ตอบ คุณต่อ นิดหน่อย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในความหวังดีของคุณต่อฯ
ที่อยากให้เข้าสู่ทางที่ถูกต้อง แต่ วันนี้ปัจจุบัน นี้ ยังไม่มีอะไรมาหักล้างความ
ถูกต้อง ของวิชชาธรรมกาย "หยุด คือตัวสำเร็จได้" เปรียบเหมือน สมการ ทั้งหลายในโลกก็ไม่สามารถ พิสูจณ์ว่า ทฤษฏีของ
เซอร์ไอแซคนิวตัน ผิดพลาดได้แม้แต่น้อย แค่กฏการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้ม
ถ่วงของโลก ทั้งแนวตรงแนวโค้ง เมื่อมันเป็นความจริงแล้ว ไม่พลาดแม้แต่น้อย
มนุษย์ใช้มันคำนวณ และสร้างยานอวกาศ จนสามารถ ออกนอกวงโคจรของโลกได้
ก็เพราะเข้าใจประยุกค์ กับการเคลื่อนที่วิถีโค้ง จากการหล่นของแอปเปิ้ล (วิถีตรง)
กระผมคงต้องขอ ยก เอาพระสูตรขึ้นมาบ้าง(บางส่วน) เพื่อแก้ความ เข้าใจที่
อาจจะคลาดเคลื่อน กับวิชชาธรรมกาย และ ขอตอบกระทู้ ของหลวงพี่ในคลิปนั่น
บ้างว่า วิชาธรรมกาย นั้นไม่มีในพระไตรปิฏก แต่ถ้าแยกคำว่า "วิชชา" กับ "ธรรมกาย"
นั้นมีแน่ในพระไตรปิฏก
และขอแก้ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ของคุณ เจตวิมุติ ด้วย พระไตรปิฏกอ้างอิง
เกี่ยวกับอาณาปาณสติ และ หยุด อย่างเดียว เข้าถึงนิพพานได้อย่างไร ?
ไม่มีพระไตรปิฏกตอนใดกล่าวว่าให้ทิ้งนิมิต เพียงแต่บอกว่า ไม่ให้พอใจกับ
ความว่าง หรือ ความหยุด อุเบกขาแค่นั้น ให้ดำเนินต่อไปอีก
เกี่ยวกับอาณาปาณสติ
[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง
ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย
สังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐
เกี่ยวกับ หยุดคือตัวสำเร็จจนถึงอรหันตผล
จาก มหาวรรคอานาปานกถา
[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
เบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ฯ
[๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
เท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 55 09:10:31