กิเลสเป็นชื่อรวมของ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ครับ
อวิชชา เป็นรากเหง้าของกิเลสซึ่งละเอียดที่สุด ถ้าจะตัดอวิชชาต้องมีวิชชา คือมีความรู้แจ้งในอริยสัจ ถ้าอวิชชาดับนิพพานก็ปรากฏขึ้นแทนที่
อุปาทานเกิดจากตัณหา ตัณหาเกิดจากโลภะ โทสะ โมหะที่เป็นผลมาจากอายตนะภายในกระทบอายตนะภายนอกเรียกว่าผัสสะ จนเกิดเวทนา(สุข ทุกข์ เฉยๆ)
เมื่อมีกิเลสก็กระทำกรรมแล้วเกิดเป็นวิบาก หมุนเวียนกันเป็นวงกลม ออกจากทุกข์ไม่ได้
วิธีดับกิเลสก็คือต้องเจริญมรรคจนมีวิชชา
การเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ สมถะและวิปัสสนา
ถ้าจะแบ่งกิเลสตามสังโยชน์(กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์) ซึ่งมี ๑๐ อย่าง ผู้ที่ตัดกิเลสได้ต้องเป็นพระอริยะ ซึ่งแบ่งตามภูมิธรรมดังนี้
พระโสดาบัน สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ อย่างคือ ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำที่เหลืออีก ๒ ตัวคือ ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
พระอรหันต์ สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีก ๕ ข้อคือ ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘. มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ
ส่วนพระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงได้เท่านั้น
จึงสรุปได้ว่าความยากง่ายในการละกิเลสแต่ละตัวสามารถอธิบายได้ตามภูมิธรรมของพระอริยะข้างต้น ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
แก้ไขเมื่อ 15 ส.ค. 55 22:28:41
จากคุณ |
:
sspp1
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ส.ค. 55 21:36:13
|
|
|
|