Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
กิเลส คืออะไร สำคัญอย่างไร ติดต่อทีมงาน

กิเลส

กิเลส  มีองค์ประกอบคือ

อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน  ทั้งหมดเป็น  กิเลส

อวิชชา คือความไม่รู้

เป็นต้นเหตุไห้เกิด  กิเลส  อวิชชาตัดได้ด้วยการมี วิชชา

วิชชา  คือความรู้

วิชชา  คือความรู้แจ้งใน อริยสัจ เมื่อมีความรู้แจ้งแล้ว อวิชชาก็ดับ นิพพาน  ก็ปรากฏ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น

   ยึดมั่นถือมั่นใน  เบญจขันธ์  คือร่างกายและจิตใจรวมกันว่าเป็น "ตัวตน" และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกใจ อันมาเกี่ยวข้องด้วยว่าเป็น "ของตน"

   หรือที่ละเอียดลงไปกว่านั้นก็คือยึดถือจิตส่วนหนึ่งว่าเป็น  "ตัวเรา" แล้วยึดถือเอารูปร่างกาย ความรู้สึก ความจำ และความนึกคิด ๔ อย่าง
   นี้ว่าเป็น "ของเรา"

   อุปาทาน 4 อย่าง

   กามุปาทาน ยึดติดในกาม
   ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
   สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
   อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวกู ของกู

พุทธภาษิตมีอยู่ว่า

"เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์  ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"

ดังนั้น เบญจขันธ์  ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า

"ตัวเรา" ว่า "ของเรา"

นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า

"คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"

อ้างอิง พุทธทาสภิกขุ. "ตัวกู-ของกู"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปาทาน เกิดจาก  ตัณหา

ตัณหา คือ ความกำหนัด หรือ ความอยาก หรือ ไม่อยาก ในความรู้สึก หรือเวทนาที่เกิดขึ้นมา

ตัณหา

เกิดจาก  โลภะ  โทสะ  โมหะ  ที่เป็นผลมาจาก  อายตนะภายใน  กระทบอายตนะภายนอก  
ที่เรียกว่า  ผัสสะ จนเกิด  เวทนา  ( สุข ทุกข์ เฉย ๆ )

อายตนะภายใน คือ ประสาทสัมผัส ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (เย็น ร้อน อ่อนแข็ง) อารมย์ทางใจ หรือธรรมารมย์

เมื่อมี กิเลส ก็กระทำกรรมแล้วเกิดเป็นวิบาก หมุนเวียนกันเป็นวงรอบ ทำไห้ ออกจากทุกข์ไม่ได้

วิธีดับกิเลส

ก็คือต้องเจริญ  มรรค  จนมี  วิชชา

การเจริญมรรค คือ เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ สมถะ และ วิปัสสนา

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบ่งกิเลสตาม สังโยชน์

สังโยชน์  คือ  กิเลสที่ผูกมัดใจคนหรือสัตว์ ไว้กับทุกข์ซึ่งมี ๑๐ อย่าง

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
๖. รูปราคะ ความติดใจในอายตนะภายในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ

ผู้ที่ตัดกิเลสได้ก็คือพระอริยะบุคคล โดยแบ่งตามภูมิธรรมได้ดังนี้

พระโสดาบัน สามารถละสังโยชน์ขั้นต้นได้ ๓ อย่างคือ

๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส

พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงได้เท่านั้น

๔. กามราคะ เบาบาง
๕. ปฏิฆะ เบาบาง

พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำที่เหลืออีก ๒ ตัวคือ

๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ

พระอรหันต์ สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีก ๕ ข้อคือ

๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=faraday&month=16-08-2012&group=4&gblog=21

แสงเทียน

แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 55 18:09:58

แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 55 18:05:39

จากคุณ : Faraday
เขียนเมื่อ : 16 ส.ค. 55 17:57:42




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com