Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
จิตวิทยาความรัก ...........(ทู้นี้มีสาระ) ติดต่อทีมงาน

จิตวิทยาความรัก : อกหัก ให้เป็น

หลายคนให้นิยามของความรักไว้ต่างๆ นานา เช่น “ความรักคือการให้”
“ความรักเป็นสิ่งสวยงาม” “ความรักคือความซื่อสัตย์” ฯลฯ

แต่หากความรักไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้ ความรู้สึกผิดหวังในเรื่องความรัก
ก็จะเกิดขึ้นและปรากฏเป็นอาการ “อกหัก” ให้เห็น ซึ่งก็มีหลากหลายคำพูดอีก
เช่นกันที่พยายามสื่อให้ “คนอกหัก” ได้มีความรู้สึกที่ดีขึ้น เช่น
“อกหักน่ะเรื่องเล็ก อกเล็กสิเรื่องใหญ่” บ้างก็ว่า
“อกหัก ดีกว่ารักไม่เป็น” “อกหักไม่ยักกะตาย” ฯลฯ


ดังนั้น หากคุณคิดจะรักใครซักคนจึงต้องยอมรับในเบื้องต้นก่อนว่า ครึ่งหนึ่งคือ
ความเสี่ยงที่จะต้องอกหัก และอีกครึ่งหนึ่งคือความเป็นไปได้ที่จะมีรักที่มีความสุข
 เมื่อคิดจะรักก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่จะต้องลุ้น และหากเราเป็นพวกที่ต้องทน
กินแห้วกระป๋อง ทำอย่างไรไม่ให้ความรักทำให้เราตาบอด ……… จึงต้อง “อกหักให้เป็น”

> อาการ “อกหัก” เป็นอย่างไร

สำหรับคนที่ไม่เคยมีความรัก หรือความรักสุขสมหวัง ก็คงจะไม่รู้จักลักษณะอาการของคำว่า “อกหัก”

อาการ ที่อยู่ๆ ก็เกิดร้องไห้น้ำตาไหลพรากขึ้นมาเฉยๆ ขาดการยับยั้ง
ต่อมน้ำตา สมองไม่สามารถสั่งการหรือใช้ในการประมวลผลเรื่องราวอะไร
ได้เลย นอกจากจะวนเวียนอยู่กับประโยคคำถามที่ว่า “ฉันผิดอะไร”
 “ทำไมเธอไปจากฉัน” “เรากลับมารักกันอีกได้ไหม”


หลับ ตาก็นึกถึงแต่เรื่องเขา ช่วงนี้ชีวิตจะเหมือนล่องลอยไร้วิญญาณ
ไม่รู้สึกรู้สากับสถานการณ์รอบๆตัว เกิดภาวะสับสนทั้งทางด้านอารมณ์
และความรู้สึก ใจหวิวๆ รู้สึกเจ็บปวดเหลือเกิน หายใจก็ขัดๆ ปวดท้อง
แต่ไม่อยากกินข้าวกินปลา ซึ่งอาการต่างๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วง “อกหัก”
นี้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย และจะส่งผลต่อภาวะอารมณ์
ความรู้สึก รวมถึงปฏิกิริยาของร่างกายด้วย

> ทำไม “อกหัก” จึงรู้สึกเจ็บปวดเหลือเกิน

การที่คนเรารู้สึกเจ็บปวดเมื่อ “อกหัก” อาจเป็นผลมาจากกระบวนการทางเคมี
ในร่างกาย คือ เวลาที่คนมีความรัก สมองจะหลังสารที่เรียกว่า “ฟีนิลเอธิลามีน
 (Phenylethylamine)
ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยากระตุ้นประสาทอย่างแอมเฟตามีน
 สามารถทำให้สมองตื่นตัวและร่างกายมีกำลังมากขึ้น

และเมื่อเกิด “อกหัก” อย่างแรง สมองและร่างกายจะสูญเสีย “ฟินิลเอธิลามีน”
อย่างเฉียบพลัน ซึ่ง ดร.ไมเคิล ไลโบวิตซ์ แห่งสถาบันจิตวิทยานิวยอร์ก
อธิบายไว้ว่า อาการ “อกหัก” เพราะรักเป็นพิษนั้นจะคล้ายกับอาการถอนยาอย่างมาก

สารอีกตัวหนึ่งที่ส่งผลต่อความเจ็บปวดเมื่อคนเรา “อกหัก” ก็คือ “สารเอ็นโดฟินส์
(Endophins)
โดย นพ.สุวินัย บุษราคัมวงษ์ แพทย์สาขาอายุรกรรมสมอง
รพ.กล้วยน้ำไท 1 ได้เล่าประสบการณ์จากการสังเกตคนไข้สองกลุ่มที่มีอาการป่วย
เดียวกัน และพบว่า คนไข้ที่มีคนรักคอยดูแลอยู่ตลอดเวลาจะมีอัตราการหายป่วย
ที่เร็วกว่าคนไข้ที่ไม่มีคนรักมาคอยดูแล

อีกกรณีหนึ่ง เชื่อว่า “สารเอ็นโดฟินส์” สามารถลดความเจ็บปวดได้ โดยพบว่า
 ผู้ป่วยที่โดนมีดบาด หากมีคนรักมาคอยปลอบโยนร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินส์
ออกมา เพื่อปิดกั้นสัญญาณความเจ็บปวดที่จะส่งถึงสมอง จึงเป็นผลให้ลดความ
เจ็บปวดลงไปได้

ดังนั้น เมื่อคนเรา “อกหัก” จึงเกิดการปรับเปลี่ยนของสารเคมีในร่างกายที่ไม่
สมดุล ทำให้แต่ละคนมีการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆ แตกต่างกันออกไปซึ่งก็ขึ้น
อยู่กับภูมิหลังการเลี้ยงดู วิถีชีวิตในปัจจุบัน ครอบครัว ภาวะทางสังคม หรือแม้แต่
ปริมาณสารเคมีในร่างกาย จึงทำให้บางคนที่ “อกหัก” สามารถที่จะทำใจได้ใน
เวลาอันรวดเร็ว ขณะที่คน “อกหัก” จำนวนหนึ่งไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า เมื่อคนเรา “อกหัก” และมีอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้น
มานั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาของร่างกาย ส่วนจะส่งผลกระทบมากหรือ
น้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับภาวะการปรับตัวรับกับสภาพการ “อกหัก” ได้มากน้อยเพียงใด


> อกหักให้เป็น….ทำอย่างไร

เมื่อ “อกหัก” หากจะห้ามไม่ให้คนเรารู้สึกรู้สากับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ให้รู้สึกเสียใจ
 ทุกข์ใจ เศร้า หรือสับสนทางอารมณ์และความคิด คงจะเป็นไปไม่ได้

ดัง นั้น จะทำอย่างไรให้ความสับสนทางอารมณ์และความคิดต่างๆ เหล่านั้นไม่
เกินเลยจนส่งผลกระทบต่อตนเอง จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการณ์ที่
เกิดขึ้นให้ได้ ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นและปรับอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมให้เข้า
สู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด

> วิธีปรับความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ
ให้สามารถรับมือกับภาวะ “อกหัก” ให้ได้ โดยการ “อกหักให้เป็น” มีดังนี้


1. ถ้าอยากร้องไห้ ….. จงร้องให้เต็มที่ ระบายความรู้สึกเจ็บปวดอย่างสุดแสน
ออกมาทางน้ำตา อย่าพยายามเก็บกดความรู้สึกเอาไว้ การร้องไห้เป็นการระบาย
อย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้มีการปรับความสมดุลทางอารมณ์ให้กลับสู่
สภาวะปกติหรือ ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

2. เสียใจได้…..แต่อย่าให้เสียคน การเสียใจทำให้เราได้รู้ว่า อย่างน้อยเราก็มีหัวใจ
ไว้รักไว้เจ็บ มีความทุกข์ความสุขได้เหมือนคนอื่น ต้องรู้จักควบคุม รู้จักความพอดี
 อย่าคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและอย่าคิดทำร้ายตัวเอง อย่าลืมว่าเรายังมีพ่อแม่ที่
รักเรามากที่สุด และเป็นความรักที่ยั่งยืนที่สุดด้วย แล้วคิดเสียว่าก่อนจะมีใครคน
นั้นเราสามารถมีชีวิตอยู่มาได้ และเมื่อเขาไปเราก็ต้องอยู่ต่อไปได้เช่นกัน

3. อย่าแบกทุกข์ตามลำพัง กลับไปหา “พ่อแม่” ดีที่สุด พูดคุยกับท่าน ระบายความ
รู้สึกที่อัดอั้นและเจ็บปวดแสนสาหัสให้ท่านฟัง แล้วเราจะได้รับกำลังใจอันมีค่าที่
สุดจากท่าน หรืออาจใช้วิธีเขียนความรู้สึกลงในกระดาษ ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นเรื่อง
ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

4. ปฏิวัติตัวเองเสียใหม่ พยายามปรับปรุงตัวเองในภาพลักษณ์ใหม่ที่ไฉไลและดูดี
กว่าเดิม อย่าปล่อยให้ตัวเองหน้าโทรม ผมเผ้ารุงรัง ตาปูด ผอมโซ อย่าให้ชีวิตรัก
ที่ไม่สมหวังมาทำให้ตัวเองต้องจมจ่อมอยู่กับความทุกข์ตลอด เวลา

5. หันเหความสนใจไปทำกิจกรรมอื่นๆ อย่าเก็บตัว แรกๆ อาจจะต้องฝืนความรู้สึก
อยู่บ้าง แต่ถ้าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ จะดีขึ้น เช่น เล่น
กีฬา ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เป็นต้น

6. ให้คิดเสียว่าประสบการณ์ “อกหัก” เป็นประโยชน์ต่อชีวิต เพราะมันจะเป็น
เหมือนสะพานอีกขั้นหนึ่งให้เราได้ก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ให้เราได้ใช้ชีวิตอีก
ระดับหนึ่ง และกำไรที่เหลืออยู่จากประสบการณ์ “อกหัก” ก็คือ ได้เรียนรู้ว่ารักเป็น
อย่างไร ถ้าไม่สุขจนล้นมาเสียก่อนจากการได้รักและถูกรัก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า
เจ็บเจียนตาย นอนน้ำตาไหลพรากเป็นท่อน้ำประปาแตกนั้นมันทุกข์แค่ไหน

แม้ความรักที่ ไม่สมหวังทำให้ต้องสูญเสียความรู้สึกดีๆ ที่เคยมีให้แก่กันไปมากน้อย
แค่ไหน หรือแม้กระทั่งทำลายความเป็นตัวของตัวเองให้ลดน้อยไปมากเพียงใดก็
ตาม แต่หากเราได้เรียนรู้เพื่อที่จะ “อกหักให้เป็น” ความรักที่ไม่สดใสอาจกลายเป็น
โอกาสดีที่จะทำให้เรามองเห็นโลกที่กว้างใหญ่และสวยงามขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้


… อาจดูว่ามันอ้างว้าง แต่ว่าทางที่เดินก็กว้างพอ … ไม่ต้องรอไปแบ่งกับใคร

...

เอกสารอ้างอิง

มานพ ประภาษานนท์. วิธีคิดกับความเจ็บปวด นิตยสารใกล้หมอ
 ปีที่ 28 ฉ.5 (น.84-85). กรุงเทพฯ: บริษัท ก.พล (1996) จำกัด, 2547.

บรรณาธิการ. ปฏิกิริยาแห่งรัก นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 28 ฉ.2 (น.24).
กรุงเทพฯ: บริษัท ก.พล (1996) จำกัด, 2547.

เอ็นโดฟินส์ สารแห่งความรัก บำบัดโรค นิตยสารแพทย์ทางเลือก ปีที่ 4 ฉ.30
 (น.48-51). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฐานการพิมพ์, 2547.

แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 53 16:40:39

 
 

จากคุณ : โปร...ช่างก่อสร้าง
เขียนเมื่อ : 2 พ.ย. 53 16:38:47




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com