แล้วอะไรเกิดขึ้น บรรลุแบบเพี้ยนกันบ้าง มีอาการต่างๆ นานา
แทบไม่มีใครสนใจคำแนะนำในพระไตรปิฎกว่า ....______________________________________________________________
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
[กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]
กุลบุตรควรชำระศีล ๔ อย่างให้หมดจดก่อน. ในศีลนั้น มีวิธีชำระ
ให้หมดจด ๓ อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว ๑ ไม่
เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย ๑. จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีล
บริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้
บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือ วัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่
ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ
ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔. จริงอยู่ กุลบุตรใด พึงกล่าวว่า เรารักษาศีล
อยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร ? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้น
จักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์
ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่
บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย
ให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้* เรื่องนี้ควรให้พิสดาร. เพราะเหตุ
ฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า
อภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.
เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความ
กังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่างที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น
คือ อาวาส ๑ ตระกูล ๑ ลาภ (คือปัจจัยสี่)
๑ คณะ (คือหมู่) ๑ การงาน (คือการ
ก่อสร้าง) เป็นที่คำรบห้า ๑ อัทธานะ (คือ
เดินทางไกล) ๑ ญูาติ ๑ อาพาธ ๑ คัณฐะ
(คือการเรียนปริยัติ) ๑ อิทธิฤทธิ์ ๑.
กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนั้นแล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.
______________________________________________________________
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 763 [ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ]
จริงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เป็นของได้ด้วยยาก, การ
บรรพชาและการอุปสมบท เป็นของได้ด้วยยากยิ่งกว่านั้น. แต่พระวินัยธร
ควรพูดอย่างนี้ว่า เธอ จงปัดกวาดโอกาสที่เงียบสงัด แล้วนั่งพักกลางวัน
ชำระศีล ให้บริสุทธิ์ จงมนสิการอาการ ๓๒ ดูก่อน. ถ้าศีลของภิกษุนั้น
ไม่ด่างพร้อยไซร้, กรรมฐาน ย่อมสืบ, สังขารทั้งหลาย ก็เป็นของปรากฏ
ชัดขึ้น, จิตก็เป็นเอกัคคตา ดุจได้บรรลุอุปจาระและอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น,
ถึงวันจะล่วงเลยไปแล้วก็ตาม เธอก็ไม่ทราบ. ในเวลาวันล่วงเลยไป เธอมา
สู่ที่อุปัฏฐากแล้ว ควรพูดอย่างนี้ว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเธอ เป็นเช่นไร?
ก็เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดกะเธอว่า ขึ้นเชื่อว่าบรรพชา
มีความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นประโยชน์, เธออย่าประมาท บำเพ็ญสมณธรรมเถิด.
ส่วนภิกษุใด มีศีลขาด, กรรมฐานของภิกษุนั้น ย่อมไม่สืบต่อ, จิตย่อมปั่น
ป่วน คือถูกไฟคือความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น,
ภิกษุนั้น ย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.
เธอมาแล้วถามว่า ความเป็นไปแห่งจิตของท่าน เป็นอย่างไร" เมื่อเธอ
บอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดว่า ขึ้นชื่อว่าความลับของผู้กระทำกรรม
ชั่ว ย่อมไม่มีในโลก* แท้จริง บุคคลผู้กระทำความชั่ว ย่อมรู้ด้วยตนเอง
ก่อนคนอื่นทั้งหมด, ต่อจากนั้น อารักขเทพดาทั้งหลาย สมณพราหมณ์และ
เทพเจ้าเหล่าอื่น ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ย่อมรู้ (ความชั่ว) ของเธอ, บัดนี้
เธอนั่นแล จงแสวงหาความสวัสดีแก่เธอเองเถิด.
______________________________________________________________
....เท่าที่ผมค้นคว้ามา ลำดับการหลุดพ้นของครูบาอาจารย์ ท่านก็ไล่ไปตั้งแต่พิจารณากาย ไม่มีกระโดดไปพิจารณาจิตเลย ผมยังงงๆ กับหลายๆ ที่ฝึกกันอยู่ ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกว่า ผู้ที่ไปขั้นพิจารณาขั้นจิตไก็มีแต่พระอนาคามี