การกระทำทุกอย่างที่เกิดบุญ (ดูบุญกริยาวัตถุ ๑๐)
อุทิศส่วนบุญได้เลยครับ เช่น...พระพุทธเจ้าครั้งเมื่อท่านยังเป็นพระโพธิสัตว์
ท่านเทเศษอาหารลงแม่น้ำเป็นอาหารแก่ปลา แล้วอุทิศส่วนบุญให้เทวดา
___________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 305
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็
รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.
ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง
พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็น
ของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้น
กหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.
พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้
ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น
ก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์
______________________________________________________________
การกระทำที่เกิดบุญกุศล ก็คือ บุญกริยาวัตถุ ๑๐
มี ๑. ทาน ๒. ศิล ๓. ภาวนา ๔. ประพฤติตนอ่อนน้อม ๕. ช่วยในการทำกิจของผู้อื่น ๖. ให้ส่วนบุญ ๗. อนุโมนาบุญ ๘. แสดงธรรม ๙. ฟังธรรม ๑๐. ทำความคิดเห็นให้ตรง
_______________________________________________________________
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 312 พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป. ทานนั่นเอง ชื่อว่า ทานมัย
การทำบุญนั้นด้วย วัตถุ ( คือที่ตั้ง ) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย ดังนั้น
จึ่งชื่อ บุญญกิริยาวัตถุ ( ที่ตั้งแห่งการทำบุญ) แม้ในบุญญกิริยาวัตถุ ข้ออื่น ๆ
ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
เหล่านี้ พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา ( ความตั้งใจก่อนและทำ ) และอปรภาค
เจตนา ( ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว ) ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จ
ด้วยทานเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น. และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรม
อย่างหนึ่ง ๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม เมื่อ
เปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม. เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่ง
กาย และองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม
อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้า
ให้อันนทาน ( ให้ข้าว ) เป็นต้นก็ดี ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้ว ให้ก็ดี
จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยทาน. ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็น
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลเริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไป เสื่อมไป
แล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา. บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่น
ีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุอันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
ประกอบด้วยการขวนขวาย ( ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) การให้ส่วนบุญ การ
อนุโมทนาส่วนบุญ อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม อันสำเร็จด้วยการฟัง
ธรรม บุญกิริยาวัตถุคือ การทำความเห็นให้ตรง ดังนี้. บรรดาบุญกิริยา
วัตถุทั้ง ๗ นั้น ความเคารพ ยำเกรง พึงทราบ โดยอาการเช่น เห็น
พระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน
ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้าน เพื่อบิณฑบาตแล้ว ถือบาตรไปชักชวน รวบรวม
ภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า "ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา"
ดังนี้แล้ว เร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น. การให้ส่วนบุญพึงทราบ ด้วยการ
ที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว ( ตั้งจิตอุทิศ ) ให้เป็นไปว่า "ส่วนบุญจะมีแก่สรรพ
สัตว์". การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบ ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
ที่ผู้อื่นให้ว่า "สาธุ ถูกดีนักแล้ว". ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนา
ว่า " คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยอุบายอย่างนี้" เป็นผู้
หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตน
คล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จ
ด้วยการแสดงธรรม. บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรม ก็ฟังด้วยความมุ่งหมาย
ว่า "คนทั้งหลาย จักได้รู้จักเราว่า มีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้" ข้อนั้น
ไม่มีผลมาก. บุคคลผู้หนึ่ง ฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่า จัก
มีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้" นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการ
ฟังธรรมส่วนการทำความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญกิริยา
วัตถุทุกอย่าง. ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความ
เห็นตรงนั่นเอง.บุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่า รวมเข้าได้
กับบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นนั่นเอง ด้วยประการดังนี้. ในที่นี้ ความ
เคารพ ยำเกรง และการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) รวมลงได้
ในสีลมัยบุญกิริยาวัตถุ. การให้ส่วนบุญ และการอนุโมทนาส่วนบุญ รวม
ลงได้ในทานมัยบุญกิริยาวัตถุ, การแสดงธรรม และการฟังธรรม รวมลง
ได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ การทำความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง
๓ อย่าง.
_______________________________________________________________
หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ทำให้เกิดบุญเกิดกุศล
คิดว่าคงทำให้เจ้าของกระทู้เกิดความชัดเจน ไม่ลังเลสงสัยสิ่งใดอีก
...ส่วนหนึงที่ผมพยายามหาต้นตอที่ไปที่มาของการกรวดน้ำ ยังหาไม่เจอสักที
ในพระไตรปิฏกยังไม่มีเรื่องให้เจอว่าทำบุญแล้วเแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน
คือทำเสร็จแล้วค่อยไปกรวดน้ำอีกทีทีหลัง ยกมากี่เรื่องๆ เวลามีการกระทำที่เกิดบุญก็ต่อด้วย
...แล้วให้ส่วนบุญแก่ .......
ที่ผมเคยทำก็คือ ทำทานแล้วอุทิศ ฟังธรรมแล้วอุทิศ ให้การช่วยเหลือผู้อื่นแล้วอุทิศ ให้ส่วนบุญ อนุโมทนาบุญ ส่วนถือศิลแล้วอุทิศ อันนี้จำได้ไม่แน่นอนว่าตอนถือศิล ๘ ได้อุทิศหรือเปล่าเพราะนานแล้ว
สิ่งที่กล่าวมามั่นใจว่าเกิดบุญแน่ๆ เขาได้บุญแน่ๆ เพราะ"พระไตรปิฏก" ยืนยัน