 |
การตัดสินตามคดีความ แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสสรรเสริญ
การเป็นผู้พิพากษานั้น จะได้ทำบาป ก็ต่อเมื่อ ได้วินิจฉัยคดีนั้น โดยขาดความเที่ยงตรงเท่านั้น
๑. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตฺถํ สหสา นเย โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺทิโต อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ.
บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำคดีไปโดยความ ผลุนผลัน; ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไปโดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำ เสมอ, ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว เป็นผู้มีปัญญา เรากล่าวว่า "ตั้งอยู่ในธรรม.
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัตถวรรคที่ ๑๙ ๑๙. ธัมมัฏฐวรรควรรณนา ๑. เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย [๑๙๔] http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=29&p=1
และแม้หากวินิจฉัยว่าบุคคลใด ต้องประหารชีวิต
ผู้พิพากษานั้นก็ไม่ได้แตะต้องหรือเปื้อนบาปด้วย เพราะจิตของผู้ที่ไม่มีบาป ย่อมไม่ติดบาป
ในเวลาที่ตัดสินประหารชีวิต ผู้พิพากษาบางท่าน ก็กลับเห็นใจผู้ต้องโทษ แต่ท่านเพียงตัดสินตามหน้าที่เท่านั้น ท่านไม่ใช่คนสั่ง
โปรดศึกษาผลกรรมของ ว่าด้วยเรื่อง บาปไม่มีแก่ผู้ไม่มีจิตทำบาป
๘. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ นาพฺพณํ วิสมเนฺวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้, บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้, เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น.
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙ ๘. เรื่องนายพรานกุกุกฏมิตร [๑๐๒] http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=8
จากคุณ |
:
Serene_Angelic
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ก.ย. 55 13:47:08
|
|
|
|
 |