| สัตตสดกมหาทาน ทานใหญ่อย่างละ ๗๐๐
(ตามที่อรรถกถาประ มวลไ้ว้ ๗ หมวด คือ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ รถ ๗๐๐ สตรี ๗๐๐ วัวนม ๗๐๐ ทาส ๗๐๐ ทาสี ๗๐๐ ) ซึ่งชาดกเล่าว่า พระเวสสันดรบริจาคก่อนเสด็จออกจากวังไปอยู่ที่เขาวงกตในแดนหิมพานต์,
แต่ ตามหลักพระพุทธศาสนา อิตถีทาน คือการให้สตรี จัดเข้าในจำพวกทานที่ไม่เป็นทาน และไม่เป็นบุญ (คือเป็นบาป ซึ่งในมิลินทปัญหากล่าวว่าพาผู้ให้ไปสู่อบาย) จึงน่าวิเคราะห์ว่าในเรื่องนี้มีเหตุผลหรือมีนัยที่น่าศึกษาอย่างไร, ในที่นี้ จะกล่าวถึงข้อมูลและข้อสังเกตเบื้องต้นไว้ประกอบการพิจารณา คือ
ก) ในโอกาสนี้ พระเวสสันดรให้ทานโดยสั่งให้แจกจ่าย ทั้งให้ผ้าแก่ผู้ต้องการผ้า ให้สุราแก่นักเลงสุรา ให้อาหารแก่ผู้ต้องการอาหาร อรรถกถาอธิบายว่าพระเวสสันดรก็ทราบอยู่ว่าการให้น้ำเมาเป็นทานที่ไร้ผล แต่ให้เพื่อให้นักเลงสุราที่มาก็ได้ไป ไม่ต้องไปพูดว่ามาแล้วไม่ได้
ข) สตรีที่เป็นทานในคราวนี้ ตามเรื่องว่านั่งประจำรถ ๕๐๐ คันซึ่งเป็นทาน คันละคน (ทำนองว่าเป็นคนประจำรถ)
ค) ในการให้ทานบุคคล พระเวสสันดร คงจะได้รับหรือให้เป็นไปโดยความเห็นชอบของบุคคลนั้น เช่นเดียวกับการให้ภริยา
ง) ในเวลามสูตร (องฺ นวก.๒๓/๒๒๓/๔๐๖) พระพุทธเจ้าตรัสเล่าว่าพระองค์เคยทรงเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่าเวลามะ และได้ให้มหาทาน มีของที่เป็นทานยิ่งใหญ่มากมาย ตั้งแต่ถาดทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ รวมทั้งช้าง รถ โคนม หญิงสาว อย่างละ ๘๔,๐๐๐ (ถ้าเทียบกันก็ย่ิงใหญ่กว่ามหาทานของพระเวสสันดรครั้งนี้มากมาย) แล้วลงท้ายพระองค์ตรัสว่า ทานของผู้ให้อาหารแก่คนมีสัมมาทิฏฐิเพียงคนเดียว มีผลมากกว่ามหาทานของเวลามพราหมณ์ที่กล่าวมานั้น และตรัสถึงกศลกรรมที่มีผลมากยิ่งๆ ขึ้นไป ตามลำดับ อรรถกถาอธิบายด้วยว่า ทานบางอย่างของเวลามพราหมณ์ก็ไม่นับว่าเป็นทาน แต่ให้เพราะจะให้ครบถ้วน ไม่ต้องมีใครมาพูดว่าไม่มีอันนั้นไม่มีอันนี้ ทำนองว่าให้ครบสมบูรณ์ตามนิยมของโลก ซึ่งมาเข้าข้อที่เป็นหลักทั่วไปว่า
จ) พระ โพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ก็คือกำลังพัฒนาตนอยู่ แม้จะบำเพ็ญความดีอย่างยวดยิ่งยากที่ใครอื่นจะทำได้ แต่เพราะยังไม่ตรัสรู้ ความดีที่ทำส่วนมากก็เป็นความดีตามที่นิยมยึดถือเข้าใจกันในกาลสมัยนั้นๆ คือทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในกาลเทศะนั้น เช่น ออกบวชเป็นฤาษี ได้ฌานสมาบัติ ได้โลกียอภิญญา แล้วไปเกิดในพรหมโลก (อรรถกถากล่าวว่าสุเมธดาบส ก่อนออกบวชก็ได้บริจาคสัตตสดกมหาทาน) จากคุณ | : ปล่อย | เขียนเมื่อ | : 28 ก.ค. 52 22:27:26 |
|
| | |