ของผู้ท้าทายและไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง ดังปรากฎในเรื่อง ซ่องกั๋ง
นอกจากนี้ในอดีตยังมีประเพณีบูชาวัวควายโดยการตั้งศาลเจ้าวัว
ทั้งในเทศกาลลี่ชุน หน่วยปกครองระดับอำเภอตั้งแต่ยุคถังถึงราชวงศ์ชิงยังเป็นผู้จัดพิธีบูชาและแห่วัวดิน เพื่อเป็นสิริมงคลกับการเกษตร อย่างพิธีแรกนาขวัญของไทยด้วย
http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2011/09/D11095683/D11095683.html
แก้ไขเมื่อ 09 ส.ค. 55 10:50:15
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ส.ค. 55 10:11:00
|
|
|
|
 |