Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ผลวิจัยชี้ “นักวิทยาศาสตร์เกือบสามในสี่เห็นว่าศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์” ติดต่อทีมงาน

ผลวิจัยชี้ “นักวิทยาศาสตร์เกือบสามในสี่เห็นว่าศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์”

แม้ว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะเสมือนว่ามีเส้นแห่งความแตกต่างแบ่งแยกระหว่างหลักการทางศาสนาและวิทยาศาสตร์อยู่ แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Text กลับชี้ให้เห็นว่า ศาสนาบางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ที่เน้นถึงการใช้หลักเหตุและผลนั้นมีความสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ในระดับฐานราก

คณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยดอว์กินส์ ในออสเตรเลียได้ทำการทดลองเพื่อที่จะดูว่านักวิทยาศาสตร์มีความเห็นกับศาสนาเช่นไร การทดลองแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ

การทดลองส่วนแรก นักวิจัยส่งอีเมล์ไปให้นักวิทยาศาสตร์สายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของหลายประเทศ ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเซีย อ่านบทความที่ตัดมาจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ, คริสต์, อิสลาม, ฮินดู (โดยมีการดัดแปลงคำ, ชื่อบุคคล, สถานที่ที่บ่งชี้ถึงการเป็นศาสนาออก เพื่อตัดผลจากปัจจัยอคติต่อศาสนา) แล้วให้เลือกว่าบทความไหนบ้างที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์

ผลของการทดลองส่วนแรกปรากฏออกมาว่ามีนักวิทยาศาสตร์ถึง 70% กว่าๆ เลือกให้ข้อความที่มาจากศาสนาพุทธมีความเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ ส่วนคริสต์และอิสลาม มีเลือกเท่าๆ กันประมาณอย่างละ 30% แต่ก็มีจำนวนถึง 20% ที่ไม่ได้เลือกข้อใดเลย

การทดลองส่วนที่สองออกไปในแนวงานวิจัยสำรวจ โดยนักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์จำนวน 542 คนมาทำแบบทดสอบซึ่งใช้ประเมินว่านักศึกษาแต่ละคนมีความเคร่งในศาสนาที่ตนเองนับถือเพียงใดบ้าง (ในกลุ่มตัวอย่าง มี 246 คนนับถือคริสต์ 152 คนนับถืออิสลาม 30 คนนับถือพุทธ 46 คนนับถือฮินดู นอกนั้นบอกว่าตัวเองไม่นับถือศาสนาอะไรเลย) จากนั้นก็นำมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ของระดับความเคร่งกับคะแนนผลสอบที่นักศึกษาทำได้

จากการวิเคราะห์ นักวิจัยพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญว่านักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธและไม่ได้เคร่งครัดอะไรมากทำคะแนนในวิชาสายวิทยาศาสตร์ได้ดีกว่านักศึกษากลุ่มศาสนาอื่นๆ ส่วนกลุ่มนักศึกษาที่ทำคะแนนเฉลี่ยได้ต่ำที่สุดคือกลุ่มที่เคร่งศาสนาอิสลาม (Muslim Fundamentalist)

แม้ว่าผลของงานวิจัยทั้งสองส่วนจะแสดงให้เห็นแนวโน้มตรงกันว่าศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกันในระดับฐานรากเป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานวิจัยนี้สุ่มตัวอย่างจากประชากรซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้นนักวิจัยจึงยังคงไม่แน่ใจนักว่าผลที่ได้จะมีการคลาดเคลื่อนจากประชากรที่สุ่มกลุ่มตัวอย่างมาหรือเปล่า เราอาจจะต้องรอให้มีงานวิจัยลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนของผู้นับถือแต่ละศาสนาแตกต่างกันออกไปมายืนยันอีกที นอกจากนี้ในโลกแห่งความเป็นจริง นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ชอบตั้งอคติกับศาสนา การสรุปชี้ชัดว่าศาสนาพุทธเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้อาจก่อให้เกิดปัญหาทาง ‘การเมือง’ ตามมา

แก้ไขเมื่อ 15 ต.ค. 55 19:27:12

จากคุณ : wutthitham
เขียนเมื่อ : 15 ต.ค. 55 19:10:05




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com