 |
ก๊อปมาให้อ่าน
โรคพิษคาร์บอนมอนนอกไซด์(ข้อมูลจาก - ศูนย์อาชีวอนามัยและเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม จ.ระยอง)
ข้อมูลทั่วไป คาร์บอน มอนอกไซด์เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เป็นก๊าซไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และไม่ระคายเคือง จึงทำให้คนเราไม่สามารถทราบได้ว่ามีคาร์บอนมอนอกไซด์ปนอยู่ในอากาศที่เรา หายใจเข้าไป
อาชีพและงานที่เสี่ยง อาชีพและการทำงานที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ ได้แก่ - พนักงานดับเพลิง และผู้ที่ปฏิบัติงานหรืออยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ - พนักงานขับรถ ช่างเครื่องยนต์ และตำรวจจราจร - การ ทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ โรงงานหลอมเหล็กกล้า เหมืองแร่ เครื่องจักรกล โรงงานทำเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตฟอร์มาลดีไฮด์และถ่านโค๊ก - การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตร - การทำงานโดยใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ
การเข้าสู่ร่างกายและกลไกการเกิดโรค คาร์บอน มอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเป็นหลัก นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นจากเมตาโบลิซึมของสารอื่นในร่างกาย เช่น เมธิลีนคลอไรด์ เป็นต้น ตามปกติคาร์บอนมอนอกไซด์จะถูกขจัดออกจากร่างกายทางการหายใจในรูปที่ไม่ เปลี่ยนแปลง และส่วนน้อยถูกเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ กลไกการเกิดพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งวิธี กลไกหลัก คือ การรบกวนการขนส่งออกซิเจนจากถุงลมไปยังเนื้อเยื่อ เนื่องจากคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถแพร่ผ่าน alveolar-capillary membrane ได้อย่างรวดเร็วและจับตัวกับฮีโมโกลบินเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CO-Hb) ได้ดีกว่าออกซิเจนมากกว่า 200 เท่า กลไกการเกิดพิษอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การจับตัวกับ cytochromeoxidase ในไมโตรคอนเดรียเป็นผลให้มีการรบกวนการหายใจระดับเซลล์ และชักนำให้เกิดการเสื่อมของระบบหัวใจและหลอดเลือด แล้วตามด้วยการเกิดอันตรายต่อ endothelium ความรุนแรงของการได้รับพิษขึ้นกับอัตราการหายใจ ระยะเวลาการได้รับ สัดส่วนความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์และออกซิเจน การลดความดันบรรยากาศ(เช่น ที่สูง) การเพิ่มการระบายอากาศในถุงลม(เช่น การออกกำลังกาย) การมีโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอยู่ก่อน
อาการวิทยา การได้รับพิษเฉียบพลัน ลักษณะ การได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ไม่มีอาการที่แน่นอน ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แน่นหน้าอก ใจสั่น และหายใจลำบากอาการที่สัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ 105-205ppm กับระดับ CO-Hb ร้อยละ 10-20 ได้แก่ปวดศีรษะ คลื่นไส้ สภาพจิตใจบกพร่อง ถ้าระดับ CO-Hb เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30-60 ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางมากขึ้น อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ การได้รับพิษเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาผลกระทบจากการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ระดับความเข้มข้นต่ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ อย่างชัดเจนในมนุษย์
การตรวจทางห้องปฏิบัติ การการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโดยตรง การ วัดระดับ CO-Hb เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการวินิจฉัยภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่อย่างไรก็ตามระดับ CO-Hb ไม่ได้สัมพันธ์กับความรุนแรงของการได้รับพิษและการพยากรณ์โรคเท่าใดนัก ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจซึ่งช่วยทำนายความรุนแรงของการได้รับพิษ เช่น การวัดระดับแลคเทตในเลือด อาจสัมพันธ์กับระยะเวลาการสัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่ก็ยังไม่สามารถใช้สำหรับการพยากรณ์โรคได้ การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโดยอ้อม การตรวจภาพจำลองของระบบประสาทหลายอย่าง ได้นำมาใช้เพื่อประเมินสภาพการได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ เช่น การตรวจด้วย MRI
การรักษาผู้ป่วย การ รักษาการได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การหยุดยั้งการได้รับและการให้ออกซิเจน 100% ในผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทและหัวใจ หญิงมีครรภ์และเด็ก ควรได้รับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนภายใต้ความดันบรรยากาศสูง (hyperbaricoxygen therapy,HBO)
การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยการดูแลสุขภาพคนงาน การตรวจตัวชี้วัดทางชีวภาพโดยตรง ได้แก่ การตรวจวัดระดับ CO-Hb ซึ่งยอมให้มีได้สูงสุดร้อยละ 5 ในระหว่างช่วงเวลา 8 ชั่วโมงที่ทำงานด้วยกิจกรรมปกติ และอาการต่างๆ ของผู้ป่วยต้องหายไปภายใน 15 นาที หลังจากการสัมผัสสิ้นสุดลง การดูแลสถานที่และสภาพแวดล้อมในการทำงานการ จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีในสถานประกอบการ ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงานที่เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากคาร์บอนมอน นอกไซด์ เช่น พนักงานดับเพลิงควรมีการสวมชุดซึ่งมีถังอากาศติดตัว(self contained breathing apparatus)ในระหว่างปฏิบัติงาน
ระดับอ้างอิงมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม ระดับความเข้มข้นที่กำหนดให้มีได้ของคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศการทำงาน มีดังนี้ - ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม(สารเคมี) กำหนดไว้ว่าตลอดระยะเวลาทำงานปกติภายในสถานประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานจะมี ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอก ไซด์ในบรรยากาศของการทำงานโดยเฉลี่ยไม่เกิน 50ppm - American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH)กำหนดไว้ว่า ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานปกติ (TLV-TWA) ไม่เกิน 25ppm
จากคุณ |
:
Alptraum
|
เขียนเมื่อ |
:
15 พ.ย. 53 15:33:57
|
|
|
|
 |