Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ความเข้าใจเรื่องการสังคายนา และปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก ติดต่อทีมงาน

ความเข้าใจเรื่องการสังคายนา
และปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก

 

(ต้นเรื่องที่เป็นเหตุให้เขียนกระทู้นี้ อยู่ที่กระทู้หนึ่งในห้องเฉลิมไทย เลขที่กระทู้ /A12836153 ชื่อกระทู้ "อ่านบทละครแรงเงา แล้วอึ้ง"  ผู้สนใจพึงไปอ่านต้นเรื่องได้ที่กระทู้ดังกล่าว)

 

เหตุที่ต้องเขียน

            ผมได้อ่านความคิดเห็นของบุคคลมากมายในโลกอินเตอร์เน็ต รวมถึงในเวทีสาธารณะและแวดวงวิชาการ รวมไปถึงได้ยินจากข่าวในสังคม เกี่ยวกับคำ ๆ หนึ่ง คือคำว่า สังคายนา

 

          ในบรรดาความเห็นทั้งหลายเหล่านั้น แต่ละคนก็ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า สังคายนา แตกต่างกันไป

 

-                     “พระไตรปิฎกสังคายนามาหลายครั้งแล้ว จึงไม่ควรเชื่อถือให้มากนัก”

-                     “พระไตรปิฎกได้รับการสังคายนามาหลายครั้งแล้ว อาจมีที่บิดเบือนไปจากเนื้อหาเดิม หรืออาจมีอะไรปลอมปนเข้าไปก็ได้”

-                     “เดี๋ยวนี้ปัญหาของสังคมมีมาก เราคงต้องสังคายนากันเสียที”

ความเข้าใจเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า คนส่วนมากเข้าใจว่าสังคายนา คือการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำอะไรใหม่ๆ

 

สิ่งที่ควรทำความเข้าใจก็คือ ความหมายของคำว่าสังคายนา การสังคายนาคืออะไร  และ พระไตรปิฎกได้รับการสังคายนา คือ “ทำอย่างไรกับพระไตรปิฎก” รวมไปถึง “ความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก”

 

ผมเองได้ตั้งใจว่าอยากจะเขียนเรื่องนี้อยู่นานแล้ว แต่ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีเวลา และเพราะเรื่องที่จะต้องเขียนนี้ เป็นเรื่องที่เปลืองเซลสมองอย่างมาก  ไม่ได้หมายถึงในทางไม่ดี แต่หมายถึง เวลาที่ต้องเขียนเรื่องยาก ๆ หรือเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ “มีคนที่พยายามจะไม่เข้าใจ” นั้น เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากขนาดไหน

 

จนกระทั่งได้มาพบกระทู้หนึ่งในห้องเฉลิมไทย มีท่านผู้หนึ่งได้ตั้งกระทู้กล่าวถึงบทละครเรื่องหนึ่ง ที่มีคำกล่าวของตัวละครในบทว่า “พ่อแม่ไม่ได้ถูกเสมอไป ไม่ได้เป็นพระพรหมอย่างที่เขาพูดกันหรอก ”  ซึ่งคุณผู้ตั้งกระทู้นั้น ได้กล่าวตำหนิไปถึงผู้เขียนบทว่า เป็นการดูหมิ่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผู้ที่กล่าวว่า “พ่อแม่เป็นพรหมของลูก” คือพระพุทธเจ้า

 

เมื่อผมได้อ่านแล้ว ก็ไม่ได้ไปคิดเซนซิทีฟอะไรถึงขนาดนั้นอย่างจขกท.ท่านดังกล่าว เพราะโดยปกติแล้ว ผู้เขียนบทละครโดยส่วนมาก (เว้นแต่ผู้ที่จะต้องเขียนบทละครเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ หรือพระพุทธศาสนา)  ก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา และไม่ได้รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร พระพุทธศาสนาสอนอะไร  หรือก็คือ “ผมไม่เชื่อว่าผู้เขียนบทละครจะรู้จักว่าคำสอนของพระพุทธเจ้ามีว่าอย่างไร”

 

ที่กล่าวนี้ไม่ได้เป็นการกล่าวในเชิงดูหมิ่น หรือดูถูก ว่าผู้เขียนบทละครดังกล่าวนั้น “โง่เขลา” , “เบาปัญญา”, “ไม่ได้รับการศึกษา” แต่อย่างใด แต่มองด้วยสายตาของคนทั่ว ๆ ไปว่า คนไทย หรือชาวพุทธไทยส่วนมากนั้น เวลาที่ได้ยินได้ฟังคำสอน หรือคำกล่าวอะไรซักอย่างหนึ่ง น้อยนักที่จะรู้ว่า ที่มาของคำดังกล่าวนั้นคืออะไร

แก้ไขเมื่อ 27 ต.ค. 55 02:18:28

แก้ไขเมื่อ 26 ต.ค. 55 18:28:08

แก้ไขเมื่อ 26 ต.ค. 55 18:24:45

จากคุณ : chohokun
เขียนเมื่อ : 26 ต.ค. 55 17:59:05




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com