[๔๒๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจออก ย่อม
ศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจเข้า อย่างไร ฯ
ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ ความสละคืนด้วยการบริจาค ๑ ความสละคืนด้วยความแล่นไป ๑ จิต (คิด) สละรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจเข้า จิต(คิด) สละเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วย การบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็นควาสละคืนด้วยการแล่นไป
บุคคลย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจเข้า ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา
ด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายอันเกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเกินกัน ฯลฯ
ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพสีลวิสุทธิ
ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณา ความสละคืนระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า จิตวิสุทธิ
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิ
ด้วยอรรถว่าเห็นความสำรวมในสีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา
บุคคลเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ ศึกษาอยู่ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืน หายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงย่อมรู้ จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ย่อมยังพละทั้งหลาย ให้ประชุมลง ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ เป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า ย่อมยังอินทรีย์
ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
ย่อมยังสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ในการพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ๔ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ นี้ ฯ
[๔๒๒] ญาณด้วยสามารถแห่งสมาธิ ๒๔ เป็นไฉน ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
เป็นสมาธิ ความที่จริงมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
เปลื้องจิตหายใจออกหายใจเข้า เป็นสมาธิ ญาณด้วยสามารถของสมาธิ ๒๔
เหล่านี้ ฯ
ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เป็นไฉน ฯ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์
วิปัสสนาด้วย อรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เหล่านี้ ฯ
นิพพิทาญาณ ๘ เป็นไฉน ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริงเพราะ
อรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง
รู้เห็นตามความเป็นจริง ฯลฯ ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะ
อรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลพิจารณาความสละคืนลมหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะ
อรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้า รู้เห็นตามความเป็นจริงนิพพิทาญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
นิพพิทานุโลมญาณ ๗ เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออกโดยความเป็นไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลม
ญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจออกปรากฏ โดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้าปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลม
หายใจออกโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทา
ปฏิปัสสัทธิญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ นิพ
พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
ญาณในวิมุติสุข ๒๑ เป็นไฉน ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งสักกายทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งวิจิกิจฉาด้วยโสดาปัตติมรรค ... เพราะละเพราะตัดขาดซึ่งสีลัพพตปรามาส ทิฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ด้วยโสดาปัตติมรรค ...
เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค ...
เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ด้วยอนาคามิมรรค
ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ด้วยอรหันตมรรค
ญาณในวิมุติสุข ๒๑ เหล่านี้เมื่อบุคคลเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ เหล่านี้อันสัมปยุตด้วยสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น ฯ
จบอานาปานกถา ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=362
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_31
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 55 13:02:39
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 55 12:39:19
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 55 12:37:52
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 55 12:34:23