จาก บทความข้างล่างนี้ คุณ Faraday และคุณ mce จะเห็นว่าอิสลามสอนในสิ่งที่ดี ทั้งใน "อัลกุรอาน" และใน "อะฮาดีษ"(ที่ตรงกับอัลกุรอาน), โดยเฉพาะเวลา สอนศาสนาและอธิบายหลักการศาสนาต่อผู้ต่างศาสนา, จากบทความนี้คุณทั้งสองจะพบว่า
อัลกุรอานจะกล่าวถึงความรุนแรงอยู่สองสถานะการณ์
คือ
1. ในยามสงครามในการต่อสู้ศัตรูที่ ที่ต่อต้านอิสลามตาม ประวัติศาสตร์ ในสมัยนั้น คือพวกอรับมุชริกที่ต่อต้านการประกาศ อิสลาม, และ
2. ความรุนแรงในการลงโทษผู้ที่ทำผิดคุณธรรมทางเพศ,โทษรุนแรงที่สุดคือการโบย 100 ที โดยไม่ต้องสงสาร ไม่มีโทษประหาร
ส่วนมากเราไม่ค่อยเห็นการสอนเช่นนี้ในการสนทนาจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความรุนแรงต่างๆในการสงครามที่มีอยู่ในอัลกุรอาน, เป็นเครื่องเตือนใจมุสลิม ให้มีความสามัคคีและเตรียมพร้อม ในการอดทนต่อสู้กับความชั่วช้าต่างๆ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการฆ่าฟันเท่านั้น แต่ให้แสวงหาการปรองดองกับศัตรูก่อน ด้วยความอดทนทางจิตใจ
*****************
จาก
http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=797&Itemid=1
ความแข็งกร้าว : หนึ่งในปรากฏการณ์ของความสุดโต่ง
ชัยคฺ ยูสุฟ อัล เกาะเราะฎอวียฺ
อาอิช แปลและเรียบเรียง
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของความสุดโต่งนั่นคือ ความแข็งกร้าวในการปะติสัมพันธ์และมีความแข็งกระด้างในการใช้วิธีการต่างๆในงานดะอฺวะฮฺซึ่งตรงข้ามกับทางนำที่มาจากอัลลอฮฺและการชี้นำจากท่านเราะซูล ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม
อัล ลอฮฺ ตะอาลา สั่งให้เราเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺด้วยความสุภาพอ่อนโยนที่ปราศจากความ โกรธ และด้วยคำตักเตือนที่ดี ที่ไม่ใช้วิธีการที่หยาบกระด้างและเราจะต้องโต้แย้งด้วยสิ่งที่ดียิ่งกว่า
((ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ...))
จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า.... อัน นะหฺลฺ 125
พระองค์ทรงบอกถึงคุณลักษณะท่านรอซูล ด้วยคำพูดของพระองค์เองว่า
((لَقَدْ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنْفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُمْ بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ))
แท้ จริงมีรอซูลท่านหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยในพวกท่าน เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาสงสารต่อบรรดาผู้ศรัทธา อัตเตาบะฮฺ 128
พระองค์ทรงกล่าวกับท่านรอซูล ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของท่านกับบรรดาศอฮาบะฮฺว่า
((فَبِمَا رَحْمَةٍ مِنَ اللَّهِ لِنْتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنْتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لَانْفَضُّوا مِنْ حَوْلِكَ...))
เนื่อง ด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺนั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขาและถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆ เจ้ากันแล้ว... อาลิ อิมรอน 159
อัล กุรอานไม่เคยกล่าวถึงความแข็งกร้าวยกเว้นสองประการ
ประการแรก ในสมรภูมิรบและการเผชิญหน้ากับศัตรู ซึ่งจำเป็นที่เหล่าทหารต้องมีชัยชนะ ที่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการปะทะ และขจัดความรู้สึกสงสารออก จนกระทั่งสงครามได้ยุติลง ในเรื่องนี้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า
((...قَاتِلُوا الَّذِينَ يَلُونَكُمْ مِنَ الْكُفَّارِ وَلْيَجِدُوا فِيكُمْ غِلْظَةً...))
...จงสู้รบกับบรรดาผู้ที่อยู่ใกล้เคียงพวกท่าน ที่เป็นผู้ปฏิเสธเสียก่อน และจงให้พวกเขาเหล่านั้นประสบกับความรุนแรงจากพวกท่าน... อัต เตาบะฮฺ 123
ประการที่สอง คือกระทำการลงโทษทางชะรีอะฮฺที่เป็นไปตามสิทธิของมัน ซึ่งจะไม่มีความความสงสารเมตตาปราณีในการยืนหยัดขอบเขตของอัลลอฮฺบนหน้าแผ่นดิน
((...وَلَا تَأْخُذْكُمْ بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ...))
...และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสอง ในบทบัญญัติของอัลลอฮฺเป็นอันขาด... อันนูร 2
สำหรับในสนามการทำงานดะอฺวะฮฺ จะไม่ใช้ความแข็งกร้าวและความแข็งกระด้างใดๆทั้งสิ้น ในหะดีษศอฮี้ยฺต้นหนึ่งกล่าวว่า
إن الله رفيق يحب الرفق في الأمر كله
แท้จริงอัลลอฮฺทรงอ่อนโยน ทรงรักความสุภาพอ่อนโยนในทุกกิจการงาน (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 6927 )
ผู้ใดก็ตามที่สั่งใช้ให้ทำความดี ดังนั้นจงทำการงานของเขาด้วยความสุภาพอ่อนโยนท่านนบี ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
إِنَّ الرِّفْقَ لَا يَكُونُ فِي شَيْءٍ إِلَّا زَانَهُ وَلَا يُنْزَعُ مِنْ شَيْءٍ إِلَّا شَانَه
แท้จริงความอ่อนโยนนุ่มนวลนั้นไม่มีอยู่ในสิ่งใด เว้นแต่จะทำให้สิ่งนั้นงดงามขึ้น และจะไม่ถูกดึงออกจากสิ่งใดเว้นแต่จะทำให้สิ่งนั้นมีตำหนิ (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 6767)