Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
การบริหารความขัดแย้งตามแนวทางของอิสลาม ติดต่อทีมงาน

       บทความนี้ เป็นบทความที่อาจจะมีผู้นำมาโพสต์แล้ว ซึ่งผมเห็นว่า อาจจะเป็นประโยชน์แก่ เพื่อนสมาชิกมุสลิมและสมาชิกผู้ต่างศรัทธาเพื่อจะได้เข้าใจถึงหลักการของอิสลาม   ซึ่งเน้นถึงด้านคุณธรรมและจริยาธรรมโดย พยายามที่จะสอนให้สังคมเกิดความสามัคคีและอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจหลักการอิสลามที่ถูกต้อง

 

  อธิบายให้เข้าใจหลักการของอิสลามในการ “ต่อสู้ตามแนวทางของพระเจ้า”   โดยเน้นให้ใช้สติปัญญามากกว่าการใช้กำลังหรือการถกเถียงกันอย่างไร้สาระ  เขียนโดยผู้รู้ที่รักความสงบอย่างแท้จริง ผู้ซึ่งไม่สนับสนุนความรุนแรงและการโต้เถียงโดยไร้สาระ ซึ่งผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์ ในความเข้าใจอิสลามในทางที่ดี, สำหรับสมาชิก ทุกๆท่าน

 

 .........

 

 การบริหารความขัดแย้งตามแนวทางของอิสลาม


 วิทยานิพนธ์ อ.มูฮัมหมัด   เชื้อดี


 อิสลามมีแบบบริหารความขัดแย้งสรุปได้ 5 แบบดังนี้

 1.  การต่อสู้  หมายถึง  การเอาแพ้-เอาชนะ  การทำให้ความจริงปรากฏ
 2.  การประนีประนอม  หมายถึง  การเจรจา  การต่อรอง  การปองดอง  และการไกล่เกลี่ย
 3.  การร่วมมือ  หมายถึง  การระดมความคิดเห็น   การผสานความร่วมมือร่วมใจเข้าด้วยกัน
 4.  การขออภัย- การให้อภัย  หมายถึง  การยกโทษ  ไม่ถือโกรธ  การไม่ติกอกติดใจเมื่อตนเองเป็นฝ่ายถูก  การขออภัย    การยอมรับผิดและรับผิดชอบในกรณีที่ตนเองเป็นฝ่ายผิด
 5.  การนิ่งเฉย  หมายถึง การไม่แสดงออกด้วยประการใดๆไม่ใช่แสดงถึงการหลีกเลี่ยงปัญหาแต่เป็นการแสดงให้ทุกฝ่ายรับรู้ว่าไม่มีฝ่ายใดผิด เป็นการบอกให้รู้ถึงทุกฝ่ายถูกต้องไม่ควรที่จะมาขัดแย้งหรือโต้เถียงกัน

(พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านพร้อมความหมายภาษาไทย, 1419)

 

สามารถอธิบายได้ดังนี้


1.  การต่อสู้  

อัลลอฮ์  ได้ทรงกล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านดังนี้

บทที่ 2 โองการที่ 190 มีความว่า

 "และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ ต่อบรรดาผู้ที่ทำลายพวกเจ้าและจงอย่ารุกราน  แท้จริงอัลลอฮ์ ไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน" (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย,1419 : 60)

บทที่ โองการที่  191  มีความว่า

 "และจงประหัตประหารพวกเขา(ศัตรูผู้รุกราน)  ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขาและจงขับไล่พวกเขาออกจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออก" (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย,1419: 60)

บทที่  37  โองการที่  26  มีความว่า

"ดังนั้นเจ้าจงตัดสินกรณีพิพาทระหว่างมนุษย์ทั้งหลายด้วยสัจจะเถิด(ตามความเป็นจริง)และอย่าได้ตัดสินตามอารมณ์ของเจ้าเป็นอันขาดอันจะทำให้เจ้าหลงออกจากทางของอัลลอฮ์  " (ต่วน   สุวรรณศาสน์.มบป,23 : 2088 )
  
           จารึกเซ็นเจริญ  มุฮัมมัด  พายิบ( 2540,  3:566) กล่าวว่า  ท่านอีหม่ามบุคอรี (191) ได้กล่าวว่า  เมื่อผู้ปกครองแนะนำให้ปรองดองกัน  แต่เขา(จำเลย)ปฏิเสธกรณีเช่นนี้ให้ผู้ปกครองชี้ขาดไปตามพยานหลักฐาน

           ดังนั้นการต่อสู้เป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แก้ไขความขัดแย้งตามแนวทางของอิสลาม  เพราะบางปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการอื่น  อิสลามจึงได้วางกรอบของการต่อสู้ไว้ว่าคือต้องไม่ละเมิด ไม่รุกราน ไม่ใช้อารมณ์  อันจะนำไปสู่ความไม่ถูกต้องและชอบธรรมเนื่องจากการต่อสู้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เด็ดขาดและรุนแรง

2.   การประนีประนอม  

อัลลอฮ์ ได้ทรงกล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านดังนี้

บทที่  4  โองการที่  114  มีความว่า

 "ไม่มีความดีในส่วนใหญ่จากการซุบซิบของพวกเขา  นอกจากผู้ที่ใช้ให้บริจาคทาน  หรือใช้ให้ทำความดี  หรือไกล่เกลี่ยในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน   และผู้ใดกระทำการดังกล่าวนั้นโดยแสวงหาความพอใจของอัลลอฮ์  ดังนั้นต่อไปเราจะให้ผลบุญแก่เขาอย่างใหญ่หลวง" (อรุณ  บุญชม.  2529,  3:414)

บทที่  4  โองการที่  128  มีความว่า

 "และหากหญิงใดเกรงว่าจะมีการปึ่งชาหรือมีการผินหลังให้จากสามีของนางแล้วก็ไม่มีบาปใดๆ  แก่ทั้งสองที่จะตกลงประนีประนอมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง    และการประนีประนอมนั้นเป็นสิ่งดีกว่า"  (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย,1419 :220)

บทที่  8  โองการที่  1  มีความว่า

 "ท่านทั้งหลายจงยำเกรงอัลลอฮ์ และจงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท "(อรุณ  บุญชม. มบป, 2:87)

บทที่  48  โองการที่  9  มีความว่า

 "และหากคนทั้งสองกลุ่มจากพวกที่มีศรัทธา  ได้ทำการรบกันหรือพิพาทกัน  พวกเจ้าต้องปรองดองในระหว่างทั้งสองกลุ่มนั้นเถิด  ดังนั้นถ้ากลุ่มใดจากทั้งสองเป็นผู้ล่วงละเมิดแก่อีกกลุ่มหนึ่ง  คือไม่รับฟังคำเตือน  และไม่ยอมรับในการปรองดองซึ่งเป็นหลักการที่อัลลอฮ์ ทรงกำหนดไว้  พวกเจ้าก็จงช่วยเหลือฝ่ายที่ถูกละเมิดรบกับฝ่ายที่ล่วงละเมิดจนกระทั้งฝ่ายนั้นกลับคืนสู่คำบัญชาแห่งอัลลอฮ์ โดยดุษฎี  ครั้นเมื่อฝ่ายนั้นคืนสู่คำบัญชาแห่งอัลลอฮ์ แล้ว   พวกเจ้าก็จงประนีประนอมในระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม   และพวกเจ้าก็จงยุติธรรมเพราะแท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรักบรรดาผู้ยุติธรรม"  (ต่วน  สุวรรณศาสน์. มบป,  26:2333)

บทที่ 49 โองการที่ มีความว่า

"และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกันพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่ายคือหาทางให้ทั้งสองฝ่ายยุติข้อขัดแย้งและประนีประนอมด้วยความยุติธรรม"

 "และหากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่ง  คือไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยและยังดื้อรั้นที่ปฏิบัติตามอารมณ์ของตนแล้ว  พวกเจ้าจงปรามฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮ์  ฉะนั้นหากฝ่ายนั้นกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮ์ แล้ว  พวกเจ้าจงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม  และพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเถิด   แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม  " (สมาคมนักเรียนเก่าประเทศไทย,1419  :1349-1350)

บทที่  49  โองการที่  10  มีความว่า

 "แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน  ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า  และจงยำเกรงอัลลอฮ์ เถิด  เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา"   (สมาคมนักเรียนเก่าประเทศไทย,1419 :1350)

           ดังนั้นการประนีประนอมเป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แก้ไขความขัดแย้งตามแนวทางของอิสลาม  อิสลามสนับสนุนส่งเสริมอย่างยิ่งให้ใช้วิธีการนี้ในการแก้ไขความขัดแย้งแม้ในบางประเด็นที่ได้มีการตัดสิน พิพากษาไปแล้ว   เพราะทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลายความรู้สึก  เกิดความปรองดอง  สามารถที่จะปฏิบัติงานร่วมกันต่อไปได้อย่างราบรื่นภายใต้บรรยากาศที่ดี

 

จากคุณ : แมทท์
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 55 18:05:43




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com