Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
“คำอริยะถึงในหลวง” ติดต่อทีมงาน

: ประวัติและผลงานของบุคคลที่ชื่นชมในหลวง รัชกาลที่ ๙ :

      สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

      เจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต   /  หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

      หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน   /  หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

      หลวงพ่อพุธ ฐานิโย   /  หลวงพ่อฤาษี (วัดท่าซุง) / หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร  

      พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (อดีตอุปัฎฐากหลวงปู่มั่น)   /  หลวงพ่ออุตตมะ  

      ครูบาพรหมจักร   /   หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต

     
“ถ้อยคำของพระอริยะ
ที่กล่าวถึง
ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน”

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙  ทรงเป็นที่ยอมรับทั้งจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช  รวมถึงพระอริยะและผู้ทรงคุณธรรมหลายท่าน ว่าทรงสนพระทัยในการศึกษาปฏิบัติธรรม ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติสมาธิ-วิปัสสนากรรมฐาน ทรงสนใจจริงจังทั้งขณะทรงออกบวชและหลังทรงลาสิกขาแล้ว  ก็ยังทรงนิมนต์พระกรรมฐานให้มาแสดง  พระธรรมเทศนาในพระราชวังเป็นประจำ

           เสด็จพระราชดำเนินพบปะเพื่อสนทนาธรรมกับพระวิปัสสนาจารย์หลายองค์ทั่วประเทศ  เช่น    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ,    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย,      หลวงปู่ดูลย์ อตุโล,     หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม,     หลวงพ่อพุธ ฐานิโย, พระอาจารย์แบน ธนากโร,    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,  หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา,    หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร,  หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย,  พระอาจารย์วัน อุตตโม,   หลวงปู่นำ ชินวโร, พระราชพรหมญาณ หลวงพ่อฤาษี,    หลวงพ่อเกษม เขมโก,      หลวงปู่สิม พุทฺธจาโร     ฯลฯ

       

             รวมคำพูดจากพระอริยะหลายรูปที่กล่าวถึง ในหลวงรัชกาลที่ ๙

       เริ่มจาก   สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก


"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนา
อย่างสมบูรณ์ มาตั้งแต่พระชนมพรรษายังน้อย ทรงพอพระราชหฤทัยในการฟังเทศน์
ที่มีอยู่เป็นประจำ เมื่อได้ทรงพบปะกับพระมหาเถระผู้ใหญ่  ก็มีพระราชปุจฉา
และทรงสดับข้อธรรมนั้นๆ อยู่เนืองๆ "


“...พระ ภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นใน พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด...”


“...ด้าน ที่เป็นการส่วนพระองค์นั้น ก็ทรงปฏิบัติพระองค์ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม ของพระพุทธศาสนา มีราชธรรม เป็นต้น ทรงศึกษาพระพุทธศาสนา และทรงนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ในโอกาสต่างๆ    และบำรุงพระสงฆ์   ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมากมิได้ขาด...”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ว่า
ทรงเป็นนักปริยัติที่เป็นพหูสูตรและนักปฏิบัติที่เคร่งครัด

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก(เจริญ สุวัฑฒโน) ทรงบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่ พ.ศ.2469   ขณะอายุ 14 ปี

ทรงขึ้นดำรงตำแหน่ง พระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อ พ.ศ. 2532
(จนถึงปัจจุบัน 2554)  


           ทรงสอบได้นักธรรม เอก เปรียญธรรม 9 ประโยค ทรงนิพนธ์ตำราทางด้านพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก  ทั้งตำราการศึกษาของนักเรียนบาลี ตำราพระธรรมเทศนา งานแปลเป็นภาษาต่าง ประเทศ ฯลฯ   ท่านศึกษาการปฏิบัติสมถภาวนาจากพระป่ากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์และผู้แตกฉานในธรรมว่า..   ทรงเป็นทั้งนักปริยัติที่เป็นพหูสูตรและนักปฏิบัติที่เคร่งครัด

           ทรงได้รับแต่งตั้ง ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนา
และงานบริหารคณะสงฆ์ มากมายหลายตำแหน่ง หลายวาระ ทรงมีบทบาทในการเผยแพร่ พัฒนา  ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในหลายๆ ด้าน    ทั้งในและต่างประเทศ

ทรงบูรณะซ่อมสร้าง  ปูชนียสถาน  วัด  เจดีย์  โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นจำนวนมาก  

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก(เจริญ สุวัฑฒโน) ได้บอกเล่าถึงความสนพระราชหฤทัย ในพระพุทธศาสนา

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ดังนี้ ............


           "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ มาตั้งแต่พระชนมพรรษายังน้อย ดัง ที่ได้เคยทราบไว้ ได้ทรงพอพระราชหฤทัยในการฟังเทศน์ที่มีอยู่เป็นประจำ ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศลถวายที่      พระบรมศพรัชกาลที่ ๘  แม้จะเป็นเทศน์กัณฑ์ยาว ก็ทรงพอพระราชหฤทัยฟัง ทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนา    เมื่อได้ทรงพบปะกับพระมหาเถระผู้ใหญ่

ก็มีพระราชปุจฉาและทรงสดับข้อธรรมนั้นๆ   อยู่เนืองๆ    โดยเฉพาะมีโอกาสเฝ้า

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร(ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ได้ทรงสดับฟังธรรมเป็นครั้งคราวตลอดมา ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยในธรรม และสนพระราชหฤทัยในพุทธศาสนามากขึ้น"


           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ได้เสด็จออกทรงพระผนวช                     ระหว่างวันที่  22  ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499    ในระหว่างนั้น ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด             ดังที่สมเด็จพระญาณสังวร - สมเด็จพระสังฆราช   สกลมหาสังฆปริณายก    ได้ทรงเล่าถึงพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระผนวช ว่า...

“...พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะได้ทรงพระผนวชตามราชประเพณีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ แต่ทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้เป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า “หัวใหม่” ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ  แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา   ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า... “บวชด้วยศรัทธา”   เพราะทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด...”


           สมเด็จพระสังฆราช ยังได้ทรงกล่าวถึงพระราชจริยวัตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า    “ในด้านหน้าที่ราชการนั้น ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางพระพุทธศาสนา ตามราชประเพณีโดยมิได้ขาดตกบกพร่อง  เช่น... พระราชกรณียกิจเนื่องในเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และในหัวเมือง


           พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์แด่พระสงฆ์ในการเอื้ออำนวยแก่การปกครองคณะสงฆ์  และเชิดชูผู้ทรงศีลทรงธรรมให้เป็นที่ปรากฏ       ตลอดถึงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์  การสั่งสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ     ในด้านที่เป็นการส่วนพระองค์นั้น  ก็ทรงปฏิบัติพระองค์ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม ของพระพุทธศาสนา มีราชธรรม  เป็นต้น     ทรง ศึกษาพระพุทธศาสนา และทรงนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นส่วนพระองค์ในโอกาสต่างๆ และบำรุงพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมากมิได้ขาด...”
[เรื่องเล่าแถมพิเศษ]
         

           คุณบรรณศาลา ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้เขียนเล่าในหนังสือหลวงตาวัดป่าบ้านตาดไว้ว่า เมื่อครั้งชุมชนหลังวัดบวรเกิดไฟไหม้ ชาวบ้านเข้าไปกราบขอความช่วยเหลือ

จากท่านเจ้าประคุณ สักพักท่านจึงเสด็จขึ้นไปบนตึกกรรมฐานชั้นห้า ทรงมองขึ้นไปบนท้องฟ้า โบกมือ 3 ครั้ง   ก็บังเกิดกลุ่มเมฆและฝนตกลงมาอย่างหนัก ดับไฟที่กำลังไหม้สนิทในเวลาไม่นาน เมื่อเสด็จลงมาเพื่อกลับกุฎิ ฝนก็หยุดตกในทันที   ประชาชนดีใจน้ำตานองหน้า ต่างก้มลงกราบกับพื้นไปตลอดทางที่ท่านกลับกุฎิ ซึ่งเป็นพระเมตตาที่ชาวบ้านย่านวัดบวรฯ   จดจำกันได้ดี


           เป็นเพียงเกล็ดเล็กน้อย ที่หยิบยกมาให้อ่านประดับความรู้ อาจไม่จำเป็นต้องเชื่อก็ได้     พลังจิตนั้นมีจริง  เป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์บางสาขาบ้างแล้ว

บางประเทศในทวีปยุโรป  ถึงกับจ้างนักพลังจิตเข้าทำงานราชการโดยตรง
และมีการค้นคว้าวิจัยกันอย่างจริงจัง


           หากสนใจลองศึกษาข้อมูลได้มากมายจากอินเตอร์เน็ตและวารสาทเกี่ยวกับศาสตร์ ด้านนี้โดยตรง วิชาพลังกายทิพย์เพื่อสุขภาพก็เป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ เป็นแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่งไปทั่วโลก    ยังมีอีกหลายอย่างที่คิดว่า  "งมงาย"

แต่วิทยาศาสตร์กำลังพิสูจน์ได้เรื่อยๆ
--------------------------------

แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 55 21:12:15

แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 55 21:10:32

 
 

จากคุณ : wutthitham
เขียนเมื่อ : 9 ต.ค. 55 20:42:22




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com