เอาเฉพาะเรื่องเทวดานะครับ เกื้อกูลกันกับกับมนุษย์
เรื่องคนมีองค์เรื่องสิงเรื่องทรงไม่พูดถึง คนละอย่างกัน ปนกันไม่ได้
______________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 372
บทว่า สีลวนฺเตตฺถ ตัดเป็น สีลวนฺเต เอตฺถ. บทว่า สญฺเต
ได้แก่ ผู้สำรวมด้วยกายวาจาใจ. บทว่า ตาสํ ทกฺขิณมาทิเส ความว่า พึง
อุทิศปัจจัยสี่ที่ถวายสงฆ์คือพึงให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจำเรือนเหล่านั้น. บทว่า
ปูชิตา ปูชยนฺติ ความว่า เทวดาย่อมอารักขาด้วยดี ด้วยสั่งว่าผู้คนเหล่านี้
แม้ไม่ใช่ญาติของเรา ก็ยังให้ส่วนบุญแก่พวกเราถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พวก
ท่านจงจัดการอารักขาด้วยดี. บทว่า มานิตา มานยนฺติ ความว่า เทวดา
ทั้งหลายที่เหล่าผู้คนนับถือด้วยการทำพลีกรรมตามกาลสมควร จึงนับถือ คือ
กำจัดอันตรายที่เกิดขึ้น ด้วยเห็นว่าผู้คนเหล่านี้ แม้ไม่ใช่ญาติของพวกเราก็ยัง
ทำพลีกรรมแก่พวกเราในช่วงสี่เดือนหกเดือน. บทว่า ตโต นํ ได้แก่ แต่นั้น
เทวดาก็ย่อมอนุเคราะห์คนผู้บัณฑิตนั้น. บทว่า โอรสํ ได้แก่ วางไว้ที่อกให้
เจริญเติบโต. อธิบายว่า ย่อมอนุเคราะห์เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิด
แต่อก พยายามกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นฉะนั้น. บทว่า ภนฺรานิ ปสฺสติ
แปลว่า เห็นสิ่งที่ดี.
______________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 305
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็
รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.
ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง
พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็น
ของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้น
กหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.
พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้
ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น
ก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์
_______________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 556...
ตาทิโน ความว่า ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่ำเสมอ
หล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชา
เช่นนั้น เมื่อทรงกระทำบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดา
ทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วย
ทิพยยศ. บทว่า อนุติฏฺนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทำความเพียร
ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทังหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจง
อารักขา อันชอบธรรม.
...
______________________________________________________________
มีอีกเยอะครับเรื่องทำนองนี้ ผมเอามาไม่หมด ...