ความคิดเห็นที่ 140
อนึ่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้รายงานว่า จากการติดตามของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติพบว่า การดำเนินการของวัดพระธรรมกายเบี่ยงเบนไป 2 ประเด็น คือ
1. ประเด็นความเบี่ยงเบนทางหลักธรรมคำสอน เช่น กรณีนิพพานเป็นอัตตา เป็นความสุขที่เที่ยงแท้ หรือการเขียนดัดแปลงมงคลชีวิต 38 ประการของ พระสมชาย ฐานวุฑโฒ แล้วซึมซับเข้าไปในความรับรู้ของเยาวชน ด้วยการให้ตอบปัญหาชิงรางวัลในนามของ ชมรมพุทธศาสตร์สากล ทั่วประเทศ
2. การเบี่ยงเบนในทางโลก คือ การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการระดมเงินเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งสังคมไทยกำลังสงสัยกันอยู่ว่า การระดมเงินต่าง ๆ มีความโปร่งใสเพียงใดในการนำไปใช้สอยตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค เป็นการจัดหาเงินหรือระดมทุนที่ไม่เหมาะสมหลายประการ เช่น
เมื่อปี พ.ศ.2534 มีการจัดหาสมาชิกโดยดำเนินการจัดทำ บัตรเศรษฐี สืบเนื่องจากทางวัดได้กำหนดเป้าหมายหาเงินบริจาคเข้าวัดปีละ 300 ล้านบาท โดยกำหนดสมาชิกไว้ประมาณ 30,000 คน ซึ่งแต่ละคนจะต้องหาเงินเข้าวัดให้ได้เดือนละไม่ต่ำว่า 1,000 บาท ถ้าทำได้ตามที่กำหนดก็จะได้ บัตรเศรษฐี และได้อานิสงส์ผลบุญตามที่ทำ อนึ่งทางวัดได้จัดให้มีการทอดกฐินหรือผ้าป่าสามัคคี โดยมีประธานถาวร คือ แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ส่วนผู้ร่วมทำบุญจะมีตำแหน่งเป็นประธานรอง จำนวนเงินทำบุญของประธานรอง คือ 1 ล้านบาท เมื่อวันที 1 พย. 2535 ในงานทอดกฐินมีผู้เป็นประธานรองจำนวน 400 คน คนละ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากมายทีเดียว ถ้านำเงินบริจาคไปดำเนินการต่าง ๆ ด้วยความโปร่งใสก็ไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าไม่ชัดเจนย่อมก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ มากมาย
กรณีการรับบริจาคทองคำบริสุทธิ์หล่อรูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ) เท่าตัวจริง หนักประมาณ 1 ตัน มูลค่าประมาณ 320 ล้านบาท ซึ่งได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หนักถึง 1 ตันจริงหรือไม่ (นายช่างผู้ออกแบบแม่พิมพ์ของกรมศิลปากรได้ให้สัมภาษณ์ว่า แบบแม่พิมพ์ดังกล่าวสามารถบรรจุทองคำได้เพียง 420 กิโลกรัมเท่านั้น)
ประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ก็คือ การระดมทุนสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งต้องตอกเสาเข็มจำนวน 3,333 ต้น กำหนดราคาทำบุญไว้ต้นละ 1 แสนบาท และสร้างพระธรรมกายประจำตัวจำนวน 1 ล้านองค์ ราคาองค์ละ 10,000 30,000 บาท แล้วแต่ตำแหน่งที่จะตั้งในองค์เจดีย์ และยังมีการระดมทุนสร้างวิหารพระมงคลเทพมุนี เพื่อประดิษฐานรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนีมูลค่าก่อสร้างประมาณ 400 ล้านบาท เป็นต้น
นอกจากคำสรุปของสำนักข่าวกรองแห่งชาติข้างต้นแล้ว ยังมีเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมว่า มีโครงการสร้างพระธรรมกายประจำตัวทองคำ เพื่อประดิษฐานบริเวณยอดมหาวิสุทธิ์บัลลังก็ (ยอดโดมมหาธรรมกายเจดีย์) ซึ่งเชื่อว่ามีราคาตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป จำนวน 10,000 องค์ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบข้อมูลอีกว่า มีการระดมเงินบริจาคเพื่อร่วมสร้างพระพุทธรูปเงินแท้ น้ำหนัก 14 ตัน เพื่อประดิษฐานบนยอมโดมเช่นเดียวกัน จากหลักฐานภาพถ่ายไม่ปรากฏเป็นเงินแท้มันวาว และข้อความประชาสัมพันธ์ของทางวัดไม่ได้พูดถึงพระพุทธรูปเงินองค์นี้อีกเลย ผิดกับกรณีของหลวงพ่อสดทองคำหนัก 1 ตัน ที่โหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ (จากหน้าโฆษณาประชาสัมพันธ์, วารสารกัลยาณมิตร, วารสารรายเดือนของวัดพระธรรมกาย, ระหว่างปี 2538-2541)
อีกกรณีหนึ่งที่มีหลักฐานชัดเจนคือ โครงการกัลปพฤกษ์ ที่เข้าข่ายฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2529 โดยพระไชยบูลย์ ธัมมชโย อ้างว่า มีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งเคยตรัสรู้ใต้ต้นกัลปพฤกษ์มาแล้ว และถือเป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนา วัดพระธรรมกายได้ตั้งเป้าจะปลูกต้นกัลปพฤกษ์ 25,000 ต้น ในพื้นที่ 1,000 ไร่ โดยใช้ระยะเวลา 5 ปี มีข้อความโฆษณาเชิญชวนบอกบุญปรากฏใน วารสารกัลยาณมิตร หลายฉบับของปี พ.ศ.2529 โดยคิดค่าปลูกและดูแลตลอดชีพ ต้นละ 20,000 บาท ได้กำหนดสถานที่ปลูกไว้เป็น 2 แห่ง แห่งละ 25,000 ต้น แห่งแรกคือสถานธรรมปฏิบัติบริเวณดอยสุเทพ-ปุย และบริเวณที่ 2 คือลานธรรมภายในวัดพระธรรมกาย ปัจจุบันนี้มีต้นกัลปพฤกษ์หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ต้น
เฉพาะที่บริเวณดอยสุเทพ-ปุยเท่านั้น ซึ่งโครงการนี้ทางวัดได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนเงิน 1,000 ล้านบาท (วารสารกัลยาณมิตร, ในระหว่างปี 2529-2530)
อนึ่ง โครงการ ทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างมหาวิสุทธิบัลลังก์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 พย. 2541 ทางวัดพระธรรมกายได้โฆษณาเชิญชวนร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง มหาวิสุทธิบัลลังก์ (Cladding for Buddha Images) เพื่อประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว ณ มหาธรรมกายเจดีย์ ความว่า ผู้ร่วมบุญหรือผู้รวบรวมกองกฐินสามัคคี 1 กองบุญ กองบุญละ 5,000 บาท จะได้รับของที่ระลึกเป็น เหรียญกล้ารวย 1 เหรียญ, ผู้ร่วมบุญหรือผู้รวบรวม 10 กองบุญ (50,000 บาท) จะได้รับการจารึกชื่อที่มหาวิสุทธิบัลลังก์ ส่วนเชิงลาด จะได้รับของที่ระลึกเป็นเหรียญกล้ารวย 20 เหรียญ โดยไม่จำกัดจำนวนกองบุญ คาดว่าจะรวบรวมเงินบริจาคได้หลายร้อยล้านบาท (ข้อมูลจากแผ่นพับประชาสัมพันธ์ การทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างมหาวิสุทธิบัลลังก์ของวัดพระธรรมกาย พ.ศ.2541)
ในเรื่องการทำบุญลักษณะดังกล่าวข้างต้นนั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าววิเคราะห์ไว้ในงานแสดงมุทิตาสักการะแก่พระธรรมปิฎก เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อวันที่ 17 มค. 2542 มีใจความว่า
เรื่องการทำบุญนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า มีวิธีการอยู่หลายอย่าง เวลานี้ความเข้าใจเรื่องบุญของคนเริ่มแคบขึ้น และอาจจะเพี้ยนไป บางคนนึกว่าการถวายข้าวของแก่พระเท่านั้นจะถือเป็นการทำบุญ แต่การช่วยเหลือคนทุกข์ยากเป็นการทำทาน ซึ่งความจริงแล้วการถวายข้าวของพระก็เป็นการให้ทาน ซึ่งความจริงแล้วการถวายข้าวของพระก็เป็นการให้ทานเหมือนกัน การทำบุญนั้นถ้าจะสมบูรณ์จะต้องมีลักษณะครบ 3 ประการ คือ ทาน ศีล ภาวนา พระพุทธเจ้าบอกว่าการทำบุญเป็นหลักก่อนที่จะสอนว่าทำแล้วจะได้ผลอย่างไร แต่ถ้ามีพระไปพูดว่าทำบุญแล้วจะได้ผลอย่างนั้นอย่างนี้ ถือเป็นการเสี่ยงที่จะเป็นอเนสนา แทนที่จะเป็นอนุโมทนา หรือแปลความหมายคือ พวกที่หากินเลี้ยงชีพในทางไม่ถูกต้อง หรือพวกมิจฉาชีพ ยิ่งไปพูดล่อพูดจูงญาติโยมยิ่งเสี่ยงมาก (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับประจำวันที่ 18 มค. 2542, หน้า 15)
วัดพระธรรมกายได้ส่งเอกสารชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ว่า
วัดพระธรรมกายไม่เคยขายบุญ เพราะบุญไม่ใช่สินค้าไม่สามารถซื้อขายได้ วัดสอนประชาชนให้หมั่นทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล จริญสมาธิ ภาวนา ตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในแง่ของการให้ทานก็มีหลายอย่าง เช่น การถวายภัตตาหารพระ ทำบุญค่ำน้ำค่าไฟ ปัจจัย 4 สร้างพระพุทธรูป บำรุงวัด ตามแต่สาธุชนจะพอใจ ทำบุญอะไรตามความสมัครใจของตน ซึ่งก็เหมือนกับวัดอื่น ๆ โดยทั่วไป และในเรื่องการให้ทานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนชาวพุทธไว้ว่า พาลา หเว นปปสํสนติ ทานํ แปลว่า คนพาลเท่านั้น ที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน (ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎก เล่ม 25 ข้อ 23 หน้า38)
คำชี้แจงดังกล่าวของวัด ขัดกับการกระทำของวัดโดยสิ้นเชิง เพราะแม้แต่ในขณะนี้ (ขณะเขียนบทความนี้) ที่วัดกำลังถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างหนัก การเทศน์ทุกครั้งของพระธัมมชโยและพระทัตตชีโว ก็ยังลงท้ายมุ่งเน้นด้วยการชักชวนหว่านล้อมและล่อหลอกให้ประชาชนบริจาคอย่างทุ่มชีวิตสุดจิตสุดใจ ดังที่อุบาสกอุบาสิกาแกนนำของวัดได้กล่าวถึงคำขวัญของพระธัมมชโยที่สอนย้ำว่า ไม่ได้ ไม่มี ไม่มี ไม่ได้ ไม่ได้ไม่ได้ - ไม่ได้ ต้องได้ จนกระทั่งพระธัมมชโยได้เทศน์ถึงขนาดว่า ถ้าไม่มีเงิน ก็ขายทรัพย์สมบัติ ขายรถ ขายบ้าน ทุ่มสุดชีวิต ปิดเจดีย์ ชิตัง เม เป็นต้น อันนับเป็นคำพูดและการกระทำของทุมมังกุบุคคล ผู้เก้อยาก ผู้ไร้ยางอาย ปราศจากหิริโอตตัปปะโดยสิ้นเชิง และในระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา ทางวัดพระธรรมกาย มีโครงการใหม่ ๆ ออกมาเพื่อขายบุญอยู่ไม่ขาดระยะ [b]โครงการใหญ่น้อยขายบุญมีปีละประมาณกว่า 50 โครงการ ซึ่งสามารถดึงเงินเข้าวัดได้ปีละประมาณสองพันล้านบาท
จากคุณ :
สุธี
- [
30 มี.ค. 48 13:27:13
]
|
|
|