Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ชาย ใช้ข้ออ้างใดในการให้เมียหลวงยอมรับการมีหญิงใหม่เพิ่ม ติดต่อทีมงาน

สมัยโบราณ ยุคที่ชายใหญ่ นิยมมีเมียหลายคน เพื่อเพิ่มประชากร เป็นแรงงาน และปรนนิบัติผัวได้ทั่วถึง จนตราเป็นกฎหมายมรดกในการแบ่งสมบัติ

บางประเทศเช่น จีน จะมีการคุ้มครองเมียหลวงในการรับมรดกจากผัว ซึ่งเมียน้อยจะได้น้อยกว่า จนเป็นเหตุให้ต้องแย่งตำแหน่งก็มี


จากที่เคยสอบถามจากหญิงที่เลี้ยงชีพเองได้มักได้ยินว่า

"จับได้ว่าจะมีใหม่ ตาย" คือไม่ยอมรับท่าเดียว

เหตุผลยอดนิยมที่หญิงจะยอมรับได้คือ ชาย รวย มีอิทธิพล ปรนเปรอได้สบาย ประเภทกัดก้อนเกลือกิน แล้วจะมีหลายเมีย ไม่พบในเขตที่เจริญแล้ว

การที่ชายมีเมียหลายคน มีทั่วโลก แต่ที่หญิงมีผัวหลายคน มีบางพื้นที่ ขออ้างอิงจากกระทู้นี้


Tibetan Polyandry: เมื่อผู้หญิงมีสามีทีละหลายคน...เพราะความจำเป็น

Polyandry คืออะไร

Polyandry เป็นรูปแบบการแต่งงานแบบหนึ่ง พบใน Tibet, Kashmir, Nepal, Buthan, Ladakh, Arunachal Pradesh (ตอ/ เหนือ ของ India), ชนเผ่า Mosuo, Marquesan Islands (Pacific), Amerindians (in the Canadian Arctic), Ceylon, Mongolia, South India (ชนเผ่า Toda) และชนเผ่าหลายกลุ่มใน Sub-Saharan Africa, Guanches, ชนพื้นเมืองของ the Canary Islands
 
มักพบในครอบครัวที่มีฐานะมากกว่าครอบครัวยากจน (คือ ที่เรียกว่ามีฐานะนี่หมายความว่า ลำบากน้อยหน่อย มีที่ทำกินมากกว่าครอบครัวอื่น) โดยในการแต่งงานแบบนี้ผู้ชายตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีภรรยาคนเดียวกัน (ผู้หญิงหนึ่งคนแต่งงานกับผู้ชายหลายคนในขณะเดียวกันนั่นเอง)

กรณีศึกษาที่จะกล่าวในวันนี้คือ Polyandry ที่พบ
ในชนเผ่าธิเบตที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเนปาล

Tibetan Polyandry  นั้นจะเป็นระบบ “พี่น้อง” กล่าวคือพี่น้องทุกคนในครอบครัวจะมีภรรยาคนเดียวกัน อยู่ร่วมกันภายในบ้านเดียวกัน บางครั้งผู้ชายกลุ่มนั้นจะเป็นพี่น้องต่างบิดา (คือเป็นเหล่าลูกชายที่เกิดมาจากครอบครัวแบบ polyandry แม่คนเดียว พ่อๆเป็นพี่น้องกัน) หรืออาจเป็นลูกพี่ลูกน้องกันก็ได้ การแต่งงานแบบนี้เรียกว่า Fraternal Polyandry (คือบรรดาสามีต้องเป็นน้องหรือญาติกันเท่านั้นไม่ใช่เป็นใครก็ได้)

ทำไมต้อง Fraternal Polyandry?

ลองเลือกคำตอบดูนะคะ

ก. เพิ่มอัตราการอยู่รอดของเด็กทารก
ข. เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ชายล้นตลาดโลก
ค. เพื่อรักษาสมบัติและที่ทำกินของครอบครัวให้เป็นปึกแผ่น
ง. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน
จ. สร้างความมั่นคงทางทรัพย์สินและจิตใจให้แก่ผู้หญิงในสังคมนั้น
ฉ. เพื่อความเท่าเทียมกัน ผู้ชายมีหลายเมียได้ ผู้หญิงก็น่าจะมีหลายผัวได้

คำตอบที่นักมานุษยวิทยาทำการศึกษา ค้นคว้า สัมภาษณ์ลงพื้นที่มา คือ ข้อ ก. ข้อ ค. และข้อ จ. ค่า


ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภูมิประเทศของเนปาล-ธิเบต บริเวณนั้นเต็มไปด้วยภูเขาสูงชัน แทบไม่มีที่ราบลุ่มให้ทำการเพาะปลูก อากาศหนาวเย็น อาหารไม่อุดมสมบูรณ์ อัตราการตายของทารกสูงมาก ผู้ชายมักต้องออกไปทำงานห่างไกลเป็นเวลานานๆเพื่อไปค้าขาย หรือเดินทางไปกับขบวนคาราวาน ผู้หญิงอายุไม่ยืนเนื่องจากความเป็นอยู่ที่ลำบากยากแค้น สภาพภูมิประเทศแบบนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรม Fraternal Polyandry ขึ้น (Cultural Ecology)

การแต่งงานแบบนี้ไม่ได้เกิดจากความมักมากหรือหลายใจของเจ้าสาว หากแต่เป็นการปรับตัวเชิงโครงสร้างของสังคมเพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้ดีมีโอกาสอยู่รอดมากกว่า (Social Darwinism) หากลูกชายทุกคนอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวเดียว

สมบัติย่อมเป็นปึกแผ่นมากกว่า ลูกๆได้รับการดูแลที่ดีกว่า มีโอกาสมีชีวิตรอดกว่า ผู้หญิงมีคนช่วยเลี้ยงลูก เพราะเมื่อสามีคนหนึ่งเดินทางไกลรอนแรมไปนานๆ สามีคนที่อยู่บ้านจะสามารถช่วยเหลือภรรยา และดูแลลูกๆได้ นอกจากนั้นผู้หญิงยังลดโอกาสเป็นหม้าย และลูกๆลดความเสี่ยงในการเป็นกำพร้า ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิตของทุกคน

จะเห็นได้ว่า Fraternal Polyandry เป็นวัฒนธรรมที่คงอยู่อย่างยืนยงและยาวนานในชุมชนธิเบตก็เพราะว่าวัฒนธรรมนี้มีประโยชน์ต่อสังคมนั้น (Functionalism)  หน้าที่สำคัญของ Fraternal Polyandry อีกประการหนึ่งคือ

"ช่วยจำกัดจำนวนประชากรให้สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย เพราะไม่ว่าผู้หญิงจะมีสามีหลายคน เธอก็ยังคงตั้งครรภ์ได้ครั้งละ 1 คน ต่างจากครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวหรือครอบครัวที่ผู้ชายมีภรรยาหลายคน"


นักมานุษยวิทยาบางคนกล่าวว่า polyandry เป็นวิธีคุมจำนวนประชากรอย่างหนึ่งด้วยซ้ำ (Stefan Anitei)

ยกตัวอย่างเช่น พี่น้อง 3 คน ต่างคนต่างแต่งงานไปเป็นสามคู่ เมียของแต่ละคนท้องพร้อมๆกัน ปู่ย่าตายายจะได้หลาน 3 คน ในปีนึงก็ยังได้

แต่ถ้าพี่น้องสามคนนี้แต่งงานกับผู้หญิงคนเดียวกัน อัตราการเพิ่มของประชากรน้อยกว่ากรณีแรกเป็นไหนๆ

รายละเอียดต่างๆติดตามจากลิงค์ได้เลย เพราะเยอะมาก

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/06/X12251893/X12251893.html


การที่ชายมีเมียหลายคน แต่โบราณมีเหตุผลจากหลายสาเหตุ และศาสนาไม่ได้มีส่วนบังคับในเรื่องนี้ทั้งหมด แต่ข้ออ้างศาสนาจะมีการอ้างถึง

ซึ่งวัฒนธรรมโบราณอย่างอุษาคเนย์ เน้นเรื่องการ "ผิดผัวผิดเมีย" ที่สุด ไม่มีแนวคิดเรื่องพรหมจารี ในกลุ่มชาวบ้าน

อย่างอินเดียมีข้อห้ามทางพุทธ เช่น

ไม่ยกย่องหญิงอื่นเยี่ยงภรรยาตน(แต่ไม่ได้ห้ามมีเมียหลายคน)
ห้ามผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน โดยที่ผู้ปกครองตามเงื่อนไข ไม่อนุญาต

การแต่งงานมีเมียหลายคนจึงเป็นลักษณะที่เพิ่มความมั่นคง ให้กับวงศ์ตระกูลไม่ใช่เรื่องความมักมากของฝ่ายชายเสียทีเดียว ซึ่งชายชาวบ้านอาจไม่สามารถมีเมียได้ทุกบ้าน เนื่องจากเลี้ยงดูไม่ได้ดี

ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์สุ่ย ก็มีฮองเฮาคนเดียว เพราะขี้หึงมาก ดุมาก จนฮ่องเต้กลัว ไม่กล้าแต่งตั้งใครเป็นสนมเอก

ในยุคปัจจุบัน นิยมผัวเดียวเมียเดียว แต่การที่ชายมีเมียหลายคนก็ยังนิยมอยู่ ซึ่งชายเหล่านั้นอ้างเหตุผลใด ให้เมียหลวงยอมรับ และเมียใหม่เข้าใจ จนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แม้แต่ลูกๆก็สามัคคีกัน มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร


รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วย ขอบคุณครับ

แก้ไขเมื่อ 18 ต.ค. 55 11:39:38

จากคุณ : ต็กโกวคิ้วป้าย
เขียนเมื่อ : 18 ต.ค. 55 11:07:42




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com