Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ไตรสิกขา สมัยพุทธกาล เป็นไฉน? (เมื่อ เทียบกับ สมัยนี้) ติดต่อทีมงาน

ไตรสิกขา สมัยพุทธกาล

                          ไตรสิขา  ติก  อํ ๒๐/๓๐๓/๕๒๙

สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธปัญญาสิกขา

อธิศีลสิกขา ---ภิกษุในกรณีนี้ ในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้มี ศีล (ดู ที่ตรัส มี อวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์) สำรวมปาฎิโมกข์สังวรณ์ สมบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร
มีปกติ เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย (ที่เล็กน้อย ขั้น ใดนั้นตามพระวินัย)
สมาทาน ศึกษา อยู่ ใน สิกขาบททั้งหลาย (150 ทุกกึ่งเดือน สมัย ก่อนปฐมสังคายนา)
นี้ ตถาคตเรียกว่า  อธิศีลสิกขา

อธิจิตสิกขา  --ภิกษุในกรณีนี้ ในธรรมวินัยนี้  (อธิจิตสิกขา) สงัดจากกามทั้งหลาย (กามคุณ ๕ สังกัปปราคะคือกาม) สงัดจากอกุศธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน  (ดูพระสูตร  อุเทสแห่งสัมมาสมาธิ) ฯลฯ
เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข  มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
นี้ ตถาคตเรียกว่า  อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา --- ย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า "นี้ ทุกข์ (ปฏิจจฯสาย สมัทัย) นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ (อาการแห่งปฏิจจฯ ทุกๆ พระสูตรที่ตรัสปฏิจจฯ สายเกิด)  นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ปฏิจจฯสาย นิโรธ) นี้ ทางให้ถึงความดีบไม่เหลือแห้งทุกข์ (ปฏิปทา  คือ ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา)

ภิกษุทั้งหลาย  เหล่านี้แล สิกขา ๓
                           **********************


                ไตรสิกขา อีกนัยหนึ่ง --- ติก  อํ ๒๐/๓๐๓/๕๓๐
พระสูตรนี้ ตรัส อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เหมือน --ไตรสิขา  ติก  อํ ๒๐/๓๐๓/๕๒๙

ภิกษุทั้งหลาย
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้  (เพราะ ตรัสรู้อริยสัจสี่ข้างบน ด้วย อาสวักขยญาณ ใช่หรือไม่?)

เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (ดูจูฬสุญญตสูตร) ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  ในทิฏฐธรรมนี้ (ปัจจุบันธรรมคือทันควัน)
เข้าถึง  แล้ว แลอยู่   (ด้วย สติในสมาธิ ที่เนื่องกับ สัมมาญาณะ + สัมมาวิมุตติ+สัมมาวิมุตติญาณทัสนะ)



                               พระสูตรทั้งสอง ข้างบน

                 ไม่เนื่องกับ พระสูตรนี้ หรือ? -เอก  อํ ๒๐/๑๑-๑๒/๕๒-๕๓

ความรู้ที่ทำให้ ปุุถุชน (ไม่ว่าจะข่มนิวรณ์ไว้ได้หรือไม่) เมื่อมีการสดับ (คือ ?)  
ปุถุชน จึง บรรลุ สู่ อริยสาวก ผู้มีการสดับ ---- รู้ชัดว่า จิตประภัสสร พ้นวิเสษจาก อุปกิเลส คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ (หรือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นอุปกิเลส / ไม่ใช่ อนุสัยคือราคะ อนุสัยคือโทสะ อนุสัยคือโมหะ) อันเป้นดุจอาคันตุกจรมานั้นได้

เพราะฉะนั้น จิตตภาวนา  (คือ อธิจิตสิกขา ใช่ไหม?) ย่อมมี แก่ อริยสาวก ผู้มีการสดับ
                 *********************************

                            แล้ว ตามด้วย  พระสูตรที่ ๔

ที่ตรัส "โพชฌงค์ ๓๗" อันเกิดจาก ปัญญาขั้นจอมศาสดา (ไม่มีในศาสดาอื่นๆ) นั้น

อธิจิตสิกขา  คือ  ข้อไหน?  (สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ ฯลฯ โพชฌงค์ มรรคมีองค์ ๘)
         ******************************************

                                 แล้วตามด้วย พระสูตรที่ ๕

                    ข้อควรระวัง ในการเจริญ สติปัฏฐานสี่
                    (อุปริ  ม ๑๔/๒๖๘-๒๗๐/๓๙๖-๔๐๑

ตรัสแก่ อัคคิเวสสนะ --- ตั้งต้นที่

ครั้นภิกษุพระกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ  (ตรัสให้มีสติคู่กับสัมปชัญญะ  -จตุกฺก  อํ ๒๑/๕๘/๔๑  ดู สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ ในอีกพระสูตรด้วย)

ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า  มาเถิดภิกษุ เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด---- ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า  ละอภิชฌา---- ละพยาบาท--- ละ ถีนมิทธะ -- ละอุทธัะจจกุกกุจะ -- ละวิจิกิฉา  ...

ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว ------ ( ตรงนี้ พระอนาคามี ที่ได้รูปฌานทั้งสี่มาแล้ว เหมือน ต่างกับ พระโสดาบัน ที่ ไม่เคยได้ รูปฌานทั้งสี่มาก่อน   อย่างไร? อย่างไรก็ตาม  ตรงนี้ พระโสดาบันที่ไม่ได้รูปฌานสี่มาก่อน    ละ นิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ ใช่ไหม?

ละนิวรณ์ ๕ ได้ แปลว่า ข่มอุปกิเลส หรือ พ้นวิเศษจาก อุปกิเลส ????

จิตตภาวนา หรือ อธิจิตตสิกขา (โพธิปักขิยธรรม ๓๗  โดยเฉพาะ มรรคมีองค์ ๘) ย่อมมี แก่อริยสาวก ผผู้โสดาบัน) ผู้มีการสดับ ไหม?


                              พิจารณาที่ตรัสต่อ
ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว

ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีปกติ  ตามเห็นกายในกายอยู่ --- แต่อย่า ตรึก วึ่ง วิตก  อันเข้าไปอยู่กับกายเลย  (เข้าใจอย่างไร ฯ ยกไว้  / -- มา  จ กายูปสญิหิตํ  วิตกฺกํ  วิตฺก เกสิ)

เวทนา จิต ธรรม ก็ เช่นเดียวกับ กาย  คือ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันประกอบอยู่กับ เวทนา จิต ธรรม เลย

(เข้าใจ อย่างไร จะอ้างอิงพระสูตรไหน ? แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันประกอบอยู่กับ กาย เวทนา จิต ธรรม  -- ขณะใด?????)

ดู ที่ตรัส ต่อมา  (อาจเห็น????)

ภิกษุนั้น เพราะเข้าไประงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึง ทุติยฌาน  (แปลว่า ?????)
ลอง พิจารณาเอง

แล้วได้ตรัสถึงตติยฌาน จตุตถฌาน  ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ  อาวักขยญาณ จนกระทั้ง วิมุตติ



ประเด็น
ไตรสิกขา สมัยที่ตรัส เหมือน ต่างกับ สมัยนี้ หรือไม่ ? อย่างไร?

จากคุณ : F=9b
เขียนเมื่อ : 28 ส.ค. 55 23:47:01




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com