ความคิดเห็นที่ 4
1) อสงไขย
นิยาม : มากจนนับไม่ถ้วน. นิยาม : ชื่อมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง ๒๐
ข้อมูล:ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ 2) สมมุติว่าเราเริ่มนับเลข และนับต่อไปโดยไม่หยุดทั้งวันทั้งคืนตลอดชีวิตของเรา เราจะได้เลขตัวสุดท้ายเป็นอะไร คำตอบก็คือ ไม่มีเลขตัวสุดท้าย ผู้ที่ศึกษาทางคณิตศาสตร์จะบอกเราว่า เราไม่สามารถนับไปถึงเลขสุดท้ายได้เลย ไม่ว่าเราจะนับไปถึงเลขมากแค่ไหน ก็จะยังมีเลขที่มากกว่านั้นอยู่ต่อไปอีก ข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญในทางด้านวิทยาศาสตร์ เขาให้ชื่อเลขที่ไม่สิ้นสุดนี้ว่า Infinity เลขล้านนั้นมากอยู่แล้ว แต่ล้านล้านยิ่งมากกว่า จากนั้นเราก็มักไม่ใช้ชื่อเรียกมันต่อไป เลขใหญ่ที่สุดที่มีชื่อเรียกก็คือ Googol ตั้งต้นด้วยเลข 1 แล้วต่อท้ายด้วยเลข 0 ร้อยตัว สำหรับคำเรียกจำนวนนับมากๆ ของไทยก็มีอยู่หลายคำ เช่น โกฏิ 10,000,000 ปโกฏิ 100,000,000,000,000 อักโขภิณี 1 มีศูนย์ตาม 42 ตัว อสงไขย โกฏิกำลัง 20 คือมากจนนับไม่ถ้วน
ข้อมูล:หนังสือคำถามคาใจ เล่ม 3
3) เซตอนันต์หรือเซตอสงไขย คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด การนับจำนวนสมาชิกในเซตอนันต์จะไม่สิ้นสุด เพราะถ้าการนับสิ้นสุด เราบอกจำนวนสมาชิกได้เป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งเซตที่มีลักษณะดังนี้เป็นเซตจำกัด เซตต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเซตอนันต์ เซตของจำนวนเต็ม หรือ { 0, 1, -1, 2, -2,... } เซตของจำนวนตรรกยะ เซตของจุดบนระนาบ เซตของวงกลมบนระนาบ
ข้อมูล: Thailand Junior Encyclopedia Project
4) อสงไขย = incalculable ข้อมูล:พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ไทย-อังกฤษ
5) กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย คือ การกำหนดเวลาที่จะนับจะประมาณไม่ได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า เรามาศึกษากาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย ที่เราได้ยินว่า ๒๐ อสงไขย ๔๐ อสงไขย ๘๐ อสงไขย อสงไขยคืออะไร
กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย คือการกำหนดเวลาที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง ๓ ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง ๓ ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือระยะเวลา ๑ อสงไขย ส่วนกาลเวลาที่เรียกว่า มหากัป คือ ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า มีภูเขาศิลาแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง อย่างละ ๑ โยชน์ เมื่อครบ ๑๐๐ ปีทิพย์ จะมีเทวดานำผ้าทิพย์ที่บางเบาเหมือนควันมาลูบ ๑ ครั้ง เมื่อใดที่เทวดาได้นำผ้าทิพย์บางเบาเหมือนควันมาลูบ จนภูเขาสึกกร่อนเรียบเสมอพื้นดิน เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า ๑ มหากัป
หรืออีกอุปมาหนึ่งว่า มีกำแพงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มหึมา มีความกว้าง ยาว ลึกอย่างละ ๑ โยชน์ เมื่อครบ ๑๐๐ ปีทิพย์จะมีเทวดาองค์หนึ่ง นำเมล็ดพันธุ์ผักกาดซึ่งเมล็ดนิดเดียว มาหยอดใส่ในกำแพงสี่เหลี่ยมนั้น ๑ เมล็ด เมื่อใดที่เทวดานั้นนำเมล็ดผักกาดมาหยอดใส่จนเต็มเสมอขอบปากกำแพงนั้น เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า ๑ มหากัป มหากัปนั้นจะแบ่งเป็น ๔ ช่วง โดยสมมุติว่า เรามีเค้กอยู่ก้อนหนึ่ง เราแบ่งเค้กนั้นออกเป็น ๔ ชิ้นเท่ากัน ในแต่ละชิ้นมีระยะเวลาเท่ากับ ๖๔ อันตรกัป
ชิ้นที่ ๑ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังถูกทำลาย หรือกัป กำลังพินาศอยู่ เป็นช่วงที่เกิดบรรลัยกัลป์ อาจจะ เป็นไฟบรรลัยกัลป์ เกิดไฟไหม้ หรือน้ำบรรลัยกัลป์ เกิดน้ำท่วม หรือลมบรรลัยกัลป์ เกิดลมพายุ อย่างใดอย่างหนึ่ง สมมุติว่า เกิดไฟบรรลัยกัลป์ ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
ชิ้นที่ ๒ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขย-กัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย เรียบร้อยไปแล้ว จนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า สมมุติว่า ไฟบรรลัย-กัลป์ไหม้ไปแล้ว ช่วงนี้ไฟเริ่มมอด แต่ยังระอุอยู่เป็นเวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
ชิ้นที่ ๓ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังพัฒนาสู่ภาวะปกติ หรือกัปที่เจริญขึ้น เป็นช่วงที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
ชิ้นที่ ๔ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อย เป็นปกติตามเดิม คือ มีสิ่งมีชีวิตปรากฏเกิดขึ้น มีต้นไม้ ภูเขา คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเป็นช่วงที่เรากำลังอยู่ โดยเริ่มจากอาภัสราพรหม ลงมากินง้วนดิน ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
ต่อจากนี้เรามาศึกษาว่า ๑ อันตรกัป มีระยะเวลานานขนาดไหน ๑ อันตรกัป คือ ช่วงที่มนุษย์มีอายุสูงสุดถึง ๑ อสงไขยปี คือ อายุมนุษย์ที่นับประมาณมิได้ และค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ คือ ๑๐๐ ปี ลด ๑ ปี จนกระทั่งอายุมนุษย์เหลือเพียงแค่ ๑๐ ปี ที่อายุมนุษย์เสื่อมลง เพราะสั่งสมอกุศลธรรมมากขึ้น เรียกว่า ไขลง จากนั้นมนุษย์ก็สั่งสมกุศลธรรมมากขึ้น เรียกว่า ไขขึ้น อายุมนุษย์จึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จาก ๑๐ ปี คือ ๑๐๐ ปี เพิ่ม ๑ ปี ไปจนกระทั่งอายุมนุษย์สูงสุดคือ ๑ อสงไขยปี ดังนั้นสรุปว่า ช่วงอายุมนุษย์ตั้งแต่ ๑ อสงไขยปีลดลงเหลือ ๑๐ ปี และจาก ๑๐ ปี เพิ่มขึ้นจนถึงอสงไขยปี อย่างนี้จึงเรียกว่า ๑ อันตรกัป
เพราะฉะนั้น ระยะเวลา ๔ ช่วงรวมกันแล้วเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ มหากัป
ข้อมูล:พุทธประวัติ หน่วยของเวลา "มหากัป" เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
จากคุณ :
mop (ebusiness)
- [
7 ม.ค. 48 11:46:01
]
|
|
|