 |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. จัณฑาลสูตร [๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอก ศาสนานั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน ศาสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ จบสูตรที่ ๕ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๗๙๘ - ๔๘๑๑. หน้าที่ ๒๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4798&Z=4811&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=175
อรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยในจัณฑาลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า อุปาสกปฏิกิฏฺโฐ ได้แก่ เป็นอุบาสกชั้นต่ำ. บทว่า โกตุหลมงฺคลโก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้ม เป็นมงคล ได้แก่ตื่นข่าว เพราะเป็นไปได้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้จักมีได้ด้วยเหตุนี้ดังนี้. บทว่า มงฺคลํ ปจฺเจติ โน กมฺมํ ได้แก่ มองดูแต่เรื่องมงคล ไม่มองดูเรื่องกรรม. บทว่า อิโต จ พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากศาสนานี้. บทว่า ปุพฺพการํ กโรติ ได้แก่ กระทำกุศลกิจมีทานเป็นต้นก่อน.
-------------------------------------------------------------
ในเรื่อง กรรม และ วิบาก นั้น ถ้าเชื่ออย่างมีเหตุผล ก็ถือว่า เป็นผู้มี ความเชื่ออันประกอบด้วยปัญญา คือ ศรัทธา นั่นเอง
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา --------------------------------------------------- วิบากของ อกุศลกรรม และ กุศลกรรม http://larndharma.org/index.php?/topic/254-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%96-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0-%e0%b8%9a/
จากคุณ |
:
เฉลิมศักดิ์1
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ก.ย. 55 17:08:42
|
|
|
|
 |