 |
มาแสดงความาเห็นเพิ่มเรื่อง ปัญญา 3 ระดับนะครับ
จริงๆ แล้ว สุตตมยปัญญา คือ "ความเข้าใจ" ที่มีปัจจัยมาจากการศึกษาครับ แต่ชัดเจนตรงที่ว่า ขึ้นชื่อว่าความเข้าใจหรือปัญญานั้น ต้องเป็นความเข้าใจที่ตรงสภาพความเป็นจริงเท่านั้น มิเช่นนั้นจะไม่เรียกว่าปัญญา แต่จะถูกเรียกว่า โมหะ
ปัญญา 3 ระดับ มี สุตตมยปัญญา, จินตมยปัญญา, ภาวนามยปัญญา ... ปัญญาสามระดับนี้เหมือนสะพาน กล่าวคือ สะพานต้องมีต้นสะพาน, กลางสะพาน, และปลายสะพาน
เปรียบแบบง่ายๆ หยาบๆ สุตตมยปัญญา ก็คือ ต้นสะพาน เมื่อได้ศึกษา ได้ฟังพระธรรมแล้ว ก็มีการนำไปคิดพิจารณาต่อ เป็นจินตมยปัญญา ซึ่งเปรียบกับการเดินไปถึงกลางสะพาน จากนั้นเมื่อเข้าใจแล้ว (อนุมานได้จากความคิดแล้ว) จึงจะนำไปปฏิบัติแบบเต็มกระบวนการจนกระทั่งเกิดภาวนามยปัญญา และรับผลลัพธ์จากความรู้ความเข้าใจนั้นเต็มเปี่ยม (ปฏิเวธ) ดังนั้น ภาวนามยปัญญาจึงเกิดขึ้นไมไ่ด้หากปราศจากสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ถ้าเปรียบเป็นสะพานก็คือ เราไม่มีทางข้ามไปอีกฝั่งนึงได้ถ้าไม่เดินผ่านต้นและกลางสะพานมาก่อน ทุกอย่างเ็ป็นปัจจัยแก่กันและกัน
ทีนี้ ในความเ็ป็นจริง ปัญญาสามระดับนี้มันก็ไมไ่ด้เรียงกันเป๊ะๆ แบบ 1-2-3 ซะทีเดียว มันมีการเกิดขึ้นสลับกันไปมาเรื่อยๆ เช่น ฟังแล้วนำมาคิด คิดแล้วก็นำไปทำ ทำแล้วก็ย้อนคิดหรือตรวจสอบกับตำรา ครูอาจารย์ใหม่ จากนั้นก็ปฏิบัติ และศึกษา คิด ทำ เรื่องใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ แล้วแต่สภาพ แต่อย่างไรก็ดี ก็สะท้อนว่าปัญญาสามระดับจะเกิดควบคู่กันเสมอจนกว่าจะบรรลุมรรคผลขั้นสูงสุด
ร่ายมาซะยาว ที่จะเสริมก็คือ คำว่า ความเข้าใจ ก็คือปัญญานั่นเอง ซึ่งจะรู้มาจากปัญญาระดับไหนก็ได้ ถ้ารู้ระดับศึกษาหรือคิด ก็เป็นสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ถ้าเข้าใจด้วยการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง อันนี้ก้เป็นภาวนามยปัญญา ส่วนคำว่า "รู้" นั้น เป็นคำที่จะใช้สำหรับการ "ระลึกได้" ซึ่งหมายถึง "สติ" ก็ได้ หรือจะมองในแง่ของการ "รู้ทั่วพร้อมถึงลักษณะต่างๆ ของรูปนาม" ซึ่งเป็นไปในแง่ของปัญญาก็ได้
ดังนั้น ต่อให้เป็น สุตตมยปัญญา หรือ จินตมยปัญญา ก็ต้องเป็นความรู้ ความเข้าใจที่ "ถูกต้อง" ตรงสภาพความเป็นจริง และต้องสอดคล้องกับภาวนามยปัญญาเสมอ แม้จะยังไม่ลงลึกในระดับสัมผัส หรือประจักษ์ตรงหน้า แต่ก็ต้องไม่ขัดแย้งกันแม้แต่นิดเดียว เป็นไปไม่ได้เลยที่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาแล้วเข้าใจอย่างหนึ่ง ทว่าหลังปฏิบัติผลลัพธ์กลับออกจากหน้ามือเป็นหลังมือ หากเป็นเช่นนั้นพระพุทธองค์จะไม่ทรงใช้คำว่า ปัญญา แต่จะใช้ึำว่า "โมหะ" แทน คือถ้าไม่อ่านแล้วเข้าใจผิดก็ปฏิบัติผิดอะไรซักอย่าง ไม่ก็ทั้งศึกษาและปฏิืบัติผิดทั้งคู่
สรุป จากการโหวต ซึ่งมีการชี้นำราวกับว่า ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษานั้นด้อยกว่าการปฏิบัตินั้น เ็ป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากปฏิบัติโดยไม่มีสุตตมยปัญญารองรับแล้ว ก็จะไม่มีอะไรยืนยันว่า สิ่งที่ได้รู้ ได้เห็นจากการปฏิบัตินั้น ตรงกับสภาพความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ฤษีที่นั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืน, ลัทธินอกพุทธศาสนาในสมัยก่อนพุทธกาล, วัดธรรมกาย, มโนมยิทธิ, วัดมหาธาตุ, ทุกคนล้วนอ้างเรื่องการปฏิบัติ แต่ทุกสาย ก็เห็นไม่ตรงกันครับ :)
-----------------------------------
ท่าน Bg-view บางทีผมอาจจะเด็กก็ได้่นะครับ :P
จากคุณ |
:
Gow27
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ส.ค. 55 09:09:04
|
|
|
|
 |