|
การเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ? แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
=====================================
ความคิดเห็นที่ 26
....อือ แปลก... ทำไมห้ามเดินจงกรม ? ....เพราะการเดินจงกรมเป็นวิธีฝึกที่สำคัญวิธีหนึ่งควบคู่กับการนั่ง ที่จริงการเดินจงกรมจะได้ผลมากกว่าการนั่งซะอีก ...ทำไมพวกโกเอ็นก้าต่อต้านการเดินจงกรม เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ? ------------------------------------------
คุณโขตาน ครับ ผมว่าแนวทางของท่านโกเอ็นก้า เป็นแนวแบบอาศัยขณิกสมธิ แต่จะเป็นการเจริญวิปัสสนา หรือ กำหนดทุกข์ หรือไม่ อันนี้ไม่แน่ใจ
แต่คง ไม่ใช่แนว อัปปนาสมาธิ(ฌาน) แบบสาย สมถะ , สายสมาธิ , สายวัดป่า ,สายวัดบ้าน ( ที่นั่งสมาธิ แต่ผมไม่ค่อยเห็น สายไหน สอนการยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา )
แต่จะแนวไหน ก็แล้วแต่ ต้องมาตั้งต้นวิปัสสนา ใน รูป นาม ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ ที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การไปบังคับ กำหนดให้เป็นไปตามต้องการ (อัตตา)
จากคุณ |
:
เฉลิมศักดิ์1
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.ย. 55 05:57:56
|
|
|
|
|